Skip links
View
Drag

COE

Tags

USB-C

ทุกวันนี้โทรศัพท์หลายยี่ห้อหันมาใช้ USB-C ในสายชาร์จหรืออุปกรณ์ Gadget ต่างๆของตัวเองกันแล้ว ด้วยความง่ายในการพกพาของลูกค้า ที่ไม่ต้องพก 1 สายชาร์จต่อ 1 อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะถึงมีอุปกรณ์หลายอย่างทั้งโทรศัพท์มือถือ หูฟัง Wireless นาฬิกา Smart Watch รวมถึง Tablet มีสายชาร์จ USB-C อันเดียวก็เอาอยู่⠀⠀แต่ปัญหาหนักใจก็คือ USB-C ยังไม่รองรับการใช้ใน Gaming Laptop ที่ถูกออกแบบให้ใช้พลังงานมหาศาลกับการเล่นเกมหรือทำงานหนักๆ เพราะฉะนั้นข่าวในครั้งนี้จึงถือเป็นก้าวสำคัญของการใช้ USB⠀⠀โดยเมื่อไม่นานมานี้ได้มีข้อมูลเรื่องการอัปเดตเวอร์ชันของ USB-C ว่าจะมี Option เพิ่ม ให้สามารถจ่ายไฟได้ถึง 240 วัตต์ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Extended Power Range (EPR) ที่จะทำให้วงการ USB ขยายวงกว้างไปมากกว่าปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของ Gaming Laptop หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ จนถึงการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต⠀⠀อ้างอิง: https://www.cnet.com/news/usb-c-power-upgrade

admin mfec

admin mfec

Tags

Swift Playground

Swift Playground “Learn serious code. In a seriously fun way” (เรียนเขียนโค้ดอย่างจริงจัง ให้สนุกจริงๆ) โปรแกรมเขียนและศึกษาภาษา Swift (ภาษาที่ใช้เขียนโค้ดของระบบปฏิบัติการ iOS) บน iPad จาก App Store ที่ให้ผู้ใช้ได้ศึกษาการพัฒนาแอปพลิเคชันของ iPad ได้ก้าวมาถึงจุดที่ให้ผู้เขียนสามารถอัปโหลดแอปพลิเคชันขึ้น App Store โดยตรงได้แล้ว⠀⠀เนื่องจากก่อนหน้านี้ผู้ใช้แอปพลิเคชัน Swift Playground เพื่อเขียนโค้ดบน iPad ต้องใช้ Mac ในการอัปโหลดแอปขึ้น App Store เท่านั้น ทำให้การที่มีแค่ iPad เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอในการสร้างแอปพลิเคชัน ทาง Apple จึงได้มีการพัฒนาแอปให้ใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยล่าสุดในงาน WWDC 2021 (Apple Worldwide Developers Conference 2021) ก็ได้มีประกาศออกมาว่า ต่อจากนี้การเขียนแอปบน iPad จะสามารถเขียนแล้วจบได้เลยในที่เดียว ด้วยความสามารถในการอัปโหลดแอปขึ้น App Store โดยตรง แบบไม่ต้องผ่าน Mac แบบในอดีต

admin mfec

admin mfec

Tags

Facebook ร่วมสนับสนุนมูลนิธิภาษา Rust

Facebook ร่วมสนับสนุนมูลนิธิภาษา Rust เพื่อเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาภาษา โดยเจ้าภาษา Rust เป็นอีกหนึ่งภาษาที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่าภาษาที่หลายๆคนน่าจะคุ้นหู อย่างภาษา C/C++⠀⠀ภาษา Rust นี้เป็นภาษาใหม่ที่เพิ่งสร้างขึ้นมาไม่นานนัก มีจุดเด่นในการลด Bug ของการจัดการหน่วยความจำ ที่เป็นปัญหาใหญ่ของโปรแกรมจำนวนมากที่เขียนด้วยภาษา C/C++ แม้ฟีเจอร์แบบนี้จะมีในภาษายุคใหม่จำนวนมากแต่ภาษาเหล่านั้นก็ต้องอาศัย Garbage Collector (GC) เพื่อช่วยจัดการหน่วยความจำขณะที่รันอยู่ ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน แต่ Rust สามารถลด Bug ของหน่วยความจำได้โดยไม่ต้องใช้ GC ทำให้ได้เปรียบในหลายกรณี

admin mfec

admin mfec

Tags

บริษัท Colonial Pipeline ฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาโดนโจมตีด้วย Ransomeware

เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัท Colonial Pipeline ทางฝั่งตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกาโดนโจมตีด้วย Ransomeware ทำให้ระบบการขนส่งน้ำมันผ่านท่อลำเลียงล่ม ต้องปิดทำการและกลับมาใช้การขนส่งแบบ Offline โดยผู้ที่โจมตีในครั้งนี้คาดว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่มีชื่อว่า Darkside ที่ทาง FBI ของสหรัฐได้ติดตามสอบสวนมาตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว⠀⠀⠀⠀แต่ล่าสุดมีข่าวดีจากทางบริษัท Bitdefender ว่าจริงๆแล้วในตัว Ransomware ของ Darkside มีข้อบกพร่อง และประกาศให้บริษัทอื่นๆที่โดนโจมตีในกรณีคล้ายๆกันสามารถดาวน์โหลดอุปกรณ์ของตนเพื่อหลีกเลี่ยงการที่ต้องจ่ายเงินกว่าหลายล้านดอลล่าให้กับแก๊ง Ransomware เหล่านี้⠀⠀ในทางกลับกันผู้เชี่ยวชาญด้าน Ransomware อย่าง Fabian Wosar และโปรแกรมเมอร์อย่าง Michael Gillespie ที่สร้างกลุ่มอาสาขึ้นมาเพื่อจัดการกับอาชญากรรมทางไซเบอร์ด้าน Ransomware เผยว่า การที่บริษัทเทคโนโลยีหรือซอฟต์แวร์ต่างๆ เห็นโอกาสในการสร้างรายได้ผ่านการโจมตีเหล่านี้ ทำให้วงการ Ransomware ยิ่งพัฒนาและเติบโตขึ้นไปอีกกว่าเดิม ผ่านการออกมาประกาศต่อสาธารณะชนว่ามีวิธีแก้ไขแล้ว สามารถมาซื้อบริการที่นี่ได้⠀⠀พอได้ยินแบบนี้แล้วเรื่อง Security ก็ไม่ใช่อะไรที่ไกลตัวพวกเราอีกต่อไป เพราะขนาดบริษัทระดับโลกยังสามารถตกเป็นผู้เสียหายของอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้ เมื่อเป็นแบบนี้ การศึกษาหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้าน IT Security ถือเป็นอีกทางหนึ่งที่จะป้องกันข้อมูล และหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมทางไซเบอร์ต่างๆได้ในอนาคต อ้างอิง:What We Know About The Ransomware Attack On A Critical U.S. Pipeline : NPRThe Colonial pipeline ransomware hackers had a secret weapon: self-promoting cybersecurity firms | MIT Technology ReviewThe Ransomware Superhero of Normal, Illinois — ProPublica

admin mfec

admin mfec

Tags

Chia Cryptocurrency ตัวใหม่จาก Chia Network

Cryptocurrency เทรนด์การลงทุนที่มาแรงไม่มีตก ก็ยังคงเป็นที่สนใจของนักลงทุนทั้งมือเก่า และมือใหม่ อย่างคนใกล้ตัวที่อยู่ด้วยกันมาตั้งนานไม่เห็นเคยสนใจลงทุน พอหันกลับไปอีกทีก็เล่น Crypto กันหมดซะงั้น⠀⠀ล่าสุดก็ยังมี Cryptocurrency ตัวใหม่ออกมา ชื่อว่า Chia ที่สร้างโดย Platform อย่าง Chia Network โดย 1 Chia มีค่าประมาณ 30,000 บาท และที่ต่างไปจากการขุด Bitcoin ก็คือการใช้ Hard Disk แทนการ์ดจอแบบปกติ ซึ่งเจ้าตัวยังแอบเคลมอีกว่าตัวเองเป็น Climate-friendly ที่จะไม่ทำให้เกิด Carbon Footprint เท่ากับการขุด Bitcoin หรือ Ethereum ทำให้เดือนนี้ราคา Hard Disk เริ่มเพิ่มสูงขึ้น และ Hard Disk อย่าง SSD ก็เริ่มขาดตลาดแล้ว คล้ายกับการที่คนแห่ซื้อการ์ดจอเอามาขุด Bitcoin แบบแต่ก่อน ว่าแล้วก็ขอไปซื้อมาตุนไว้บ้างดีกว่าจะได้เอามาขุดแข่งกับเขาบ้าง

