Skip links
View
Drag

Solution and Services

คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันด้านความปลอดภัยด้วย CDN: การจัดการการปลอมแปลง การโจมตี และเนื้อหา

หลังจากวิวัฒนาการทางเทคนิคและประสบการณ์การใช้งานจริงมานานกว่าทศวรรษ เครือข่ายการจัดส่งเนื้อหา (CDN) ของอาลีบาบาคลาวด์ก็ได้ย้ายออกจากการเร่งความเร็วแบบเดิม เพื่อค่อย ๆ สร้างระบบการป้องกันสามมิติโดยใช้เครือข่ายความปลอดภัยแบบ Edge-Cloud ระบบนี้ครอบคลุมการส่งผ่านที่ปลอดภัยแบบ End-to-End, ป้องกันการโจมตีทั่วไปบนโหนด, การปรับใช้ทรัพยากรเฉพาะระดับองค์กร, O&M และการป้องกันความปลอดภัยของเนื้อหา CDN จะช่วยสร้างช่องทางที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ระหว่างองค์กรและอินเทอร์เน็ต ความสามารถด้านความปลอดภัยขั้นพื้นฐานช่วยให้มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูลแบบ End-to-End การป้องกันเซิร์ฟเวอร์ต้นทาง เนื่องจากสถาปัตยกรรมแบบกระจายของ CDN ผู้ใช้สามารถรับเนื้อหาได้จากการเข้าถึงโหนดใกล้เคียงซึ่งสามารถซ่อนที่อยู่ IP ต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดแรงกดดันของการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ต้นทาง ในกรณีที่มีการโจมตีทางไซเบอร์ขนาดใหญ่โหนดที่ใกล้เคียงจะทำหน้าที่เป็นแนวป้องกันแรกและกระจายความรุนแรงของการโจมตีออกไปอย่างมีนัยสำคัญ แม้ในกรณีของการส่งคำขอ (Request) ที่เป็นอันตรายต่อเนื้อหาแบบไดนามิก ระบบการจัดตารางเวลาอัจฉริยะของ CDN จะช่วยลดแรงกดดันบนเซิร์ฟเวอร์ต้นทางเพื่อให้แน่ใจว่าระบบจะให้การทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพ [/cmsmasters_text][cmsmasters_text shortcode_id=”523j6mjj8v” animation_delay=”0″] ความสามารถในการป้องกันการปลอมแปลง CDN มีความสามารถในการป้องกันการปลอมแปลงระดับองค์กรในรูปแบบ End-to-End สำหรับลิงค์ HTTPS และโหนดข้อมูลเพื่อให้แน่ใจถึงความปลอดภัยในการส่งข้อมูลระหว่างเซิร์ฟเวอร์ต้นทางกับไคลเอนต์ HTTPS มีการใช้งานเพื่อป้องกันการถูกแฮคจากแหล่งข้อมูลระดับกลางในขณะที่โหนดจะตรวจสอบความสอดคล้องของไฟล์ต้นทาง หากพบว่าเนื้อหาของไฟล์ต้นฉบับไม่สอดคล้องกันไฟล์จะถูกลบและสำเนาต้นฉบับจะถูกดึงออกจากแหล่งที่มาอีกครั้งก่อนที่จะถูกเผยแพร่ โซลูชันที่สมบูรณ์แบบนี้จะให้ความปลอดภัยในการส่งข้อมูลที่สูงขึ้นและรับประกันความปลอดภัยของเนื้อหาบนเซิร์ฟเวอร์ต้นทาง, ลิงค์, โหนด CDN และไคลเอนต์ การรักษาความปลอดภัยของการเข้าถึงและการตรวจสอบความถูกต้อง CDN สามารถระบุและคัดกรองผู้เข้าใช้งานได้จากการกำหนดค่า ผู้แนะนำ, ผู้ใช้งาน-เอเจนต์ และบัญชีดำที่อยู่ IP หรือรายชื่อผู้ใช้งานที่ได้รับอนุญาต ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้อย่างปลอดภัย คุณยังสามารถตั้งค่าการใช้งานเข้ารหัสลับเพื่อการเข้าถึง URL เพื่อการป้องกันการใช้งานฮอตลิงค์ขั้นสูงและปกป้องทรัพยากรบนเซิร์ฟเวอร์ต้นทาง