Skip links
View
Drag

Tech Talk

ตลาด Cloud เนื้อหอม Alibaba Cloud บุกตลาดเอเชียแปซิฟิกสู้ AWS

เกาะติดความเคลื่อนไหว Alibaba ยักษ์ใหญ่วงการอีคอมเมิร์ซสัญชาติจีน กับบทบาทผู้ให้บริการ Cloud Computing Service ล่าสุดเปิดศูนย์DataCenter แห่งใหม่ในอินเดียและอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังวางแผนที่จะขยายศูนย์ Data Center เพิ่มอีก 2 แห่งภายในเดือนมีนาคม 2561 นี้ ถือเป็นความต่อเนื่องของเมกะโปรเจกต์ของ Alibaba Cloud ตอกย้ำสู่เป้าหมายการสร้างศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตหรือ Data Center 15 แห่งทั่วโลก โดยที่ยักษ์ใหญ่รายนี้ ได้ตั้งเป้าทำตลาดในกลุ่มธุรกิจเป้าหมายขนาดเล็กถึงขนาดกลาง (SME) เป็นหลัก เพื่อขยายตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค กระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดประโยชน์มากขึ้น และง่ายขึ้นต่อธุรกิจของกลุ่มเป้าหมายหลัก ซึ่งเมื่อ 2 ปี ที่ผ่านมา Alibaba Cloud ได้ร่วมกับ Singtel ในการช่วยให้ธุรกิจ SME ต่างๆ ของ Singapore ย้ายระบบขึ้น Alibaba Cloud ภายใต้ Campaign ที่ชื่อว่า 99% SME  โดยวางจุดแข็งในการแข่งขันกับตลาด Cloud Provider อื่นๆ ด้วยกลยุทธ์ เข้าใจในวัฒนธรรมและความต้องการเชิงลึกในตลาดของคนเอเชีย ที่มีมากกว่า Cloud Provider อื่นๆ 99% SME เป็นโครงการที่สนับสนุนให้ธุรกิจ SME พัฒนาธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการธุรกิจ Online  การทำตลาด Online ซึ่งเป็นโครงการที่บริษัท Singtel และธนาคาร DBS ให้การสนับสนุนเงินลงทุน และจัดโปรโมชั่นต่างๆ เปิดงบ Alibaba Cloud ปีล่าสุดโต 70% ขึ้นอันดับ 6 ในอุตสาหกรรม  ในปีงบประมาณ 2560 ของ Alibaba ธุรกิจ Alibaba Cloud เติบโตขึ้น 70% จากปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมีจำนวนลูกค้าที่ใช้งานถึง 874,000 บัญชีใช้งาน โดยมีทั้งกลุ่มลูกค้า SME, StartUp และองค์กรขนาดใหญ่ แต่หากเปรียบเทียบยักษ์ใหญ่ Cloud Provider อย่าง Amazon Web Services (AWS) อาจจะใช้คำว่ายังห่างไกล ทั้งทางด้านการรองรับเทคโนโลยีต่างๆ หรือส่วนแบ่งทางการตลาด ซึ่งปัจจุบัน Alibaba Cloud สามารถทำรายได้ในไตรมาสที่ผ่านมาด้วย 254 ล้านดอลล่าร์  ในขณะนี้ AWS มีรายได้ถึง 3.53 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งจากผลการจัดอันดับ Alibaba Cloud ถือเป็นอันดับ 6 ในตลาดอุตสาหกรรมนี้ ตามหลัง AWS, Microsoft, Google, IBM และ Salesforce แต่ด้วยกลยุทธ์ China Connect เน้นการให้บริการสำหรับธุรกิจที่ต้องการทำตลาดกับประเทศจีน ซึ่งมีประชากรมากกว่า 1,300 ล้านคน และเป็นตลาดใหญ่สำหรับนักลงทุนต่างๆ ก็ทำให้ Cloud Provider อื่นๆ ต้องแข่งขันอย่างหนักในตลาดภูมิภาคนี้ สำหรับประเทศไทย

