Skip links
View
Drag

admin mfec

Tags

SpaceX เตรียมส่งดาวแบบ Rideshare รวดเดียว 143 ดวง

SpaceX เตรียมยิงจรวด Falcon 9 ตามภารกิจ Transporter-1 นำส่งดาวเทียมจำนวน 143 ดวงตามโครงการ Rideshare ที่เปิดให้จองเที่ยวบินไปเมื่อต้นปี 2020 นับเป็นการส่งดาวเทียมจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา⠀⠀⠀⠀⠀⠀ราคาตามหน้าเว็บโครงการ Rideshare ของ SpaceX คิดค่านำส่งดาวเทียมกิโลกรัมละ 5,000 ดอลลาร์ ขั้นต่ำ 200 กิโลกรัม ลูกค้าที่เปิดเผยตอนนี้มีบริษัท Planet ที่ซื้อสล็อตนำส่งดาวเทียม SuperDove รวดเดียว 48 ดวง ส่วน SpaceX เองก็นำส่งดาวเทียม Starlink ขึ้นไปด้วย 10 ดวง⠀⠀⠀⠀⠀⠀ธุรกิจนำส่งดาวเทียมขนาดเล็กเป็นธุรกิจที่หลายบริษัทพยายามเจาะตลาด เช่นบริษัท Rocket Lab ที่มีจรวด Electron ระวางบรรทุก 300 กิโลกรัม สำหรับการส่งดาวเทียมขึ้นวงโคจร LEO เดิมทีจุดขายของจรวดขนาดเล็กเช่นนี้คือการกำหนดช่วงเวลาภารกิจได้เอง โดยไม่ต้องรอดาวเทียมหลักที่อาจจะล่าช้า แต่โครงการ Rideshare ของ SpaceX ทำให้องค์กรที่ต้องการนำส่งดาวเทียมขนาดเล็กสามารถกำหนดตารางภารกิจได้ง่ายขึ้นเพราะมีรอบการนำส่งแน่นอน แถม SpaceX ยังเคยบอกว่าหากดาวเทียมล่าช้าก็สามารถขอเลื่อนภารกิจได้ แม้จะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมก็ตาม

admin mfec

admin mfec

Tags

ประกาศฉบับที่ 2/2564

เรื่อง มาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ณ วันที่ 22 มกราคม 2564

admin mfec

admin mfec

หยวนดิจิทอล ความท้าทายใหม่ของธนาคารกลางจีน

ช่วงปีที่ผ่านมาในโลกการเงินมีข่าวเกี่ยวกับเงินหยวนดิจิทัลกันมาก แม้ในช่วงแรกชื่อจะทำให้เข้าใจไปได้ว่าหยวนดิจิทัลเป็นเหมือนคริปโตเคอเรนซี่ที่มีมากมายหลายสกุลในโลกตอนนี้ แต่เมื่อรัฐบาลจีนเริ่มทดสอบหลายครั้งทำให้มีข้อมูลออกมาเพิ่มขึ้นว่าหยวนดิจิทัลนั้นคล้ายกับพร้อมเพย์ของไทยเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นแอปที่ผูกเงินเข้ากับบัญชีธนาคารโดยตรง เมื่อร้านค้ารับเงินจากลูกค้าแล้วก็จะได้รับเงินเข้าบัญชีธนาคารทันที แนวทางการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ของจีนนั้นเริ่มต้นจากเอกชนเป็นหลัก โดยบริษัทเช่น Alipay และ WeChat สร้างระบบของตัวเองทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ QR ของตัวเอง กระบวนการโอนเงินระหว่างกันก็เป็นระบบภายใน หากต้องการโอนเงินกลับไปยังบัญชีธนาคารต้องเสียค่าธรรมเนียม แม้ว่าแนวทางนี้จะทำให้พัฒนาการเงินอิเล็กทรอนิกส์ในจีนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ก็สร้างความกังวลต่อการผูกขาดตลาดมากขึ้น ธนาคารกลางของจีนพยายามผลักดันหยวนดิจิทัล ด้วยการ “ทดสอบ” ระบบจากการแจกเงินคนละ 200 หยวน (ประมาณหนึ่งพันบาท) ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับบริษัทเอกชนที่เคยอาศัยการแจกเงินเพื่อให้คนทั่วไปหันมาใช้งานเหมือนกัน ในแง่เทคโนโลยี หยวนดิจิทัลมีความก้าวหน้ากว่าพร้อมเพย์ของไทยอยู่บ้างเพราะผู้ใช้สามารถจ่ายเงินได้แม้ไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต นับว่าน่าสนใจเพราะเราหลายคนคงเคยเจอปัญหากกันบ้างว่าจะจ่ายเงินผ่านพร้อมเพย์แต่แอปโหลดช้าเนื่องจากอยู่ในพื้นที่อินเทอร์เน็ตไม่ดีนัก สร้างความลำบากทั้งคนซื้อคนขายกันพอสมควร นอกจากนี้หยวนดิจิทัลยังใช้งานผ่านบัตรได้เช่นเดียวกับบัตรเดบิตในไทย หรือการใช้ผ่านแอปในโทรศัพท์เองก็รองรับการจ่ายผ่าน NFC ลดปัญหาการสแกน QR ไม่ติดไปอีกส่วน แม้จะน่าสนใจในแง่เทคโนโลยี แต่การดึงประชาชนและร้านค้าที่รองรับ Alipay และ WeChat Pay กันเป็นวงกว้างแล้วให้มาใช้งานหยวนดิจิทัลก็คงเป็นความท้าทายของธนาคารกลางจีนอีกมาก – – – โดยคุณลิ่ว วสันต์ ลิ่วลมไพศาล Chief Technology Officer, MFEC