ในขณะเดียวกันฐานข้อมูล IP Reputation ถูกสร้างขึ้นเพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการเข้าถึงที่อยู่ IP ที่อยู่ในบัญชีดำ การรักษาความปลอดภัยระดับองค์กรช่วยป้องกันการโจมตีทั่วไป ในปี 2019 Alibaba Cloud Security ตรวจพบการโจมตี Distributed Denial Of Service (DDos) บน off-premise เกือบล้านครั้ง การโจมตี DDoS ในชั้นแอปพลิเคชัน เช่น การถูกโจมตีในรูปแบบ HTTP Flood ได้กลายมาเป็นประเภทการโจมตีในรูปแบบทั่วไปเพียงแต่วิธีการโจมตีอาจมีความหลากหลายและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของเว็บแอปพลิเคชันก็ยังคงมีการโจมตีอยู่เป็นจำนวนมาก ผ่านการรั่วไหลของข้อมูลซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับนักล่าผลประโยชน์ หรือการโจมตีอื่น ๆ ความปลอดภัยของทุกอุตสาหกรรมและเว็บแอปพลิเคชันจะได้รับการทดสอบอยู่ตลอดเวลาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์มเครือข่ายที่โฮสต์การรับส่งข้อมูล ดังนั้น CDN จึงทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มความสามารถด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุด DDoS Scrubbing CDN มอบความสามารถในการป้องกัน DDoS ในชั้นแอปพลิเคชันให้กับองค์กร (ความสามารถในการป้องกันการโจมตีด้วย HTTP ในรูปแบบ Flood) บนโหนด ความสามารถนี้จะสามารถตรวจสอบที่อยู่ IP, เฮดเดอร์และพารามิเตอร์ URL, รวบรวมสถิติเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น, รหัสสถานะและวิธีการส่งคำขอ, และสกัดกั้นคำขอการเข้าถึงที่เป็นอันตราย ในที่นี้ CDN สามารถตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพว่าการเข้าถึงสำหรับธุรกิจนั้นจะสามารถเข้าถึงได้ตามปกติและจะไม่ได้รับผลกระทบ เพื่อป้องกันการโจมตี DDoS ในชั้นเน็ตเวิร์ค CDN สามารถเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ Anti-DDoS ในสถานการณ์การกระจายสามารถใช้ CDN สำหรับการกระจายได้ และเมื่อเกิดการโจมตี DDoS  พื้นที่เป้าหมายที่ถูกโจมตีจะถูกตรวจพบและจะทำการโจมตีต่อการเข้าถึงที่วิ่งเข้ามาใน Anti-DDoS Scrubbing Center เพื่อปกป้องเซิร์ฟเวอร์ต้นทางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ โซลูชันการเชื่อมโยงนี้สามารถขัดการจราจรDDoSปริมาณสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันการโจมตีแบบน้ำท่วมเช่นSyn,ACK, ICMP, UDP, NTP, SSDP, DNSและHTTP ขึ้นอยู่กับความสามารถในการประมวลผลและอัลกอริทึมการเรียนรู้ลึกของแพลตฟอร์มalibaba Cloud apsaraการคาดการณ์การโจมตีDDoSอัจฉริยะถูกนำมาใช้เพื่อสลับการจราจรไปยังโปรต่อต้านDDoSได้อย่างราบรื่นโดยไม่มีผลต่อเวิร์กโฟลว์ทางธุรกิจในชีวิตประจำวัน โซลูชันการเชื่อมโยงนี้สามารถจัดการรับส่งข้อมูล DDoS ที่มีปริมาณมากได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันการโจมตีรูปแบบ Flood เช่น SYN, ACK, ICMP, UDP, NTP, SSDP,