admin mfec

admin mfec

Cisco เผยใต้ฟ้า Cloud ยังมีเรื่องราวที่ควรรู้

หากคุณเป็นอีกคนที่เชื่อว่า Cloud Computing จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นที่มาพร้อมกับโอกาสทองทางธุรกิจ แต่ภายใต้ความเชื่อนั้นยังมีความสงสัยบางอย่างปนอยู่จนเกิดเป็นคำถามที่ว่า “องค์กรของเราใช้ Cloud อย่างคุ้มค่าและเต็มประสิทธิภาพจริงหรือไม่” เพื่อป้องกันการนำ Cloud ไปใช้แบบไม่เต็มศักยภาพ หรือใช้ให้เป็นเพียงแค่ Data Center นิตยสารอะเบาท์อิทจึงได้นำบทความของผู้บริหารบริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ Mr.Fabio Gori ,Director Worldwide Cloud Marketing มาแปลและเรียบเรียงให้คุณได้เข้าใจรูปแบบการใช้งานระบบ Cloud อย่างไรเพื่อให้ได้ประโยชน์โดยแท้จริง เรากำลังใช้   Cloud  ให้เป็นเพียงแค่ Data Center หรือไม่? จากการที่ผู้บริหาร Google , Mr. Urs Hölzle ได้ออกมาเผยผลสถิติของ RightScale ที่ระบุว่า ผู้ใช้ Cloud ไม่ได้ใช้Cloud อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงทำให้เสียทรัพยากรที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ของ Cloud ไปกว่า 45% แม้ว่าตัวเลขเหล่านี้จะไม่ได้ต่างจากการใช้ Data Center แบบเดิมซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20-30% ของ Capacity แต่ด้วยโมเดลของ Cloud ที่เป็นแบบ Pay-per-use ผู้ใช้สามารถวางแผนและจ่ายเฉพาะส่วนที่ใช้งานจริง ซึ่งนั้นทำให้ผู้ใช้เข้าใจว่า Cloud จะนำมาซึ่งประโยชน์ถึง 100% และลดต้นทุนเมื่อเทียบกับ Data Center แบบเดิม ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร? ปัญหาที่แท้จริงคือ หลายองค์กรยังใช้ระบบ Cloud แบบเดียวกับการใช้ Data Center เพื่อบริหารจัดการข้อมูลภายในองค์กร โดยขอยกตัวอย่างเหล่านี้ มีการจอง resource ของเครื่อง Virtual ไว้ ถึงจะยังไม่การ provision จริงก็ตาม การใช้งานของ VM เน้นการสร้างเครื่อง Virtual ขึ้นมาใหม่ แต่ไม่ได้เน้นการลดจำนวนเครื่องลง เช่น ในขณะที่ developer ทำ test workload นั้น developer ก็มักจะไปสร้างเครื่องขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะทำให้ไม่รู้ว่าเครื่องไหนกำลัง active อยู่ หรือไม่ได้ใช้แล้ว ปัญหาเรื่องของการเลือกขนาดของเครื่อง Virtual ให้เหมาะสมกับปริมาณงาน ผู้ใช้มักจะ provision เกินความจำเป็น ซึ่งจริงๆ แล้วยังมีทางเลือกอื่นที่ลดต้นทุนลงมา และพอเพียงกับความต้องการ นอกจากนี้เรื่องการจัดการ Lifecycle ของ application  เช่น การเขียนสคริปขึ้นเอง เพื่อสร้าง cloud-specific VM images และมักจะต้องเขียน application เพื่อให้สอดคล้องกับ API รวมถึง services ของผู้ให้บริการ Cloud นั้นจะทำให้การบริหารจัดการยุ่งยากมากเวลาที่ต้องมีการแก้ไขใดๆ ลูกค้ารายหนึ่งของซิสโก้เปิดเผยว่า “กระบวนการที่จะปรับ component เพียงแค่อย่างเดียวใน application นั้น ทำให้ทีมต้องเขียนโค้ดมากถึง 1200 บรรทัด และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ของ application ส่งผลถึงการที่ทีมต้องแก้ไขและเขียนขึ้นใหม่อีกถึง 20%” โดยการปรับโค้ดดังกล่าวล้วนเป็นการเพิ่มต้นทุนค่าใช้จ่ายในระบบ Cloud ทั้งสิ้น การที่ผู้ให้บริการ Cloud

admin mfec

admin mfec

CA ส่ง DevOps ลงสู้ศึกแถบอาเซียน พร้อมย้ำตำแหน่งผู้นำด้าน Automated Performance Testing