admin mfec

admin mfec

Tags

PDPA ที่คนทำธุรกิจต้องรู้

ปัจจุบันการทำธุรกิจในประเทศไทยได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบดิจิทัลเป็นจำนวนมาก จึงได้มีการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขึ้นมา หรือที่เรียกว่า PDPA เพื่อปกป้องสิทธิส่วนบุคคลให้ข้อมูลมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานมากขึ้น และเพื่อการประมวลผลข้อมูลเหล่านั้นอย่างมีความรับผิดชอบ โดยมีผลบังคับใช้ทั้งกับระดับบุคคล และนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย รวมไปถึงบริษัทที่มีที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศแต่ขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าคนไทยอีกด้วย⠀⠀ เรามักจะพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลในบางครั้งถูกเก็บไปใช้งานได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะผ่านสื่อดิจิทัล ดังนั้น ผู้ที่ทำธุรกิจผ่านระบบดิจิทัล หรือใช้ระบบดิจิทัลในการปฏิบัติการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล จึงมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมาย PDPA นี้เป็นอย่างมาก⠀⠀ สิ่งที่คนทำธุรกิจต้องเตรียมให้พร้อม เพื่อตอบรับกับข้อกำหนดของ PDPA 1. เตรียมเอกสารที่ใช้บันทึกรายละเอียดการจัดเก็บข้อมูล โดยระบุวัตถุประสงค์ และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อบันทึกกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Record of Processing หรือ ROP) 2. เตรียมแบบฟอร์มเพื่อให้เจ้าของข้อมูลขอใช้สิทธิบนเว็บไซต์ เพื่อให้เจ้าของข้อมูล สามารถขอสิทธิการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวได้ ในช่องทางใดๆ ก็ตาม และต้องมีการดำเนินการตามคำร้องภายใน 30 วัน 3. แจ้งเจ้าของข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ Privacy Policy เพื่อให้เจ้าของข้อมูลรับทราบว่าข้อมูลที่จะนำไปใช้มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร หรือมีเงื่อนไขอะไรบ้าง รวมไปถึงระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูล 4. การขอคำยินยอมในการใช้ Cookie ธุรกิจ หรือแต่ละเว็บไซต์จะต้องมีการแจ้งเตือนผ่านแบนเนอร์ (Cookie Consent Banner) เพื่อขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานออนไลน์ รวมถึงประเภทข้อมูลที่ถูกจับเก็บ 5. การแจ้งเตือนเจ้าของข้อมูลหากข้อมูลเกิดการรั่วไหล ธุรกิจหรือองค์กรจะต้องแจ้งต่อเจ้าของข้อมูล และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หากเกิดกรณีที่ข้อมูลของลูกค้าเกิดการถ่ายโอน รั่วไหล หรือใช้ในทางที่ผิด จะต้องมีการประเมินส่วนที่ขาดหาย และวิธีการเยียวยาเจ้าของข้อมูล⠀ ⠀เมื่อถูกเรียกว่าเป็นกฎหมายแล้ว หากคนทำธุรกิจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎ จากผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมข้อมูลหรือจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล จะถูกพิจารณาความรับผิดชอบทั้งทางแพ่ง และบทลงโทษทางอาญาและทางการปกครอง โดยกำหนดให้มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ⠀ ⠀ดังนั้นคนทำธุรกิจ หรือในองค์กรต่างๆ จึงควรเริ่มศึกษา เรียนรู้ และให้ความสำคัญกับกฎหมาย PDPA อย่างชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่เข้ามาซื้อสินค้าและใช้บริการ และเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย

admin mfec

admin mfec

Tags

PDPA มีประโยชน์กับใครบ้าง

เหตุผลในการมาของ PDPA เกิดจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดช่องทางการสื่อสารต่างๆ ที่หลากหลายขึ้น นำมาซึ่งการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำได้ง่ายขึ้น และหลายครั้งก็สร้างความเดือดร้อนและความเสียหายให้กับเจ้าของข้อมูล จึงต้องมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA นี้ขึ้นมาเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ขึ้นมา โดยกฎหมายนี้จะส่งผลประโยชน์ให้ตัวบุคคลและภาคส่วนต่างๆ ดังนี้⠀⠀ประชาชนทั่วไป  ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลจะถูกจัดเก็บได้อย่างปลอดภัย ลดความเสียหายจากการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในการทราบวัตถุประสงค์การจัดเก็บ ใช้ หรือเผยแพร่ข้อมูล เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในการอนุญาต หรือไม่อนุญาต และถอนความยินยอมให้จัดเก็บข้อมูลได้ เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในการขอให้ลบ หรือระงับการใช้ข้อมูลได้ เจ้าของข้อมูลสามารถร้องเรียน ขอค่าสินไหมทดแทนได้ หากข้อมูลถูกใช้งานผิดจากวัตถุประสงค์ที่แจ้ง⠀⠀ภาคธุรกิจ  ธุรกิจสามารถเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าในมาตรฐานของการจัดเก็บข้อมูล ธุรกิจสามารถสร้างโอกาสในการทำธุรกิจที่มีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ธุรกิจสามารถเพิ่มกระบวนการทำงาน กลไกที่มีประสิทธิภาพ ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรที่เหมาะสม ส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรทางด้านธรรมาภิบาล การดำเนินการที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ สร้างความรับผิดชอบต่อสังคม⠀⠀ภาครัฐ  มีระบบที่มีความทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ ในด้านกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีมาตรการกำกับดูแล รวมถึงเครื่องมือกำกับการดำเนินงานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาล การดำเนินงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ สร้างสังคมที่เข้มแข็ง เนื่องจากสามารถตรวจสอบการดำเนินงานภาครัฐ และภาคธุรกิจเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความถูกต้องเหมาะสม ส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศในด้านประสิทธิภาพการคุ้มครองข้อมูล⠀⠀จะเห็นได้ว่า PDPA เป็นกฎหมายที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับประโยชน์ของการดูแล และคุ้มครองความปลอดภัยในข้อมูลเป็นอย่างมาก และถึงแม้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) ได้มีการประกาศเลื่อนกำหนดระยะเวลาบังคับใช้ของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ หรือ PDPA ไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ทุกคนในฐานะพลเมืองก็ควรศึกษากฎหมายให้มีความรู้และความเข้าใจ เพื่อผลประโยชน์ และการรักษาสิทธิของตนเองตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น

admin mfec

admin mfec

Tags

Explainable AI ใครว่า AI อธิบายไม่ได้

เมื่อพูดถึง Artificial Intelligence (AI) หลายคนคงนึกถึงหุ่นยนต์ที่รับคำสั่งจากมนุษย์ เรียนรู้ และพัฒนาได้ด้วยตัวเองผ่านการประมวลผลข้อมูลทุกๆวัน โดยที่เราไม่จำเป็นจะต้องไปสอนทุกขั้นตอนหรือใส่ข้อมูลใหม่ๆตลอดเวลาก็ได้ ยิ่งไปกว่านั้น AI ยังสามารถคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตหรือให้เหตุผลต่างๆได้ใกล้เคียงกับมนุษย์ แต่ตอนไหนล่ะที่เราสามารถเชื่อใจ AI ได้⠀⠀เพื่อที่จะอธิบายสถานะของ AI ว่ายังสามารถทำงานได้เป็นปรกติหรือไม่ Explainable AI (XAI) จึงถูกพัฒนาขึ้นมาอธิบายการตัดสินใจต่างๆของ AI รวมถึงแสดงหลักฐาน ที่มา ของการตัดสินใจนั้นๆ ส่งผลให้เราสามารถวิเคราะห์เบื้องต้นก่อนได้ว่าสมควรจะเชื่อการตัดสินใจดังกล่าวหรือไม่⠀⠀และเมื่อไม่นานมานี้นักวิจัยจาก University of Toronto ร่วมมือกับ LG AI Research ได้สร้าง XAI ขึ้นมาเพื่อช่วยหาและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบนจอแสดงผล โดยเทคโนโลยีนี้ยังมีกลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรในวงการ IT เอง หรือแม้กระทั่งผู้ใช้ทั่วๆไป