admin mfec

admin mfec

Virtual Cloud Network – The Future of Network Security in the Cloud.

ทำให้พบอุปสรรคจากการเชื่อมต่อเครือข่ายทำให้ไม่สามารถใช้งานเชื่อมต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในขณะที่กำลังประชุมออนไลน์ Internet ที่บ้านดันมีการใช้งานหลายคน ทำให้เกิดการติดขัดขึ้นระหว่างการประชุม ดังนั้นสิ่งที่จะมาช่วยให้การเชื่อมต่อสามารถทำงานได้อย่างมีสิทธิภาพ ตอบโจทย์การทำงานให้ง่ายขึ้นคือ SD-WAN  มีรายงานออกมาถึงผลการใช้งาน SD-WAN กล่าวว่า “เมื่อลูกค้านำกล่อง SD-WAN ไปติดตั้งและให้คนอื่นๆ ทดลงใช้ที่บ้านเป็นประมาณ 2 สัปดาห์ ผลปรากฏว่าเทคโนโลยีนี้ได้เข้ามาช่วยลดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ Network ถึง 90%” ความสามารถของ SD-WAN จะช่วยให้คนที่ใช้ได้สัมผัสกับประสบการณ์เกี่ยวกับ WAN ที่เป็นส่วนตัวในบ้านของตัวเอง ความก้าวหน้าครั้งใหม่ของเทคโนโลยี SASE ที่ VMware นำเสนอนั้นจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยในโลกของการทำงานออนไลน์ แต่เดิมนั้น Vmware จะถูกพูดถึงในเรื่องของ security นั้นคือ black boxes, appliances, firewall, web proxies ถูกนำไปใช้งานในรูปแบบของ DMZ จะเกิดอะไรขึ้นถ้า Vmware นิยามสิ่งเหล่านี้แล้วนำมาพัฒนาเป็น software และถ้านำ service เหล่านั้นมาใช้งานผ่านสิ่งที่ Gartner เรียกว่า Secure Access Services Edge หรือ SASE และนี่คือสิ่งที่ VMware กำลังให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีนี้อย่างมาก SD-WAN/SASE – Feature สำหรับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงแอปพลิเคชัน  Secure Access Service Edge (SASE) ประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก ดังนี้  Secure SD-WAN   เป็นฟังก์ชั่นสำหรับช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ WAN โดยมาช่วยในการรองรับแอปพลิเคชันที่ต้องการ performance สูงๆ Zero-trust Network Access   การจัดการสิทธิ์การเข้าใช้งาน โดยทำงานร่วมกับ การเพิ่มการตรวจสอบความถูกต้องเพื่อเป็นการรับรองอีกชั้นหนึ่งหรือที่เรียกว่า Multifactor Authentication (MFA)  Firewall-as-a-Service (FWaaS) Fire  Firewall บน cloud ในรูปแบบของ service มีความสามารถด้านความปลอดภัยสามารถทำ filtering URL, การป้องกันการ attack ต่างๆ และยังสามารถทำ policy management ที่เหมือนกันครอบคลุมทั้ง network ในองค์กรได้ Secure web gateways (SWG)  ป้องกันภัยคุกคามต่างๆ จากโลก Cyber และยังป้องกันการเข้าถึงของข้อมูลใน Website ที่ไม่ต้องการ อีกทั้งสามารถป้องกันไม่ให้ User ที่ไม่มีสิทธิ์สามารถใช้งานได้โดยกำหนดตามนโยบายของบริษัท VMware Tanzu Service Mesh  สร้างขึ้นบน VMware NSX เป็นโซลูชั่นเครือข่ายบริการระดับองค์กรของ VMware ที่ให้การควบคุมและความปลอดภัยสำหรับไมโครเซอร์วิสสำหรับผู้ใช้งานและข้อมูลในคลัสเตอร์และคลาวด์ทั้งหมดในระบบมัลติคลัสเตอร์และมัลติคลาวด์ โดย Tanzu service mesh จะช่วยให้ขั้นตอนการปกป้องและตรวจสอบไมโครเซอร์วิสง่ายขึ้นดังนี้ ใช้ Global namespace เพื่อขับเคลื่อนความสามารถในการทำงานข้าม platform และ cloud อื่นๆ ได้ กำหนด policy สำหรับการทำ failover และส่วนที่เหลือนั้นปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ

admin mfec

admin mfec

ทดลองใช้ Amazon CodeGuru ผู้ช่วยตรวจสอบคุณภาพโค้ดอัตโนมัติจาก AWS

การพัฒนาแอปพลิเคชั่นให้มีความปลอดภัยนั้นเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในทุกวันนี้ ไม่ว่าโปรแกรมเมอร์แต่ละคนจะมีความเชี่ยวชาญเพียงใดก็มีโอกาสที่จะพลั้งเผลอเขียนโค้ดในรูปที่แม้จะทำงานได้ แต่มีโอกาสแสดงบั๊กเมื่อทำงานในโลกความเป็นจริง การตรวจสอบโค้ดด้วยเครื่องมือต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่เราควรต้องทำเสมอ ทุกวันนี้ภาษาโปรแกรมส่วนมากมีโครงการตรวจสอบโค้ดที่เรียกว่า Lint อยู่ภาษาที่ได้รับความนิยมสูงๆ ก็จะมีโครงการในกลุ่มเดียวกันอยู่หลายตัวให้เลือกใช้⠀⠀⠀⠀แต่ Lint มักมีข้อจำกัดจากการวิเคราะห์โค้ดตามกฎตายตัวชุดหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถแนะนำแนวทางการเขียนโค้ดที่ซับซ้อนขึ้นไป เช่น การใช้ไลบรารีอย่างถูกวิธี ข้อจำกัดเช่นนี้ทำให้หลายโครงการมีเงื่อนไขให้นักพัฒนารีวิวโค้ดกันเองเป็นขั้นสุดท้ายก่อนรับโค้ดเข้าระบบ แต่หลายทีมก็อาจจะไม่พร้อมวางกระบวนการรีวิวโค้ดเช่นนั้น (และแม้แต่คนรีวิวเองหลายครั้งก็มองข้ามจุดผิดพลาดกันได้) การใช้เครื่องมือตรวจสอบโค้ดที่เก่งกาจขึ้นจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับหลายๆ คน⠀⠀⠀⠀ผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่อย่าง AWS เปิดบริการ CodeGuru Reviewer ให้บริการตรวจสอบคุณภาพโค้ดในระดับลึก โดยเมื่อตอนเปิดตัวในปี 2019 นั้นรองรับเฉพาะโค้ดภาษา Java เท่านั้น แต่มาประกาศเพิ่มภาษา Python ในงาน re:Invent 2020 ที่ผ่านมา⠀⠀⠀⠀CodeGuru Reviewer อาศัยเทคโนโลยี machine learning เพื่อจับรูปแบบโค้ดที่ซับซ้อนขึ้นกว่าซอฟต์แวร์ Lint แบบเดิมๆ มันสามารถจับบั๊กที่พบบ่อยๆ เช่น เผลอว่าข้อมูลลับไว้ในโค้ด (credential), การใช้และคืนทรัพยากรไม่สมบูรณ์ (resource leak), ไปจนถึงการวิเคราะห์หา