คอลัมน์ 360 view ฉบับนี้ มีโอกาสต่อสายตรงข้ามประเทศคุยกับผู้บริหารบริษัท CA Technology ประจำภูมิภาคเอเชียใต้ Mr. Manivannan Govindan Director, DevOps, CA Technologies, Asia Southถึงแนวทางการปรับตัวเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้พัฒนาระบบในยุคปัจจุบัน โดยผู้ให้ข้อมูลปลายทางตอบคำถามด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่นแสดงออกถึงความมุ่งมั่นและขีดความสามารถที่จะนำทัพ CA สู้ศึกในแทบภูมิภาคอาเซียน ขยายงาน ช่วยให้ลูกค้าและพาร์ทเนอร์สู่ความสำเร็จในตลาด ทว่าก่อนเข้าสู่เนื้อหา “คำถาม” หรือ “คำตอบ” ขอเสริมข้อมูลเกี่ยวกับความหมายของว่า DevOps โดยสรุปคร่าวๆ ดังนี้ DevOps (Development + Operation) คือ Framework ที่ช่วยให้ผู้พัฒนาระบบ สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบครบวงจร และมีการประสานงานร่วมกับผู้เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยให้กระบวนการพัฒนาและส่งมอบ Software หรือ Application ขององค์กรมีประสิทธิภาพที่สูงกว่าเดิม เนื่องจากปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ให้เป็นระบบแบบ Automation มากที่สุด การเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ทั้งด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภค ทาง CA มีความคิดเห็นอย่างไร และเรื่องใดที่ส่งผลสูงสุดให้ทาง CA ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง? จังหวะก้าวของนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านไอที กำลังรุดหน้าอย่างรวดเร็ว CA ตระหนักดีว่า การสร้างทีมงานที่เข้มแข็งและมีศักยภาพสอดรับกับทิศทางบริษัทคือสิ่งสำคัญ รวมถึงการพัฒนาโซลูชั่นและแอปพลิเคชัน    ที่เปลี่ยนไปตามยุค Digital Technology ให้สามารถตอบสนองการใช้งานของลูกค้า โดย CA วางเป้าหมายการออกแบบมาเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ และได้วางตำแหน่งทางกลยุทธ์ด้วยการนำเสนอโซลูชั่นเพื่อรองรับการปฏิวัติทางเศรษฐกิจของแอปพลิเคชัน วิเคราะห์แนวโน้มการใช้งานระบบทดสอบการใช้งานแอปพลิเคชันและโซลูชั่น DevOps ในกลุ่มประเทศอาเซียน CA เชื่ออย่างยิ่งว่าโซลูชั่น DevOps ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและมีหลายสิ่งที่จะต้องทำ เช่น การสร้างผู้นำทางความคิด การนำมาใช้ การกำหนดขั้นตอน และการเลือกเครื่องมือที่ถูกต้องในการขับเคลื่อนและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  จากการสำรวจพบว่าองค์กรต่างๆ ในภูมิภาค ASEAN อยู่ในขั้นตอนการประเมินระบบ DevOps และมีบางรายยังอยู่ในช่วงนำร่องนำระบบดังกล่าวมาใช้ ซึ่งทาง CA ยังคงเดินหน้าเพิ่มสมรรถนะการทดสอบเพื่อให้องค์กรต่างๆ รับมือกับการเร่งใช้งาน DevOps  เพื่อผลักดันทั้งความรวดเร็วและคุณภาพในการนำเสนออัพเดตซอฟต์แวร์ใหม่ๆ รวมทั้งนวัตกรรมต่างๆที่มี ซึ่งระบบทดสอบประสิทธิภาพของเราถือเป็นเรื่องใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพ ด้วยการใช้งานโมเดลแบบ  SaaS ที่ติดตั้งได้ง่ายสะดวกรวดเร็วและใช้งานง่าย เราได้เห็นลูกค้าใช้เครื่องมือ เช่น การบริการแบบเสมือนจริงและการใช้เครื่องมืออัตโนมัต เป็นส่วนหนึ่งในการนำร่อง ซึ่งมันสามารถย่นระยะเวลาและได้รับผลตอบแทนในการลงทุนในทันที จุดเด่นของระบบ DevOps ของ CA  คืออะไร ใช้แนวคิดใดในการพัฒนาโซลูชั่นดังกล่าว จุดแข็งของ DevOps สามารถเปรียบได้กับบริษัท start-up กล่าวคือ บริษัท start-up ประสบความสำเร็จได้ด้วยแนวคิดที่ว่า นำออกสู่ตลาดให้เร็ว และทดลองตลาดในระยะเวลาที่รวด ถ้าไม่สำเร็จจะได้ไม่เสียเวลาและต้นทุนมาก (deliver fast, fail fast) คล้ายคลึงกันกับโซลูชั่น DevOps ที่ว่า ส่งเสริมการพัฒนาให้ไว เพื่อให้ Application ออกสู่ตลาดได้เร็ว (enable velocity and shift left) ส่วน building block ของ DevOps มีเพื่อให้เข้าใจบทสนทนา ขั้นตอน และกิจกรรมต่างๆ ง่ายขึ้น โดยการลด นำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งการใช้โซลูชั่นของเราจะช่วยให้นักพัฒนาระบบและเอ็นจิเนียร์ที่ดูแลด้านประสิทธิภาพสามารถทดสอบแอปฯ ได้ ล่วงหน้าและบ่อยครั้งขึ้น ปรับปรุงประสิทธิภาพการทดสอบระบบและหลีกเลี่ยงการเผชิญปัญหาในเวลาที่กระชั้นกับการวางตลาด การเข้าซื้อกิจการบริษัท BlazeMeter