admin mfec

admin mfec

เปิดตัวซูเปอร์เน็ตเวิร์คของอาลีบาบาผู้อยู่เบื้องหลัง Double 11, 2019

ในปี 2019 เทศกาลช้อปปิ้งระดับโลกประจำปีหรือที่เรียกว่า Double11 ได้ถูกเรคคอร์ด Gross Merchandise Volume (GMV) เป็นจำนวนกว่า 268.4 พันล้าน RMB ซึ่งนอกเหนือจากผู้บริโภคในประเทศแล้ว Double 11 ยังดึงดูดผู้บริโภคในต่างประเทศจำนวนมากซึ่งทำให้เป็นเทศกาลช้อปปิ้งระดับโลกอย่างแท้จริง ในปีนี้กลุ่มของประเทศผู้ใช้งาน Double11 สูงสุดทั้ง 10 อันดับประเทศในภูมิภาคที่อยู่นอกเขตประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ตาม GMV ได้แก่ ฮ่องกง (จีน), ไต้หวัน (จีน), สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, สหราชอาณาจักร, มาเก๊า (จีน) และแคนาดา ด้วยฐานผู้ใช้งานทั่วโลกที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายทางด้านเทคโนโลยีเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้งานจะได้รับประสบการณ์การช็อปปิ้งอย่างราบรื่น และในเหตุการณ์ล่าสุดของ Double 11 ปรากฏว่าอาลีบาบาสามารถกล่าวถึงความท้าทายนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ขั้นตอนที่1) สร้างเครือข่ายทั่วโลก  อาลีบาบา กรุ๊ป ได้มีการปรับใช้กลุ่มคลาวด์ส่วนตัวเสมือนจริง(VPCs) สำหรับอาลีบาบาคลาวด์ในหลาย ๆ ภูมิภาค รวมทั้ง Zhangjiakou, เซี่ยงไฮ้, เซินเจิ้น, ฮ่องกง, สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา โดยใช้ที่อยู่IPแบบยืดหยุ่น (EIP)ในเครือข่าย BGP แบบ multi-lined ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วในบริเวณใกล้เคียง กล่าวอีกนัยหนึ่งการปรับใช้งาน EIP บนอาลีบาบาในหลาย ๆ ภูมิภาคจะช่วยผลักดันเครือข่ายให้อยู่ใกล้กับผู้ใช้งานเพื่อการบริการเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก นอกจากนี้ เครือข่ายคลาวด์สำหรับองค์กร  (CEN) ของอาลีบาบาคลาวด์ สามารถให้อาลีบาบา กรุ๊ป เชื่อมต่อเครือข่ายในภูมิภาคต่างๆ ผ่านการเชื่อมต่อระหว่างกันที่มีประสิทธิภาพสูงโดยเฉพาะเพื่อสร้างเครือข่ายองค์กรส่วนตัวทั่วโลก ด้วย EIP และ CEN อาลีบาบาสามารถสร้างเครือข่ายสำหรับองค์กรทั่วโลกที่มีประสิทธิภาพสูง,ปลอดภัย,และมีความสอดคล้องของการทำงานได้อย่างรวดเร็ว เครือข่ายองค์กรทั่วโลกนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายได้จากสถานที่ที่ใกล้เคียงกับแหล่งที่อยู่ของพวกเขาผ่านทางอินเทอร์เน็ต   การเชื่อมต่อทางกายภาพของ CEN และ เซิร์ฟเวอร์หลักและฐานข้อมูลของระบบ เครือข่ายสำหรับองค์กรจะมอบการทำงานที่ให้ความหน่วงที่ต่ำพร้อมทั้งให้การเชื่อมต่อที่มีคุณภาพสูงในรูปแบบเรียลไทม์ ขั้นตอนที่2) สร้างศูนย์ข้อมูลเสมือนในรูปแบบ Hyperscale บนระบบคลาวด์ เพื่อจัดการกับคำขอและการเข้าถึงอย่างพร้อมกันในช่วง Double11 อาลีบาบาจำเป็นต้องปรับใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพนอกเหนือจากเครือข่ายระดับโลกระดับ Tbps หากคุณต้องการใช้ศูนย์ข้อมูลรูปแบบดั้งเดิมเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว คุณจะต้องจัดหาเซิร์ฟเวอร์ทางกายภาพเป็นจำนวนมากมาติดตั้งวางไว้บนชั้นวาง เปิดเครื่อง และกำหนดค่าทีละตัว และอาจใช้ระยะเวลาในการปรับใช้งานเป็นเวลาหลายเดือน  ด้วย VPC อาลีบาบาสามารถที่จะสร้างสภาพแวดล้อมของเครือข่ายแยกสำหรับผู้ใช้งานอาลีบาบาคลาวด์และสามารถปรับใช้งานหน่วยประมวลผลแบบยืดหยุ่น (ECS) เป็นจำนวนนับหมื่นอินสแตนซ์ สำหรับผู้ใช้งาน VPCs  ภายในระยะเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง ในช่วงเทศกาลช้อปปิ้ง Double11 อาลีบาบา กรุ๊ป ได้ใช้งาน VPCs หลายอัตราในหลายๆ ภูมิภาค โดยมี VPC ที่ใหญ่ที่สุดทำหน้าที่สนับสนุนอินสแตนซ์ ECS เป็นจำนวนนับล้านรวมไปถึงกลุ่มคอนเทนเนอร์ VPC ขนาดใหญ่ทำหน้าที่เป็นสมองในการประมวลผลปริมาณงานของเทศกาล Double 11ได้อย่างน่าทึ่ง การดำเนินการทั้ง 2 ขั้นตอนก่อนหน้านี้ อาลีบาบาได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถให้การสนับสนุนการเข้าถึงและการใช้งานได้อย่างมหาศาลในเทศกาล Double11 และตอนนี้จะขอนำทุกท่านเข้าสู่เทคโนโลยีเฉพาะและรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ที่อยู่ IP แบบยืดหยึ่ย (EIP)  บริการ EIP ในระบบคลาวด์ มีที่อยู่ IP สาธารณะและแบนด์วิทด์เครือข่ายสาธารณะ อาลีบาบาคลาวด์ใช้ multi-line BGP แบนด์วิทด์ เป็นเครือข่ายสาธารณะสำหรับค่าเริ่มต้น Multi-line BGP แบนด์วิทด์หมายถึงการเชื่อมต่อแบนด์วิทด์ที่อาลีบาบาคลาวด์ได้รับจากหลายผู้ให้บริการโดยตรง ผู้ให้บริการแต่ละรายถือเป็นการเชื่อมต่อทางกายภาพ โดยที่อยู่ IP

