Skip links
View
Drag

 AI Revolution: Uplifting Our Future AI เพื่ออนาคตที่ปลอดภัย

ในยุคที่ปัญญาประดิษฐ์ กลายเป็นหัวใจสำคัญของนวัตกรรมและการทำงานในหลากหลายอุตสาหกรรม ในงาน  AI Revolution: Uplifting Our Future ภายใต้หัวข้อ AI Is Your Assistant, Not Your Master: Moving Forward Confidently องค์กรของเราไม่เพียงแต่มุ่งมั่นนำเสนอโซลูชัน AI ให้กับลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเน้นพัฒนาการใช้ AI ภายในองค์กรที่คำนึงถึงความปลอดภัย ด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ AI และมุ่งสร้างมาตรฐานการใช้เทคโนโลยีอย่างรอบคอบเรามุ่งมั่นเสริมศักยภาพทีมงานภายในองค์กรให้สามารถใช้งานเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุด อย่างในงานภายใต้หัวข้อที่นำ AI เข้ามาช่วยให้นักพัฒนาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และง่ายดายมากยิ่งขึ้น

คุณดำรงศักดิ์  รีตานนท์ กล่าวว่า AI เป็นตัวช่วย…ไม่ใช่ตัวแทนของความคิดมนุษย์
คุณดำรงศักดิ์เน้นย้ำว่า AI เป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพการทำงาน โดยเฉพาะในด้านการจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาลในระยะเวลาอันสั้น ทั้งนี้ AI ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำเพื่อก้าวนำหน้าในตลาด อย่างไรก็ตาม AI ยังคงมีข้อจำกัด โดยเฉพาะในด้านความคิดสร้างสรรค์และสัญชาตญาณที่ไม่สามารถทดแทนมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ การใช้งาน AI จึงควรพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการสร้างประโยชน์สูงสุด
คุณสุเมธ จิตภักดีบดินทร์ กล่าวถึง AI กับภัยคุกคามในโลกไซเบอร์
คุณสุเมธได้อธิบายถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มาพร้อมกับการใช้งาน AI เช่น Deepfake และ Synthetic Voice Cloning ซึ่งสามารถสร้างภาพและเสียงปลอมได้อย่างแม่นยำ ส่งผลให้เกิดการหลอกลวงและการโจมตีทางไซเบอร์ ตัวอย่างเช่น การปลอมแปลงเสียงเพื่อหลอกให้ผู้รับสารเปิดเผยข้อมูลสำคัญ หรือการสร้างวิดีโอปลอมที่ดูเหมือนจริงจนทำให้เกิดความเข้าใจผิด นอกจากนี้ AI ยังถูกนำมาใช้ใน Phishing 2.0 และ Social Engineering Tactics ที่มีความซับซ้อนและสมจริงมากขึ้น โดยใช้ข้อมูลส่วนบุคคลจากโซเชียลมีเดียในการสร้างข้อความหลอกลวงที่ดูน่าเชื่อถือและเจาะจงเป้าหมาย

ประเด็นสำคัญจากการบรรยาย

  1. เทคนิค Deepfake และ Synthetic Voice Cloning: AI ถูกใช้สร้างภาพและเสียงปลอมที่มีความแม่นยำสูง ทำให้สามารถใช้ใน Cyber Attacks เพื่อสร้างความสับสนและหลอกลวงเหยื่อได้ง่าย เช่น การปลอมแปลงเสียงผ่านการโคลนนิ่งด้วย AI หรือการสร้างวิดีโอที่ดูสมจริง
  2. AI-Driven Phishing 2.0 และ Advanced Social Engineering Tactics: AI ช่วยเพิ่มความสมจริงให้กับข้อความหรืออีเมลปลอม เช่น Spear Phishing ซึ่งเป็นการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของเหยื่อที่ได้จาก Social Media เพื่อสร้างข้อความที่เจาะจงเป้าหมายและทำให้ผู้รับมีแนวโน้มที่จะหลงเชื่อได้ง่ายยิ่งขึ้น การผสานการใช้ AI เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลบุคคลยังทำให้การตรวจสอบและป้องกันทำได้ยากขึ้น
  3. Deepfake Detection Tools และ Digital Forensics: โปรแกรมตรวจจับข้อมูลปลอม เช่น Resemble Detect ใช้เทคนิค Deep Learning ในการตรวจสอบเสียงเพื่อบ่งชี้ว่าเป็นของจริงหรือของปลอม และ Detect Fakes ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ฝึกให้ผู้ใช้งานแยกแยะระหว่างภาพจริงและภาพที่สร้างโดย AI เครื่องมือเหล่านี้ช่วยพัฒนาทักษะในการระวังภัยจากข้อมูลปลอม (Fake Content) และเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน

ในช่วงการบรรยายครั้งนี้ ทั้งคุณดำรงศักดิ์และคุณสุเมธได้เน้นย้ำว่า AI เป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง แต่การใช้งานอย่างระมัดระวังและมีจริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุด มนุษย์ยังคงเป็นศูนย์กลางของความคิดสร้างสรรค์และการตัดสินใจ การเข้าใจข้อจำกัดและความเสี่ยงของ AI จะช่วยสร้างความสมดุลและความปลอดภัยในทุกมิติ ทั้งในระดับองค์กรและระดับสังคม