deadlock ในโค้ด⠀⠀⠀⠀ เงื่อนไขการใช้งาน Amazon CodeGuru:– เราต้องเก็บโค้ดไว้ใน git repository ที่ CodeGuru รองรับ– ได้แก่ AWS CodeCommit, Bitbucket, GitHub, และ GitHub Enterprise⠀⠀⠀⠀ เริ่มการทดลองใช้งาน Amazon CodeGuru:– เมื่อเชื่อมต่อ repository เข้ากับ CodeGuru แล้วเราสามารถเลือกรีวิวโค้ดได้สองแบบ คือการรีวิวโค้ดทั้งหมด (full repository) และการรีวิว pull request ที่อาจจะเหมาะกับการตรวจสอบโค้ดก่อนรวมเข้า branch หลัก– เมื่อสั่งรันการวิเคราะห์โค้ดแล้วก็ต้องรอให้ CodeGuru รันสักระยะหนึ่ง (โครงการที่ผมลองเป็นโค้ดเพียง 130 บรรทัด ใช้เวลาวิเคราะห์ประมาณ 5 นาที)– เมื่อรันเสร็จแล้ว CodeGuru Reviewer จะแสดงคำแนะนำ พร้อมบอกเหตุผลว่าทำไม CodeGuru จึงมองว่าโค้ดส่วนนี้มีปัญหา โครงการที่ผมใส่โค้ดเข้าตรวจสอบนี้ CodeGuru พบจุดที่แนะนำเพียงจุดเดียว⠀⠀⠀⠀ ผลลัพธ์จาก Amazon CodeGuru:– คำแนะนำของ CodeGuru แจ้งเตือนการเปิดและปิดไฟล์โดยใช้ฟังก์ชั่น open/close โดยชี้ให้เห็นว่าแม้โค้ดจะทำงานได้ดี แต่แนวทางการเขียนโค้ดเช่นนี้ไม่เป็นไปตาม best practice ที่โครงการ Python แนะนำ– หากมีความผิดพลาดในโค้ดอาจจะทำให้เกิดการเปิดไฟล์ค้างไว้กลายเป็น resource leak ทำให้ซอฟต์แวร์ทำงานช้ากว่าปกติ หรืออาจจะทำให้เซิร์ฟเวอร์ไม่เสถียรได้⠀⠀⠀⠀จะเห็นว่าการใช้งาน CodeGuru นั้นใช้งานได้ไม่ยาก และสามารถใช้งานแยกจากบริการอื่นๆ ได้แม้จะไม่ได้เห็นผู้ใช้บริการ AWS แต่เดิมก็ตาม โดยซอฟต์แวร์วิเคราะห์โค้ดนั้นหลายครั้งมีราคาค่อนข้างสูง แต่ CodeGuru คิดค่าใช้จ่ายตามจริงโดยไม่ต้องลงทุนก้อนใหญ่ก่อนเริ่มใช้งาน⠀⠀⠀⠀ การคิดค่าบริการ Amazon CodeGuru:โดยให้บริการฟรีเดือนละ 30,000 บรรทัด และเกินจากนั้นคิดค่าบริการ 0.5 ดอลลาร์ต่อ 100 บรรทัด (นับบรรทัดโค้ดตามการใช้งานจริง) และยังใช้งานได้ฟรีเดือนละ 30,000 บรรทัดต่อบัญชี  – – – โดยคุณลิ่ว วสันต์ ลิ่วลมไพศาล