admin mfec

admin mfec

Alibaba Cloud ผู้เชี่ยวชาญด้าน Cloud Technology

หากคุณกำลังวางแผนที่จะสร้างสถาปัตยกรรมในรูปแบบ multi-Cloud หรือพิจารณาใช้บริการ Alibaba Cloud บทความนี้จะช่วยให้ลูกค้าเข้าใจผลิตภัณฑ์และบริการของ Alibaba Cloud ได้ดียิ่งขึ้น ในบทความเปรียบเทียบนี้มีความมุ่งมั่นในการช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที เช่น วิศวกร, สถาปนิก, ผู้ที่คุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์และบริการจากผู้ให้บริการระบบคลาวด์รายอื่นๆ เพื่อให้สามารถประเมินความแตกต่างของข้อเสนอบนระบบคลาวด์ของอาลีบาบา และเพื่อให้เข้าใจในบริการระบบคลาวด์ของอาลีบาบามากยิ่งขึ้น โดยเปรียบเทียบระหว่าง Alibaba Cloud กับ Amazon Web Services (AWS) ในแง่ของข้อเสนอผลิตภัณฑ์ คุณลักษณะและสถาปัตยกรรมโซลูชัน ในปัจจุบันการประมวลผล การเก็บข้อมูล เครือข่ายการจัดส่งเนื้อหา (CDN) และผลิตภัณฑ์การรักษาความปลอดภัย ก็มีให้บริการผ่านผู้ให้บริการทั้งสองรายนี้ ด้วยบทความการเปรียบเทียบนี้เราหวังว่าจะเปิดเผยความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างระหว่างแพลตฟอร์มคลาวด์ ทั้งสองแพลตฟอร์มเกี่ยวกับแนวคิด คำศัพท์และการใช้งานจริง การเปรียบเทียบการบริการระหว่าง Alibaba Cloudและ AWSตารางต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นถึงแผนที่การเปรียบเทียบการให้บริการแบบตัวต่อตัวระหว่าง AWS และ Alibaba Cloud (International Portal) Compute Description AWS Alibaba Cloud Virtual Servers Elastic Compute Cloud (EC2) Elastic Compute Service (ECS) GPU Servers EC2 Elastic GPUs Elastic GPU Service (EGS) Auto Scale Auto Scaling Auto Scaling Container Management Elastic Container Service (ECS) Container Service Storage & CDN Description AWS Alibaba Cloud Object Storage Amazon Simple Storage Services (S3) Object Storage Service (OSS) NoSQL Database DynamoDB ,SimpleDB Table Store Content Delivery CloudFront Alibaba Cloud CDN Shared File Storage Elastic File System (EFS) Network Attached Storage (NAS) Networking Description AWS Alibaba Cloud Networking Virtual Private Cloud (VPC) Virtual Private Cloud (VPC) Dedicated Network Direct Connect Express Connect NAT Gateway NAT Gateway NAT Gateway Load Balancing Elastic Load Balancing

admin mfec

admin mfec

MFEC x Cisco ยกขบวนโปรโมชันพิเศษสำหรับช่วง Work from Home

MFEC จับมือ Cisco ยกขบวนโปรโมชันพิเศษสำหรับลูกค้า ในช่วง Work from Home ให้ทุกคนทำงานได้อย่างปลอดภัยในทุกที่ทุกเวลา (Secure Remote Worker Special Promotion) Cisco Duo ได้รับการออกแบบมาให้ง่ายและคล่องตัว ในการเข้าสู่ระบบ สำหรับผู้ใช้ แอปพลิเคชันทุกประเภท ด้วยการให้บริการรูปแบบคลาวด์ ทำให้สามารถผสานเข้ากับเทคโนโลยีที่มีอยู่ของคุณได้อย่างง่ายดาย Multi-factor authentication จาก Cisco Duo ปกป้องแอปพลิเคชันของคุณ ด้วยการตรวจสอบ Second source เช่น Smartphone หรือ Token เพื่อยืนยันตัวตนของผู้ใช้ก่อนเข้าถึงระบบ Cisco AnyConnect เพิ่มขีดความสามารถในการทำงานจากภายนอก ด้วยการเข้าถึงเครือข่ายองค์กรจากทุกอุปกรณ์ได้ทุกที่ทุกเวลา และยังปลอดภัยสำหรับต่อองค์กร สามารถป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตสามารถเข้าถึงเครือข่ายได้ รับรองการทำงานแบบ Multi Factor Authentication (MFA) ของ Duo เพื่อยืนยันตัวตนของผู้ใช้ และด้วย Cisco Umbrella Roaming คุณสามารถเพิ่มการป้องกันเมื่อผู้ใช้ไม่เชื่อมต่อ VPN สัมผัสประสบการณ์ที่ผสมผสานการใช้อุปกรณ์ทั้งในและนอกองค์กร โดยไม่จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากทีมไอที ผ่านทางโปรแกรม AnyConnect ด้วยตัวคุณเอง Cisco Umbrella เป็นโซลูชันที่ใช้โครงสร้างพื้นฐานอินเตอร์เน็ตระดับ DNS เพื่อบล็อคการเชื่อมต่อไปยังปลายทางของผู้ประสงค์ร้าย โดยให้บริการผ่าน cloud ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิผล การป้องกันความปลอดภัย ด่านแรกของการป้องกันภัยคุกคาม: บล็อค malware, phishing, และ command & control ผ่านทางพอร์ตหรือโปรโตคอลต่างๆ ก่อนที่ภัยคุกคามจะมาถึงคุณ การเห็นและปกป้องได้ทั่วทุกที่: ช่วยให้สามารถมองเห็นและปกป้องการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของอุปกรณ์ทั้งหมดบนระบบเครือข่ายของคุณทั้งที่อยู่ในสำนักงานและผู้ใช้ที่ทำงานนอกสถานที่ ผสมผสานกับสิ่งที่มีอยู่: สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือเดิมที่มีอยู่ และช่วยให้ข้อมูลครบถ้วนยิ่งขึ้น ระยะเวลาโปรโมชันตั้งแต่วันนี้ถึง 1 กรกฏาคม 2563สนใจติดต่อ : secure-remote-worker@mfec.co.th

