บริการรับชำระเงินนับเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจในยุค COVID-19 จากการทำธุรกรรมออนไลน์ที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่ธุรกรรมที่ซื้อขายสินค้าหน้าร้านเช่นเดิมก็นิยมจ่ายเงินในช่องทางดิจิทัลกันมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงการสัมผัสเงินสด พระอินทร์ฟินเทคเป็นบริษัทฟินเทคหนึ่งที่ให้บริการร้านค้าให้สามารถรับชำระจากหลากหลายช่องทาง ทั้งอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง, บัตรเครดิต, หรือช่องทาง Thai QR Payment ในชื่อบริการ ChillPay


ในยุคที่ธุรกิจต้องเดินหน้าไปด้วยความเร็วสูง จุดเด่นของ ChillPay คือการโอนเงินเข้าสู่ร้านค้าภายในหนึ่งวันทำการไม่ว่าลูกค้าจะชำระจากช่องทางใดก็ตาม ความเร็วเช่นนี้ต้องการการตรวจสอบที่รอบคอบพร้อมๆ กับการทำงานอัตโนมัติเต็มรูปแบบเพื่อให้การชำระเงินถูกต้องครบถ้วนไปพร้อมกับรวดเร็วตรงเวลา
ทางพระอินทร์ฟินเทคอาศัย Robotic Process Automation (RPA) เพื่อลดระยะเวลาทำงานซ้ำซ้อน เปิดทางให้เจ้าหน้าที่มีเวลาสอบทานความถูกต้องของธุรกรรมแทนที่จะเสียเวลาไปกับการคำนวณค่าและกรอกข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวเอง แม้ว่าธุรกรรมจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม
ผู้ค้าที่เป็นลูกค้าของ ChillPay มีการใช้บริการช่องทางชำระเงินหรือ Payment Channel ที่ตอบทุก Segment ของลูกค้า เช่นกลุ่มนักธุรกิจที่ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต หรือกลุ่มเด็กที่เล่นเกมออนไลน์ ถือเป็นกลุ่มที่ไม่มีบัตรเครดิตแต่สามารถชำระเงินออนไลน์ผ่านทางตู้บุญเติม หรือเคาน์เตอร์ร้านสะดวกซื้อที่รองรับการจ่ายเงินสด เป็นต้น การใช้ช่องทางรับเงินที่หลากหลายทำให้ RPA เข้ามาเป็นตัวช่วยสำคัญ สามารถปรับตัวเข้ากับบริการต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย ทุกช่องทาง

คุณเพิ่มบุญ เอี่ยมสุภาษิต ผู้ก่อตั้งพระอินทร์ฟินเทคกล่าวถึงการใช้งาน RPA “บริการ Payment Gateway ของ ChillPay มีความเกี่ยวข้องกับองค์กรจำนวนมาก หลายบริการไม่ได้เปิด API อย่างเป็นทางการ ทำให้เดิมเราต้องอาศัยเจ้าหน้าที่มาดึงข้อมูลจากระบบภายใน คำนวณและตรวจสอบความถูกต้อง แล้วกรอกข้อมูลไปยังระบบภายนอกจำนวนมาก การใช้ RPA ทำให้กระบวนการเหล่านี้เป็นอัตโนมัติทั้งหมด เจ้าหน้าที่เข้ามาทำงานในตอนเช้าแล้วสามารถดูรายงานที่สร้างโดย RPA เพื่อยืนยันความถูกต้อง แล้วตรวจทานว่ากรอกข้อมูลไปยังระบบคู่ค้าถูกต้องหรือไม่ กระบวนการนี้ใช้เวลาน้อยลงมาก จากเดิมใช้เวลาหลายชั่วโมงเหลือเพียงวันละไม่เกิน 20 นาทีเท่านั้น”

คุณธัญกมล ปิ่นทอง Financial and Budget Control Director ระบุว่า “การใช้งาน RPA นับเป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำ Digital Transformation ขององค์กร องค์กรจำนวนมากไม่สามารถรอการสร้างระบบไอทีใหม่ๆ เพื่อให้ process ในธุรกิจกลายเป็นระบบอัตโนมัติได้ การใช้ RPA ที่ประสิทธิภาพสูงและใช้งานง่ายอย่าง UiPath เปิดทางให้เจ้าหน้าที่ทางธุรกิจสามารถปรับการทำงานของตัวเองเป็นการทำงานอัตโนมัติได้ทันที ทำให้เราลงทุนกับ UiPath เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสนับสนุนองค์กรที่ต้องการทรานส์ฟอร์มองค์กรไปสู่การทำงานอย่างอัตโนมัติเต็มรูปแบบทุกส่วนขององค์กร”
คุณธเนศ เชี่ยวชาญลิขิต Business Services Management Manager ระบุว่า “UiPATH นับเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์ RPA ขั้นนำของโลกที่ MFEC ซัพพอร์ตอย่างต่อเนื่อง จนได้ Gold Partner ในปี 2020 ที่ผ่านมาและเราเชื่อว่า UiPath จะสามารถช่วยให้องค์กรต่างๆ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานทั้งองค์กรในระยะยาวได้ต่อไป”
สนใจรับคำปรึกษาการปรับองค์กรไปสู่การทำงานอัตโนมัติเต็มรูปแบบติดต่อ
email : ps-bsm@mfec.co.th
หรือ scan QR code ผ่านช่องทาง LINE OA