admin mfec

admin mfec

ทำความรู้จัก Zendesk ตัวช่วยบริหารจัดการระบบลูกค้าสัมพันธ์ที่ MFEC แนะนำ

Zendesk คือ Cloud Based Solution ที่ช่วยในการบริหารจัดการระบบลูกค้าสัมพันธ์ (Customer engagement) ที่ใช้ในการบริการลูกค้าในการติดต่อ สอบถาม หรือประสานงานต่างๆ กับองค์กรหรือเจ้าของกิจการ และในอีกแง่มุมหนึ่ง Zendesk ก็ยังสามารถใช้ในการบริหารจัดการติดต่อสื่อสาร สอบถามข้อมูล หรือแจ้งปัญหาของผู้ใช้งานในองค์กรหรือบริษัทได้อีกด้วย Zendesk เปรียบเสมือนระบบ Ticketing System  ที่ช่วยทำให้ผู้ใช้งานสามารถทราบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับลูกค้าที่มีการติดต่อประสานกันหรือข้อมูลต่างๆ ในองค์กรในเบื้องต้น ซึ่งจุดเด่นของ Zendesk คือการรวมทุกๆ ช่องทางในการติดต่อสื่อสารไว้ที่หน้าจอเดียว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อผ่าน Social Media จากหลากหลายช่องทาง อาทิ เช่น Line Official, Facebook, Twitter, Youtube, Facebook messenger, Phone, Email ผ่านทางหน้าจอ Zendesk เพียงหน้าเดียวทำ เพียงเท่านี้ก็ทำให้ผู้ติดต่อและผู้รับเรื่องนั้นมีข้อมูลรายละเอียดของลูกค้า สามารถติดต่อประสานงาน ส่งต่องานหรือการดำเนินการแก้ไขรวมถึงการประสานงานไปยังบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็วและเป็นขั้นตอน ทั้งนี้ยังสามารถชี้วัดการทำงานให้ครอบคลุมตาม SLA ที่องค์กรได้กำหนด เพื่อให้สามารถตอบสนองการทำงานและความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย นอกจากนี้ Zendesk ยังมีหน้าจอแสดงถึงภาพรวมในการทำงาน ที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน เพื่อสะดวกและรวดเร็วในการทำงานหรือตรวจสอบสถานะงานที่ยังคงค้างอยู่ได้ภายในระยะเวลาอันสั้น และสามารถนำข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบจัดทำออกมาเป็นรายงานได้ตามความต้องการ Zendesk Solution มีหลากหลายความสามารถที่จะช่วยในการบริหารจัดการระบบงานต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน อาทิ Zendesk Support หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็น Features หลักที่ควรจะต้องมีเป็นพื้นฐานของการทำงานในองค์กรหรือการติดต่อประสานงานจากลูกค้าภายนอก ด้วยระบบ Ticketing System ที่พร้อมใช้งานได้ง่าย อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานในการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ทำให้ทราบถึงช่องทางในการติดต่อที่หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์ อีเมล์ หรือช่องทาง Social Media จากทางลูกพร้อมทั้งดำเนินการส่งต่องานไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง Zendesk Guide เปรียบเสมือนคลังความรู้และข้อมูลบริการจากแหล่งต่างๆ ให้มาอยู่ในที่เดียวกัน ที่สามารถช่วยให้องค์กรใช้เป็น (Knowledge base) เพื่ออำนวยความสะดวกและประหยัดเวลาในการค้นหาคำตอบต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งในแง่การค้นหาข้อมูลจากลูกค้าผ่านทางหน้าเว็บเองหรือการหาข้อมูลของเจ้าหน้าที่ภายในองค์กรเอง ในรูปแบบ Self service เพื่อลดปริมาณการเปิด ticket หรือการแจ้งปัญหาต่างๆ จากทางลูกค้า  Knowledge based นี้ยังช่วงลดปริมาณงานหรือ ticket ที่จะเกิดขึ้นในระบบอีกด้วย Zendesk Chat เป็นอีก Feature ที่ Zendesk จัดเตรียมไว้เพื่อรองรับการติดต่อสื่อสารทั้งในองค์กรและจากลูกค้าภายนอก ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารได้ทันทีกับเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง แทนการโทรศัพท์เพื่อสอบถามหรือแจ้งปัญหาต่างๆ สามารถทำได้โดยการนำไปติดตั้งยังหน้าเว็บต่างๆ ได้ตามความต้องการ ลดความยุ่งยากในการหาข้อมูลหรือสิ่งที่อยากทราบเบื้องต้น ด้วยการพูดคุยในรูปแบบ real time เพื่อเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและพนักงานในองค์ Zendesk Talk เรียกได้ว่าอาจเป็นส่วนหนึ่งของระบบ Call center ซอฟต์แวร์ ที่ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบ Call Center ใดอยู่ก็สามารถเชื่อมต่อระบบโทรศัพท์นั้น เข้ากับระบบ Zendesk Ticketing System ด้วย Zendesk Talk Feature เพิ่มความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร ทำให้สามารถทราบรายละเอียดเบื้องต้นของผู้ที่ทำการโทรเข้ามา และง่ายต่อการเปิด ticket ในระบบ ด้วยการรับสายและบันทึกข้อมูลของการโทรเข้ามาเพื่อเปิดเคสแบบอัตโนมัติ Zendesk Explore คือระบบที่ช่วยในการจัดทำหน้าจอเพื่อแสดงภาพรวมของระบบที่กำลังใช้งานอยู่ (single dashboard) โดยสามารถปรับแต่งรูปแบบได้ตามความต้องการ ทั้งในรูปแบบกราฟ รูปภาพ หรือข้อความ พร้อมทั้งยังสามารถจัดทำในรูปแบบรายงานที่ได้จากในระบบ