admin mfec

admin mfec

ยกระดับองค์กรของคุณให้เป็นองค์กรที่ทันสมัยด้วย CISCO Spark

Cisco Spark เป็น Application ที่สามารถรับส่งข้อความ รูปภาพ เสียง วีดีโอ รวมถึงสามารถโทรหากันได้ และประชุมผ่านทางวีดีโอได้อีก ซึ่ง Application นี้ถือว่าเป็น Collaboration ที่อยู่บน Cloud ที่สามารถทำงานโดยเชื่อมต่อกับอุปกรณ์มือถือทั้ง iOS และ Android ของแต่ละคน และสามารถใช้งานได้กับเครื่อง Desktop ผ่านระบบปฏิบัติการ Windows และ MAC OSX หรือเล่นผ่าน Web Browser ซึ่งทาง Cisco ออกแบบมาเพื่อต้องการให้ทุกๆคน สามารถทำงานเป็นทีม และประชุมงานผ่านทางวีดีโอ โดยไร้ข้อจำกัดในเรื่องของเวลาและสถานที่ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องของการเดินทาง และการเช่าสถานที่จัดประชุม ใช้ Chat Application อื่นอยู่แล้ว จำเป็นต้องเสียเงินซื้อ Cisco Spark ทำไม? Cisco Spark ทำงานบน Cloud ดังนั้นข้อมูลทุกอย่างถูกจัดเก็บไว้อย่างความปลอดภัย และข้อมูลไม่มีการสูญหาย แม้เวลาจะผ่านไปนานมากๆ ก็ตาม ทำให้สามารถย้อนดูข้อความเก่าๆ, ไฟล์งาน, รูป หรือ Idea ที่เคยวาดไว้ผ่านทาง whiteboard ของ App cisco spark ได้ และยังมีการเข้ารหัสยืนยันความปลอดภัยของบุคคลที่ใช้งาน รวมถึงคนที่เป็นแอดมิน หลักในการสร้างกลุ่มสามารถสั่งลบข้อความทั้งหมดได้ Cisco Spark มี Endpoint ที่เป็น Room Device สำหรับติดตั้งในห้องประชุม ทำให้การประชุมผ่าน video conference มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น Cisco Spark สามารถ Share screen รวมถึงการ Control Device ของคนที่ Share Screen ได้ และบันทึก Video การประชุมได้ Cisco Spark สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ VDO Conference มาตรฐาน SIP or H.323 ที่มีอยู่เดิมได้ Cisco spark เปิดให้ใช้งาน API จึงทำให้สามารถพัฒนา Cisco Spark ไป Integrate กับระบบต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรได้ สามารถเลือกใช้ Bot ต่างๆ เช่น Bot translator เพื่อช่วยในการแปลภาษาในการสนทนา หรือ Poll Bot เพื่อช่วยทำ Poll ให้ และยังสามารถพัฒนา Bot มาใช้เองได้ด้วย Cisco Spark นี้สามารถช่วยทำให้ระบบการทำงานคล่องตัว เพื่อเข้ากับไลฟ์สไตล์การทำงานของแต่ละคน เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการจะลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเอกสาร เพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานหรือลดการจ่ายค่า Maintenance ต่างๆ ซึ่งทาง MFEC เป็นตัวแทนจำหน่าย ที่พร้อมให้บริการติดตั้ง และแนะนำการใช้งาน รวมถึง MFEC ยังมี Application เสริม

admin mfec

admin mfec

PETYA – Malware เรียกค่าไถ่ตัวใหม่ โหดกว่า Wannacry

PETYA ระบาดหนักอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกิดขึ้นเริ่มต้นที่ประเทศยูเครน และตามด้วยประเทศรัสเซีย ซึ่ง PETYA นี้เป็น Ransomware คล้ายกับ Wannacry แต่โหดกว่า ตรงที่หลังจากติดแล้ว จะเข้ารหัสดิสก์ บูตเครื่อง แล้วจะใช้ทำงานอะไรไม่ได้เลย มีแต่ตัวอักษรแดงเท่านั้น จริงๆ แล้ว Malware ตัวนี้เป็นตัวเก่าเล่าใหม่ แต่มีการพัฒนาโดยใช้การแพร่กระจายผ่านช่องโหว่ SMBv1 ซึ่งเป็น ช่องทางเดียวกับ Wannacry  ซึ่งในประเทศไทยเริ่มติด Virus นี้แล้วตั้งแต่ 24 มิถุนายน ที่ผ่านมา การทำงานของ PETYA PETYA เคยแพร่ระบาดมาแล้วเมื่อกลางปี 2559 และหลักของมันไม่ใช่การล๊อค File ข้อมูลด้วยการเข้ารหัสลับเหมือน Malware อื่นๆ ทั่วไป แต่จะเข้าไปล๊อครหัสลับ Master File Table (MFT) ในระดับ Partition ของ Harddisk ที่ใช้ระบุตำแหน่งชื่อและเนื้อหาของไฟล์ ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถเปิดระบบปฏิบัติการขึ้นมาใช้งานได้ โดยเหยื่อจะต้องจ่ายเงิน  300 USD เป็น Bitcoin เพื่อปลดล็อกรหัส แต่อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ email ของผู้พัฒนา Malware ตัวนี้ ได้ถูกระงับ ทำให้เหยื่อไม่สามารถขอกุญแจเพื่อปลดล๊อคได้ คงมีทางเลือกเดียวสำหรับคนที่ได้รับ Malware นี้ คือถอด Harddisk เดิมแล้วซื้อใหม่ เผื่อจะมีคนสามารถกู้หรือปลด Malware นี้ได้ในอนาคต และระหว่างเข้ารหัสลับ Maleware จะตั้ง Task Schedule เพื่อสั่งให้เครื่อง restart โดยอัตโนมัติภายในระยะเวลา 1-2 ชั่วโมง และพยายามดักรหัสผ่านบัญชีผู้ดูแลระบบในเครือข่ายเพื่อใช้เป็นช่องทางในการแพร่กระจายต่อไปยังบุคคลอื่นๆ PetWrap หรือ PetrWrap เป็นชื่อที่เรียกอย่างไม่เป็นการทางการของ PETYA สายพันธ์ใหม่นี้ มันได้พัฒนาการแพร่กระจายโดยผ่านช่องโหว่ SMBv1 เหมือน Wannacry ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ยังไม่ได้ Update Patch มีโอกาสที่ได้รับ Malware นี้ได้ ข้อแนะนำในการป้องกัน เริ่มต้นด้วยปิดการเชื่อมต่อเครือข่ายทั้งหมด ก่อนเปิดเครื่อง และลง Patch ในข้อ 2 แล้วทำการ restart เครื่อง สำหรับเครื่องที่มี Operating System ได้แก่ Windows Vista, Windows Server 2008 ถึง 2010 และ Windows Server 2016 สามารถ Download Patch ได้ที่  https://technet.microsoft.com/en-us/library/security/ms17-010.aspx  และสำหรับเครื่องที่มี Operating System ได้แก่ Windows XP และ Windows Server 2003 สามารถ       Download Patch ได้ที่  https://blogs.technet.microsoft.com/msrc/2017/05/12/customer-guidance-for-wannacrypt-attacks/ Update ติดตั้ง Anti-Virus