admin mfec

admin mfec

Tags

จริงหรือไม่ คืนชีพ Single Gateway ด้วย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ใหม่!

หลังจากที่ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปี 2559 ผ่านการพิจารณาในวาระ 3ไปแล้ว เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา (16 ธ.ค.) ผลสรุปของพ.ร.บ.ฉบับนี้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้ผ่านฉลุย  แม้จะมีกระแสต่อต้านร่างกฏหมายฉบับนี้อย่างมากในหลายภาคส่วนโดยเฉพาะคนไอทีก็ตาม ประเด็นหลักที่ถูกพูดถึงและแชร์ข้อมูลกันอย่างต่อเนื่อง คือ พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องผลกระทบสิทธิประชาชน และที่สำคัญสิ่งที่หลายคนเป็นห่วงคือการคืนชีพ “Single Gateway” ซึ่งเป็นโครงการคุกคามสิทธิ์ส่วนบุคคลในโลกไซเบอร์ระดับประเทศ ทื่ล้มไม่เป็นท่า เพราะประชาชนต่างร่วมใจกันคัดค้าน ต่อมาเมื่อพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้ถูกทำให้กลายเป็นกฏหมาย แน่นอนว่าผู้คนหลายกลุ่ม จึงตั้งข้อสังเกตถึง พ.ร.บ. ฉบับนี้ว่าเป็นการคืนชีพ “Single Gateway”  ในอีกรูปแบบหรือไม่ เพราะ (สนช.) ผ่านร่างทั้งที่ไม่ยอมฟังเสียงของประชาชนที่มีกระแสต่อต้าน พ.ร.บ. ดังกล่าวโดยมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตร่วมกันลงชื่อผ่านเว็บไซต์ change.org กระทั่งมียอดลงชื่อต้านกว่า 3 แสนคนเลยทีเดียว โดยเรื่องนี้ต้องย้อนกับไปพูดถึงการเริ่มต้นของ “Single Gateway”  กันเสียหน่อย ซึ่งเมื่อกว่าปีที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามพลักดันจัดตั้งโครงการนี้ โดยมอบหมายให้กระทรวงไอซีทีรับผิดชอบภาพกว้าง ในการตรวจสอบข้อมูลที่ไม่เหมาะสม หรือบล็อกข้อมูลที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย รวมทั้งเพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยการก่อการร้าย ซึ่งอีกนัยหนึ่งรัฐบาลก็สามารถปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนได้อย่างถูกกฏหมายด้วย ซึ่งนั้นจะทำให้มีข้อเสียตามมาในอีกหลายด้านในอนาคต เรียกได้ว่ามีข้อเสียมากกว่าข้อดีก็ว่าได้โครงการนี้เลยสาบสูญไปแต่โดยดี กลับมาที่ปัจจุบัน ทางรัฐบาลเองก็ออกมายืนยันผ่าน พล.ต.