VMware Virtual SAN เข้ามาพลิกโฉม Hyper-Converged Infrastructure ได้อย่างไร?
ณ ตอนนี้แทบทุกองค์กรต่างหันมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี HCI หรือ Hyper-Converged Infrastructure ซึ่งมีส่วนประกอบหลักๆ คือ Software-Defined Compute and Software-Defined Storage บทความนี้จะชี้ให้คุณเห็นว่า HCI คือเป็นแนวทางขององค์กรคุณหรือไม่ และหากคุณจะเริ่ม คุณจะต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง คำถาม classic ที่เกี่ยวกับ Server แทบทุกองค์กรตั้งขึ้นไม่พ้นคำถามเรื่องปัญหาการแชร์เนื้อที่ดิสก์จัดเก็บข้อมูล ให้เกิดเป็น Pool Capacity Resource ในกรณีที่เกิดขึ้น เช่น Server A มีการใช้งานเนื้อที่สูงจนเกือบเต็มแล้ว แต่ไม่สามารถขยายเพิ่มเติมได้ ในขณะที่ Server B มีเนื้อที่เหลืออยู่มาก และต้องการนำเอาเนื้อที่ disk ของ Server B ไปให้กับ Server A หรือแม้กระทั่งในกรณีที่ Server หยุดทำงาน และต้องการกู้คืนข้อมูลและสามารถใช้ Server สำรองช่วยทำงานแทน ซึ่งทางออกเดิมคือการใช้ Storage Area Network หรือ SAN ซึ่งสามารถจัดการเนื้อที่ของ Server ได้ตามต้องการ แต่ด้วยทางเลือกใหม่ที่เกิดขึ้น คือ เทคโนโลยี Hyper-Converged Infrastructure ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายมากถึง 80% เมื่อเปรียบเทียบกับ SAN และยังมีความโดดเด่นกว่า เนื่องจากสามารถปกป้องข้อมูล โดยมีการทำงานแบบ Native HA ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของระบบที่จุดเดียว (Single Point of Failure) และไม่มีผลกระทบกับระบบในวงกว้าง From Traditional Infrastructure to Hyper-Converged Infrastructure Credit: http://www.helixstorm.com องค์กรของคุณเหมาะสมกับ Hyper-Converged Infrastructureหรือไม่1) คุณมีความต้องการใช้ VDI (Virtual Desktop Infrastructure)2) คุณใช้งาน Virtualization ผ่าน IP Network โดยต้องการแชร์ resources และใช้งานแบบ Cluster ระบบเพื่อสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีผลกระทบกับการทำงาน3) คุณมีสำนักงานสาขา (Branch Office)4) คุณกำลังมองหา Infrastructure สำหรับสร้าง Private Cloud ที่มีประสิทธิภาพเพื่อคุ้มค่ากับการลงทุน อันที่จริงความคิดพื้นฐานของ HCI นั้นมี vendor หลากหลายบริษัทได้ออก product มาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ โดยแต่ละ vendor เองก็มีแนวคิดในการต่อยอดที่แตกต่างกันออกไป แต่หากต้องการจะตอบโจทย์ระดับองค์กรแล้ว VMware vSphere นั้นก็ถือเป็นเทคโนโลยี Virtualization และ Hypervisor ที่เหมาะสมที่สุดในเวลานี้ ในขณะที่ VMware Virtual SAN (vSAN) เองที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้สามารถทำงานร่วมกับ VMware vSphere ได้ในระดับ Kernel และยังทำงานได้เสมือนเป็นระบบเดียวกัน จึงง่ายสำหรับการต่อยอดการใช้งาน ไม่ใช่เพียงแต่ VMware vSphere ที่สามารถทำงานร่วมกันได้เท่านั้น VMware vSAN ยังรองรับ Server รุ่นใหม่ๆ