admin mfec

admin mfec

ตลาด Cloud เนื้อหอม Alibaba Cloud บุกตลาดเอเชียแปซิฟิกสู้ AWS

เกาะติดความเคลื่อนไหว Alibaba ยักษ์ใหญ่วงการอีคอมเมิร์ซสัญชาติจีน กับบทบาทผู้ให้บริการ Cloud Computing Service ล่าสุดเปิดศูนย์DataCenter แห่งใหม่ในอินเดียและอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังวางแผนที่จะขยายศูนย์ Data Center เพิ่มอีก 2 แห่งภายในเดือนมีนาคม 2561 นี้ ถือเป็นความต่อเนื่องของเมกะโปรเจกต์ของ Alibaba Cloud ตอกย้ำสู่เป้าหมายการสร้างศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตหรือ Data Center 15 แห่งทั่วโลก โดยที่ยักษ์ใหญ่รายนี้ ได้ตั้งเป้าทำตลาดในกลุ่มธุรกิจเป้าหมายขนาดเล็กถึงขนาดกลาง (SME) เป็นหลัก เพื่อขยายตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค กระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดประโยชน์มากขึ้น และง่ายขึ้นต่อธุรกิจของกลุ่มเป้าหมายหลัก ซึ่งเมื่อ 2 ปี ที่ผ่านมา Alibaba Cloud ได้ร่วมกับ Singtel ในการช่วยให้ธุรกิจ SME ต่างๆ ของ Singapore ย้ายระบบขึ้น Alibaba Cloud ภายใต้ Campaign ที่ชื่อว่า 99% SME  โดยวางจุดแข็งในการแข่งขันกับตลาด Cloud Provider อื่นๆ ด้วยกลยุทธ์ เข้าใจในวัฒนธรรมและความต้องการเชิงลึกในตลาดของคนเอเชีย ที่มีมากกว่า Cloud Provider อื่นๆ 99% SME เป็นโครงการที่สนับสนุนให้ธุรกิจ SME พัฒนาธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการธุรกิจ Online  การทำตลาด Online ซึ่งเป็นโครงการที่บริษัท Singtel และธนาคาร DBS ให้การสนับสนุนเงินลงทุน และจัดโปรโมชั่นต่างๆ เปิดงบ Alibaba Cloud ปีล่าสุดโต 70% ขึ้นอันดับ 6 ในอุตสาหกรรม  ในปีงบประมาณ 2560 ของ Alibaba ธุรกิจ Alibaba Cloud เติบโตขึ้น 70% จากปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมีจำนวนลูกค้าที่ใช้งานถึง 874,000 บัญชีใช้งาน โดยมีทั้งกลุ่มลูกค้า SME, StartUp และองค์กรขนาดใหญ่ แต่หากเปรียบเทียบยักษ์ใหญ่ Cloud Provider อย่าง Amazon Web Services (AWS) อาจจะใช้คำว่ายังห่างไกล ทั้งทางด้านการรองรับเทคโนโลยีต่างๆ หรือส่วนแบ่งทางการตลาด ซึ่งปัจจุบัน Alibaba Cloud สามารถทำรายได้ในไตรมาสที่ผ่านมาด้วย 254 ล้านดอลล่าร์  ในขณะนี้ AWS มีรายได้ถึง 3.53 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งจากผลการจัดอันดับ Alibaba Cloud ถือเป็นอันดับ 6 ในตลาดอุตสาหกรรมนี้ ตามหลัง AWS, Microsoft, Google, IBM และ Salesforce แต่ด้วยกลยุทธ์ China Connect เน้นการให้บริการสำหรับธุรกิจที่ต้องการทำตลาดกับประเทศจีน ซึ่งมีประชากรมากกว่า 1,300 ล้านคน และเป็นตลาดใหญ่สำหรับนักลงทุนต่างๆ ก็ทำให้ Cloud Provider อื่นๆ ต้องแข่งขันอย่างหนักในตลาดภูมิภาคนี้ สำหรับประเทศไทย