admin mfec

admin mfec

Tags

F5 กับการนำ Edge Computing มาใช้งานจริง

ความจริงแล้วการใช้ระบบแบบ Centralized Computing หรือ Centralized Management ทำให้ระบบตอบสนองข้อมูลต้องทำงานหนัก และใช้พละกำลังไปกับการประมวลผลข้อมูลที่ไม่จำเป็น รวมถึงยังทำให้ต้องเสียงบประมาณในการจัดการกับจุดเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบส่วนกลางและระบบ Cloud ที่เกินความเป็นจริงอีกด้วย⠀⠀เพื่อแก้ปัญหานี้ Edge Computing จึงได้ก้าวเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองต่ออุปกรณ์ต่างๆให้ทันท่วงทียิ่งขึ้น⠀⠀โดย Edge Computing คือการวางตัวประมวลผลข้อมูลเบื้องต้นไว้ใกล้กับจุดของอุปกรณ์มากที่สุด สำหรับจัดการกับข้อมูลก่อนที่จะส่งไปยังส่วนอื่นๆที่จำเป็นโดยไม่ต้องผ่านจุดศูนย์กลางเพื่อลดระยะเวลาการตอบสนองทำให้การประมวลผลข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างบริษัทที่นำระบบนี้มาใช้ก็คือ บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง F5 นั่น

admin mfec

admin mfec

Tags

PDPA 7 สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งใจความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นไปที่องค์กร หน่วยงาน หรือนิติบุคคลให้มี “มาตรฐาน” ในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสมและเพียงพอ เมื่อมีความจำเป็นต้องขอใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบไปถึงการรักษาความลับ (Confidentiality) ความถูกต้องสมบูรณ์ (Integrity) และความพร้อมใช้งาน (Availability) ของข้อมูลส่วนบุคคล ที่ก่อให้เกิดแนวโน้มให้เกิดผลกระทบเชิงลบหรือความเสียหายในระดับบุคคลหรือองค์กร⠀⠀บุคคลทั่วไปในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) ควรจะตระหนักและเข้าใจสิทธิของตนเอง โดยสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีด้วยกันทั้งหมด 7 ประการ 1. สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ (Right to be informed)⠀⠀การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งรายละเอียดในการเก็บข้อมูล ตลอดจนการนำไปใช้ หรือเผยแพร่ให้เจ้าของข้อมูลทราบก่อนหรือขณะเก็บรวบรวมข้อมูล 2. สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of access)⠀⠀เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเองจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล 3. สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (Right to data portability)⠀⠀ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลต้องการนำข้อมูลที่เคยให้ไว้กับผู้ควบคุมข้อมูลรายหนึ่ง ไปใช้กับผู้ควบคุมข้อมูลอีกราย เจ้าของข้อมูลสามารถขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดทำข้อมูล ให้ส่งหรือโอนข้อมูลดังกล่าวให้ได้  4. สิทธิคัดค้านการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Right to object)⠀⠀เจ้าของข้อมูลสามารถคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อไหร่ก็ได้ รวมถึงสามารถทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ 5. สิทธิขอให้ลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถระบุตัวตนได้ (Right to erasure; also known as right to be for-gotten)⠀⠀หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล นำข้อมูลส่วนบุคคลไปเผยแพร่ในที่สาธารณะ หรือสามารถเข้าถึงได้ง่าย เจ้าของข้อมูลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทำการลบ ทำลายข้อมูล หรือทำให้ข้อมูลนั้นไม่สามารถระบุตัวตนได้ 6. สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล (Right to restrict processing)⠀⠀เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนใจไม่ต้องการให้ข้อมูลแล้ว หรือเปลี่ยนใจระงับการทำลายข้อมูลเมื่อครบกำหนดที่ต้องทำลาย 7. สิทธิการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (Right of rectification)⠀⠀เจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองให้มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ โดยการแก้ไขนั้นจะต้องเป็นไปด้วยความสุจริต และไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย⠀⠀หมายเหตุ : ทั้งนี้ ควรเก็บบันทึกหลักฐานไว้ หากพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลได้ถูกนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ที่ตกลงกัน ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ

admin mfec

admin mfec