admin mfec

admin mfec

Tags

ประกาศฉบับที่ 1/2564

เรื่อง มาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ณ วันที่ 4 มกราคม 2564

admin mfec

admin mfec

Tags

ประกาศฉบับที่ 7/2563

เรื่อง มาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563

admin mfec

admin mfec

Elastic Compute Service (ECS) รุ่นที่ 6 ปรับปรุงใหม่จาก Alibaba Cloud

Alibaba Cloud Elastic Compute Service (ECS) ให้สภาพแวดล้อมในการประมวลผลรูปแบบเสมือนที่มีความสามารถในการประมวลผลอย่างยืดหยุ่นต่อส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เช่น CPU, หน่วยความจำ, และพื้นที่ในการเก็บข้อมูล ซึ่งแตกต่างจากเซิร์ฟเวอร์ทางกายภาพ ECS ที่มีการใช้งานที่ง่าย, ปรับขนาดได้, และให้การใช้งานได้เร็วขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องลงทุนบนฮาร์ดแวร์ใดๆ ล่วงหน้า สำหรับ ECS เราสามารถ แนบ/แยก พื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม, การสำรองข้อมูลอิมเมจ และการทำแสนปช็อต ตามความต้องการได้ทุกเมื่อ คุณสมบัติต่างๆ ของ Alibaba Cloud ECS ได้แก่: • การปรับขนาดที่ยืดหยุ่น: สามารถเปิดและจัดหาทรัพยากรและอัพเกรด/ปรับลดแบนด์วิดท์เครือข่ายตามความต้องการการใช้งานทางธุรกิจ • ให้เสถียรภาพในการใช้งานที่สูง: การันตีความพร้อมใช้งานของบริการที่ 99.95% ด้วยคุณสมบัติเช่นการสำรองข้อมูลและการกู้คืนข้อมูลในระหว่างสถานการณ์ฉุกเฉินหรือภัยพิบัติ • ประสิทธิภาพสูง: สนับสนุนดิสก์ในการเก็บข้อมูลหลายรูปแบบ เช่น คลาวด์ดิสก์ คลาวด์ดิสก์อัลตร้า คลาวด์ดิสก์ SSD และ ESSD นอกจากนี้ยังสนับสนุนการขยายพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของดิสก์ตามความต้องการทางธุรกิจ • ปลอดภัยสูง: Alibaba Cloud ECS สนับสนุนการป้องกัน DDoS และ Network Security Group (NSG) ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมอินสแตนซ์ในพอร์ตต่าง ๆ ได้ ECS รุ่นล่าสุดนี้ใช้ สถาปัตยกรรม X-Dragon ให้การคาดการณ์และการทำงานที่สอดคล้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลด virtualization overheads นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการจัดเก็บข้อมูล ด้านเครือข่าย และด้านความสามารถในการประมวลผล Alibaba Cloud Elastic Compute Service (ECS) เป็นหนึ่งในบริการที่ดีที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถสร้างสภาพแวดล้อมคอมพิวเตอร์เสมือน สร้างเซิร์ฟเวอร์คลาวด์เสมือนที่ยืดหยุ่นและปลอดภัย ตอบสนองความต้องการทั้งหมดตั้งแต่ระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับองค์กร เข้าชมบทความที่แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของตระกูลอินสแตนซ์ ECS รวมถึงลักษณะเด่นพิเศษของ อินสแตนซ์ Elastic Compute Service (ECS) รุ่นที่หกปรับปรุงใหม่จากอาลีบาบาคลาวด์ และ การเปรียบเทียบ ECS ในตระกูลอินสแตนซ์รุ่นที่หก ได้ที่นี่ https://www.alibabacloud.com/blog/experiencing-the-sixth-generation-enhanced-type-elastic-compute-service-ecs-instances_596714 สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าดูข้อมูลเพิ่มเติมและโปรโมชันต่าง ๆ พร้อมกรอกข้อมูลเพื่อการติดต่อกลับได้จากลิงค์นี้

admin mfec

admin mfec

Tags

ประกาศฉบับที่ 6/2563

เรื่อง มาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ณ วันที่ 21 ธันวาคม 2563

admin mfec

admin mfec