admin mfec

admin mfec

Cisco เผยใต้ฟ้า Cloud ยังมีเรื่องราวที่ควรรู้

หากคุณเป็นอีกคนที่เชื่อว่า Cloud Computing จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นที่มาพร้อมกับโอกาสทองทางธุรกิจ แต่ภายใต้ความเชื่อนั้นยังมีความสงสัยบางอย่างปนอยู่จนเกิดเป็นคำถามที่ว่า “องค์กรของเราใช้ Cloud อย่างคุ้มค่าและเต็มประสิทธิภาพจริงหรือไม่” เพื่อป้องกันการนำ Cloud ไปใช้แบบไม่เต็มศักยภาพ หรือใช้ให้เป็นเพียงแค่ Data Center นิตยสารอะเบาท์อิทจึงได้นำบทความของผู้บริหารบริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ Mr.Fabio Gori ,Director Worldwide Cloud Marketing มาแปลและเรียบเรียงให้คุณได้เข้าใจรูปแบบการใช้งานระบบ Cloud อย่างไรเพื่อให้ได้ประโยชน์โดยแท้จริง เรากำลังใช้   Cloud  ให้เป็นเพียงแค่ Data Center หรือไม่? จากการที่ผู้บริหาร Google , Mr. Urs Hölzle ได้ออกมาเผยผลสถิติของ RightScale ที่ระบุว่า ผู้ใช้ Cloud ไม่ได้ใช้Cloud อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงทำให้เสียทรัพยากรที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ของ Cloud ไปกว่า 45% แม้ว่าตัวเลขเหล่านี้จะไม่ได้ต่างจากการใช้ Data Center แบบเดิมซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20-30% ของ Capacity แต่ด้วยโมเดลของ Cloud ที่เป็นแบบ Pay-per-use ผู้ใช้สามารถวางแผนและจ่ายเฉพาะส่วนที่ใช้งานจริง ซึ่งนั้นทำให้ผู้ใช้เข้าใจว่า Cloud จะนำมาซึ่งประโยชน์ถึง 100% และลดต้นทุนเมื่อเทียบกับ Data Center แบบเดิม ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร? ปัญหาที่แท้จริงคือ หลายองค์กรยังใช้ระบบ Cloud แบบเดียวกับการใช้ Data Center เพื่อบริหารจัดการข้อมูลภายในองค์กร โดยขอยกตัวอย่างเหล่านี้ มีการจอง resource ของเครื่อง Virtual ไว้ ถึงจะยังไม่การ provision จริงก็ตาม การใช้งานของ VM เน้นการสร้างเครื่อง Virtual ขึ้นมาใหม่ แต่ไม่ได้เน้นการลดจำนวนเครื่องลง เช่น ในขณะที่ developer ทำ test workload นั้น developer ก็มักจะไปสร้างเครื่องขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะทำให้ไม่รู้ว่าเครื่องไหนกำลัง active อยู่ หรือไม่ได้ใช้แล้ว ปัญหาเรื่องของการเลือกขนาดของเครื่อง Virtual ให้เหมาะสมกับปริมาณงาน ผู้ใช้มักจะ provision เกินความจำเป็น ซึ่งจริงๆ แล้วยังมีทางเลือกอื่นที่ลดต้นทุนลงมา และพอเพียงกับความต้องการ นอกจากนี้เรื่องการจัดการ Lifecycle ของ application  เช่น การเขียนสคริปขึ้นเอง เพื่อสร้าง cloud-specific VM images และมักจะต้องเขียน application เพื่อให้สอดคล้องกับ API รวมถึง services ของผู้ให้บริการ Cloud นั้นจะทำให้การบริหารจัดการยุ่งยากมากเวลาที่ต้องมีการแก้ไขใดๆ ลูกค้ารายหนึ่งของซิสโก้เปิดเผยว่า “กระบวนการที่จะปรับ component เพียงแค่อย่างเดียวใน application นั้น ทำให้ทีมต้องเขียนโค้ดมากถึง 1200 บรรทัด และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ของ application ส่งผลถึงการที่ทีมต้องแก้ไขและเขียนขึ้นใหม่อีกถึง 20%” โดยการปรับโค้ดดังกล่าวล้วนเป็นการเพิ่มต้นทุนค่าใช้จ่ายในระบบ Cloud ทั้งสิ้น การที่ผู้ให้บริการ Cloud

admin mfec

admin mfec

CA ส่ง DevOps ลงสู้ศึกแถบอาเซียน พร้อมย้ำตำแหน่งผู้นำด้าน Automated Performance Testing