ฤทธี อินทราวุธ ผู้อำนวยการศูนย์ไซเบอร์กองทัพบกว่า กรณีดังที่มีคนสงสัยว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ใหม่ เป็นการคืนชีพ Single Gateway นั่นเป็นการพยายามสร้างกระแสบิดเบือนข้อกฎหมายของบุคคลบางกลุ่ม ให้เกิดความตื่นตระหนก ซึ่งในประเด็นนี้ มีผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสายไอทีและนักฏหมายหลายท่านร่วมไปถึงทนายหน่อย-พิษณุ พานิชสุข นักกฎหมายได้ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงเรื่องดังกล่าว กับหนุ่ย-พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ กูรูด้านไอทีชื่อดัง ผ่านการไลฟ์สด ถึงประเด็นการคืนชีพ Single Gateway เพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องกับประชาชนทำนองว่า หลังจากที่ได้พิจารณาร่างกฏหมายกันอย่างละเอียดถึง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับนี้ จากการพูดคุยยาวนานของทั้งสองท่าน สรุปประเด็นนี้ได้คร่าวๆ ว่า พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่นี้ ไม่เกี่ยวข้องกับ Single Gateway เลยแม้แต่น้อย แต่จะมีความชัดเจนมากกว่า พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ปี 2550 ในเรื่องของความรุนแรงของการบังคับใช้ข้อกฏหมายเพื่อป้องปรามเหตุ ซึ่งสรุปได้ว่าในกรณีข้อเท็จจริงประเด็นการหยิบยกเรื่องของ Single Gateway มาเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับนี้ไม่เป็นความจริง นอกจากนั้นทั้งคู่ยังให้ความรู้ถึง พ.ร.บ.ดังกล่าวอีกว่า พ.ร.บ. นี้จะเน้นไปที่เรื่องของประโยชน์ด้านการคุ้มครองลิขสิทธิ์ทางปัญญา และให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนทั่วไปและผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในอีกหลายกรณีที่อาจเกิดการผิดพลาดด้วยความไม่รู้ ซึ่งแน่นอนว่า พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์นี้ยังคงไม่มีความชัดเจนในเรื่องของการคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชน อย่างที่ประชาชนเป็นห่วง และในอนาคตเรื่องนี้จะชัดเจนขึ้นเรื่องๆ เมื่อเกิดกรณีตัวอย่าง สุดท้ายสรุปอีกครั้งว่า พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ปี 2559 ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับ Single Gateway เลยแม้แต่น้อย ซึ่งทั้งนี้ประชาชนควรเปิดใจและเข้าไปทำความเข้าใจกับแนวทางของ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ปี 2559 ด้วยตัวเองจะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด ทั้งคู่ยังฝากไว้อีกทำนองว่า ถ้าหากเราเองไม่ใช่คนที่มีความผิด ก็ไม่จำเป็นต้องกลัวอะไร ภาพจาก change.org

admin mfec

admin mfec