Skip links
View
Drag

Service Mesh อนาคตของการแก้ไขปัญหา Application 
ที่อยู่ในรูปแบบของ Container

มาในยุคปัจจุบัน ยุคของ Digital Transformation เมื่อตัว Application ย้ายเข้าไปอยู่ในโลกของ Container หรือว่าที่เราเรียกว่า Docker ทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นคือ Traditional network กับ security ไม่สามารถเข้ามาถึงตัว Application ได้ เมื่อเล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงต้องเกิดการคิดค้นแนวทางการแก้ปัญหา จนเกิดเทคโนโลยีที่เราเรียกกันว่า Service mesh เป็น Concept หรือ Software ตัวหนึ่ง ที่เข้ามาช่วยจัดการในเรื่องของการสื่อสารระดับเครือข่ายระหว่าง API Service ในแอปพลิเคชัน อำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่าง services กับ microservices ย้ายเอา Lode Balancer ย้ายพวกเรื่อง Security มาอยู่ในรูปแบบของคอนเทนเนอร์ ซึ่ง Service mesh จะมีการ Implement โดยการใช้ Proxy Instance (Sidecar) มาเป็นตัวคั่นในการจัดการกับ Traffic control ที่วิ่งเข้าและออกจาก Instance นั้นๆ

ตอนนี้ Service mesh จัดว่าเป็นเทคโนโลยีที่มาแรงอย่างมากในองค์กรใหญ่ระดับ Enterprise เนื่องจากตอนนี้คนทั้งโลกกำลังมองว่าเทคโนโลยีตัวนี้จะเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาของตัว Application ที่ถูกย้ายเข้าไปอยู่ในรูปแบบของ Container นอกจากนี้ทาง Google Engineer ยังได้ออกมาพยากรณ์แนวโน้มในการพัฒนาของ Service mesh ที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจถึง 3 ประเด็นด้วยกัน

ประเด็นแรก Google Engineer ทำนายว่าแม้ Service mesh ในปี 2021 จะยังคงอยู่ในรูปแบบของคอนเทนเนอร์เท่านั้น แต่หลังจากนั้น Service mesh จะถูกแพร่กระจายและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นบนตัว Cloud หรือ แอปพลิเคชันอื่นๆ Application ที่อยู่นอกคอนเทนเนอร์ หรือ Service mesh จะเข้าไปครอบคลุมทำให้ตัว App ที่อยู่ข้างในตัวคอนเทนเนอร์ กับตัว App ที่เป็น Traditional Application สามารถทำงานร่วมกันได้

ประเด็นที่สอง ใครที่จับตัวเทคโนโลยี API Gateway, Lode Balancer หรือ มีความคิดจะเข้าไป Invest ใน Service mesh ในอนาคตมีแนวโน้มว่าทั้งสามตัวนี้จะ Convert ตัวเองจนมีความใกล้เคียงกันมากขึ้น กระทั่ง Function หรือ Feature เกิดการทับซ้อนกันจนแทบจะแยกกันไม่ออก

ประเด็นสุดท้าย ได้ถูกทำนายไว้ว่าช่องว่างระหว่างเครือข่าย K8 และ Service mesh จะลดลงเนื่องจากมีการวิ่งเข้าใกล้กันมากขึ้น

สุดท้ายนี้ Service mesh เป็นเทคโนโลยีอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจในการนำมาปรับใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานในส่วนของ Develop และ Infrastructure ภายในองค์กร ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องนำกลับมาทดลองและค้นคว้ากันต่อไป

#MFEC#CoE#ServiceMesh