คอลัมน์ 360 view ฉบับนี้ มีโอกาสต่อสายตรงข้ามประเทศคุยกับผู้บริหารบริษัท CA Technology ประจำภูมิภาคเอเชียใต้ Mr. Manivannan Govindan Director, DevOps, CA Technologies, Asia Southถึงแนวทางการปรับตัวเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้พัฒนาระบบในยุคปัจจุบัน โดยผู้ให้ข้อมูลปลายทางตอบคำถามด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่นแสดงออกถึงความมุ่งมั่นและขีดความสามารถที่จะนำทัพ CA สู้ศึกในแทบภูมิภาคอาเซียน ขยายงาน ช่วยให้ลูกค้าและพาร์ทเนอร์สู่ความสำเร็จในตลาด ทว่าก่อนเข้าสู่เนื้อหา “คำถาม” หรือ “คำตอบ” ขอเสริมข้อมูลเกี่ยวกับความหมายของว่า DevOps โดยสรุปคร่าวๆ ดังนี้ DevOps (Development + Operation) คือ Framework ที่ช่วยให้ผู้พัฒนาระบบ สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบครบวงจร และมีการประสานงานร่วมกับผู้เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยให้กระบวนการพัฒนาและส่งมอบ Software หรือ Application ขององค์กรมีประสิทธิภาพที่สูงกว่าเดิม เนื่องจากปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ให้เป็นระบบแบบ Automation มากที่สุด การเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ทั้งด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภค ทาง CA มีความคิดเห็นอย่างไร และเรื่องใดที่ส่งผลสูงสุดให้ทาง CA ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง? จังหวะก้าวของนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านไอที กำลังรุดหน้าอย่างรวดเร็ว CA ตระหนักดีว่า การสร้างทีมงานที่เข้มแข็งและมีศักยภาพสอดรับกับทิศทางบริษัทคือสิ่งสำคัญ รวมถึงการพัฒนาโซลูชั่นและแอปพลิเคชัน    ที่เปลี่ยนไปตามยุค Digital Technology ให้สามารถตอบสนองการใช้งานของลูกค้า โดย CA วางเป้าหมายการออกแบบมาเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ และได้วางตำแหน่งทางกลยุทธ์ด้วยการนำเสนอโซลูชั่นเพื่อรองรับการปฏิวัติทางเศรษฐกิจของแอปพลิเคชัน วิเคราะห์แนวโน้มการใช้งานระบบทดสอบการใช้งานแอปพลิเคชันและโซลูชั่น DevOps ในกลุ่มประเทศอาเซียน CA เชื่ออย่างยิ่งว่าโซลูชั่น DevOps ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและมีหลายสิ่งที่จะต้องทำ เช่น การสร้างผู้นำทางความคิด การนำมาใช้ การกำหนดขั้นตอน และการเลือกเครื่องมือที่ถูกต้องในการขับเคลื่อนและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  จากการสำรวจพบว่าองค์กรต่างๆ ในภูมิภาค ASEAN อยู่ในขั้นตอนการประเมินระบบ DevOps และมีบางรายยังอยู่ในช่วงนำร่องนำระบบดังกล่าวมาใช้ ซึ่งทาง CA ยังคงเดินหน้าเพิ่มสมรรถนะการทดสอบเพื่อให้องค์กรต่างๆ รับมือกับการเร่งใช้งาน DevOps  เพื่อผลักดันทั้งความรวดเร็วและคุณภาพในการนำเสนออัพเดตซอฟต์แวร์ใหม่ๆ รวมทั้งนวัตกรรมต่างๆที่มี ซึ่งระบบทดสอบประสิทธิภาพของเราถือเป็นเรื่องใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพ ด้วยการใช้งานโมเดลแบบ  SaaS ที่ติดตั้งได้ง่ายสะดวกรวดเร็วและใช้งานง่าย เราได้เห็นลูกค้าใช้เครื่องมือ เช่น การบริการแบบเสมือนจริงและการใช้เครื่องมืออัตโนมัต เป็นส่วนหนึ่งในการนำร่อง ซึ่งมันสามารถย่นระยะเวลาและได้รับผลตอบแทนในการลงทุนในทันที จุดเด่นของระบบ DevOps ของ CA  คืออะไร ใช้แนวคิดใดในการพัฒนาโซลูชั่นดังกล่าว จุดแข็งของ DevOps สามารถเปรียบได้กับบริษัท start-up กล่าวคือ บริษัท start-up ประสบความสำเร็จได้ด้วยแนวคิดที่ว่า นำออกสู่ตลาดให้เร็ว และทดลองตลาดในระยะเวลาที่รวด ถ้าไม่สำเร็จจะได้ไม่เสียเวลาและต้นทุนมาก (deliver fast, fail fast) คล้ายคลึงกันกับโซลูชั่น DevOps ที่ว่า ส่งเสริมการพัฒนาให้ไว เพื่อให้ Application ออกสู่ตลาดได้เร็ว (enable velocity and shift left) ส่วน building block ของ DevOps มีเพื่อให้เข้าใจบทสนทนา ขั้นตอน และกิจกรรมต่างๆ ง่ายขึ้น โดยการลด นำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งการใช้โซลูชั่นของเราจะช่วยให้นักพัฒนาระบบและเอ็นจิเนียร์ที่ดูแลด้านประสิทธิภาพสามารถทดสอบแอปฯ ได้ ล่วงหน้าและบ่อยครั้งขึ้น ปรับปรุงประสิทธิภาพการทดสอบระบบและหลีกเลี่ยงการเผชิญปัญหาในเวลาที่กระชั้นกับการวางตลาด การเข้าซื้อกิจการบริษัท BlazeMeter

admin mfec

admin mfec