Skip links
View
Drag

admin mfec

M Ground

แม้ในสภาวะวิกฤต MFEC ไม่เคยหยุดพัฒนา พร้อมเป็นเพื่อนคู่คิด และให้บริการอย่างเต็มประสิทธิภาพ ล่าสุด! เปิดแคมเปญใหม่ภายใต้ชื่อ “M Ground” ที่ถูกจัดขึ้นเฉพาะภายในองค์กร เพื่อเป็นพื้นที่ในการรวบรวมกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้พนักงานได้นำเสนอไอเดียสุดสร้างสรรค์ จากการคิดวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ แบบคนไอที ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ สู่การส่งมอบ Solution ที่เกินกว่าความคาดหวังของลูกค้า⠀⠀เพราะพนักงานทุกคนของ MFEC ต่างก็มี DNA เดียวกันด้วยคำว่า “Always Exceed Expectations” ซึ่งถูกถ่ายทอดโดยตรงจาก คุณเล้ง ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร (CEO, MFEC) ทำให้ทุกคนมองเห็นเป้าหมาย และพร้อมสร้างคุณค่าให้กับทุกการทำงานในรูปแบบเดียวกันเสมอมา “M Ground” จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นอีกหนึ่งเวทีที่พร้อมสนับสนุนให้พนักงานทุกคนมีสิทธิ์ในการแสดงศักยภาพของตนเองออกมาได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งกิจกรรมแรกของ “M Ground” คืออะไร? และจะสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีได้มากขนาดไหน? โปรดติดตามได้เร็วๆ นี้

admin mfec

admin mfec

Tags

Chia Cryptocurrency ตัวใหม่จาก Chia Network

Cryptocurrency เทรนด์การลงทุนที่มาแรงไม่มีตก ก็ยังคงเป็นที่สนใจของนักลงทุนทั้งมือเก่า และมือใหม่ อย่างคนใกล้ตัวที่อยู่ด้วยกันมาตั้งนานไม่เห็นเคยสนใจลงทุน พอหันกลับไปอีกทีก็เล่น Crypto กันหมดซะงั้น⠀⠀ล่าสุดก็ยังมี Cryptocurrency ตัวใหม่ออกมา ชื่อว่า Chia ที่สร้างโดย Platform อย่าง Chia Network โดย 1 Chia มีค่าประมาณ 30,000 บาท และที่ต่างไปจากการขุด Bitcoin ก็คือการใช้ Hard Disk แทนการ์ดจอแบบปกติ ซึ่งเจ้าตัวยังแอบเคลมอีกว่าตัวเองเป็น Climate-friendly ที่จะไม่ทำให้เกิด Carbon Footprint เท่ากับการขุด Bitcoin หรือ Ethereum ทำให้เดือนนี้ราคา Hard Disk เริ่มเพิ่มสูงขึ้น และ Hard Disk อย่าง SSD ก็เริ่มขาดตลาดแล้ว คล้ายกับการที่คนแห่ซื้อการ์ดจอเอามาขุด Bitcoin แบบแต่ก่อน ว่าแล้วก็ขอไปซื้อมาตุนไว้บ้างดีกว่าจะได้เอามาขุดแข่งกับเขาบ้าง

admin mfec

admin mfec

Tags

PDPA ที่คนทำธุรกิจต้องรู้

ปัจจุบันการทำธุรกิจในประเทศไทยได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบดิจิทัลเป็นจำนวนมาก จึงได้มีการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขึ้นมา หรือที่เรียกว่า PDPA เพื่อปกป้องสิทธิส่วนบุคคลให้ข้อมูลมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานมากขึ้น และเพื่อการประมวลผลข้อมูลเหล่านั้นอย่างมีความรับผิดชอบ โดยมีผลบังคับใช้ทั้งกับระดับบุคคล และนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย รวมไปถึงบริษัทที่มีที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศแต่ขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าคนไทยอีกด้วย⠀⠀ เรามักจะพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลในบางครั้งถูกเก็บไปใช้งานได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะผ่านสื่อดิจิทัล ดังนั้น ผู้ที่ทำธุรกิจผ่านระบบดิจิทัล หรือใช้ระบบดิจิทัลในการปฏิบัติการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล จึงมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมาย PDPA นี้เป็นอย่างมาก⠀⠀ สิ่งที่คนทำธุรกิจต้องเตรียมให้พร้อม เพื่อตอบรับกับข้อกำหนดของ PDPA 1. เตรียมเอกสารที่ใช้บันทึกรายละเอียดการจัดเก็บข้อมูล โดยระบุวัตถุประสงค์ และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อบันทึกกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Record of Processing หรือ ROP) 2. เตรียมแบบฟอร์มเพื่อให้เจ้าของข้อมูลขอใช้สิทธิบนเว็บไซต์ เพื่อให้เจ้าของข้อมูล สามารถขอสิทธิการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวได้ ในช่องทางใดๆ ก็ตาม และต้องมีการดำเนินการตามคำร้องภายใน 30 วัน 3. แจ้งเจ้าของข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ Privacy Policy เพื่อให้เจ้าของข้อมูลรับทราบว่าข้อมูลที่จะนำไปใช้มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร หรือมีเงื่อนไขอะไรบ้าง รวมไปถึงระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูล 4. การขอคำยินยอมในการใช้ Cookie ธุรกิจ หรือแต่ละเว็บไซต์จะต้องมีการแจ้งเตือนผ่านแบนเนอร์ (Cookie Consent Banner) เพื่อขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานออนไลน์ รวมถึงประเภทข้อมูลที่ถูกจับเก็บ 5. การแจ้งเตือนเจ้าของข้อมูลหากข้อมูลเกิดการรั่วไหล ธุรกิจหรือองค์กรจะต้องแจ้งต่อเจ้าของข้อมูล และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หากเกิดกรณีที่ข้อมูลของลูกค้าเกิดการถ่ายโอน รั่วไหล หรือใช้ในทางที่ผิด จะต้องมีการประเมินส่วนที่ขาดหาย และวิธีการเยียวยาเจ้าของข้อมูล⠀ ⠀เมื่อถูกเรียกว่าเป็นกฎหมายแล้ว หากคนทำธุรกิจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎ จากผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมข้อมูลหรือจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล จะถูกพิจารณาความรับผิดชอบทั้งทางแพ่ง และบทลงโทษทางอาญาและทางการปกครอง โดยกำหนดให้มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ⠀ ⠀ดังนั้นคนทำธุรกิจ หรือในองค์กรต่างๆ จึงควรเริ่มศึกษา เรียนรู้ และให้ความสำคัญกับกฎหมาย PDPA อย่างชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่เข้ามาซื้อสินค้าและใช้บริการ และเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย

admin mfec

admin mfec

User Manual of Me

จากคำแนะนำในหนังสือ ‘Brave New Work’ ของ Aaron Dignan สู่การนำ User Manual of Me มาปรับใช้กับการทำงานของแต่ละทีมในบริษัท MFEC ⠀The Hidden Move วันนี้มีแขกรับเชิญเป็นทีม Digital Information Services (DIS) ที่จะมาเผยท่าลับของตัวเองกับแบบฟอร์มที่มีชื่อว่า User Manual of Me ซึ่งถือเป็นคู่มือส่วนตัวของพนักงาน MFEC แต่ละคนที่เขียนถึงตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ก่อนจะนำไปให้คนในทีมคนอื่นๆอ่าน เพื่อที่การทำงานเป็นทีมจะได้สามารถเป็นไปได้อย่างเข้าอกเข้าใจกันมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อมีพนักงานใหม่เข้ามาในทีม ก้าวแรกที่รู้จักกันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เมื่อมี User Manual of Me มาให้อ่านก่อน คนอื่นๆในทีมก็สามารถเข้าใจคร่าวๆได้ ว่าจะเข้าถึงพนักงานคนนี้ได้อย่างไร การมอบหมายงานแบบไหนที่เหมาะกับเขา ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการปรับตัวทั้งของคนในทีมและคนที่มาใหม่ได้อย่างมาก หรือใครที่อยากเอา Template สวยๆของ User Manual of Me จาก MFEC ไปใช้ ก็สามารถดาวน์โหลดตามลิงก์ท้ายโพสต์ด้านล่าง ดาวน์โหลด Template ที่นี่: https://bit.ly/3uqDtPR

admin mfec

admin mfec

Tags

ประกาศฉบับที่ 5/2564

เรื่อง มาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ณ วันที่ 29 เมษายน 2564

admin mfec

admin mfec

Tags

PDPA มีประโยชน์กับใครบ้าง

เหตุผลในการมาของ PDPA เกิดจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดช่องทางการสื่อสารต่างๆ ที่หลากหลายขึ้น นำมาซึ่งการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำได้ง่ายขึ้น และหลายครั้งก็สร้างความเดือดร้อนและความเสียหายให้กับเจ้าของข้อมูล จึงต้องมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA นี้ขึ้นมาเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ขึ้นมา โดยกฎหมายนี้จะส่งผลประโยชน์ให้ตัวบุคคลและภาคส่วนต่างๆ ดังนี้⠀⠀ประชาชนทั่วไป  ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลจะถูกจัดเก็บได้อย่างปลอดภัย ลดความเสียหายจากการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในการทราบวัตถุประสงค์การจัดเก็บ ใช้ หรือเผยแพร่ข้อมูล เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในการอนุญาต หรือไม่อนุญาต และถอนความยินยอมให้จัดเก็บข้อมูลได้ เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในการขอให้ลบ หรือระงับการใช้ข้อมูลได้ เจ้าของข้อมูลสามารถร้องเรียน ขอค่าสินไหมทดแทนได้ หากข้อมูลถูกใช้งานผิดจากวัตถุประสงค์ที่แจ้ง⠀⠀ภาคธุรกิจ  ธุรกิจสามารถเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าในมาตรฐานของการจัดเก็บข้อมูล ธุรกิจสามารถสร้างโอกาสในการทำธุรกิจที่มีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ธุรกิจสามารถเพิ่มกระบวนการทำงาน กลไกที่มีประสิทธิภาพ ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรที่เหมาะสม ส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรทางด้านธรรมาภิบาล การดำเนินการที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ สร้างความรับผิดชอบต่อสังคม⠀⠀ภาครัฐ  มีระบบที่มีความทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ ในด้านกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีมาตรการกำกับดูแล รวมถึงเครื่องมือกำกับการดำเนินงานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาล การดำเนินงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ สร้างสังคมที่เข้มแข็ง เนื่องจากสามารถตรวจสอบการดำเนินงานภาครัฐ และภาคธุรกิจเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความถูกต้องเหมาะสม ส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศในด้านประสิทธิภาพการคุ้มครองข้อมูล⠀⠀จะเห็นได้ว่า PDPA เป็นกฎหมายที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับประโยชน์ของการดูแล และคุ้มครองความปลอดภัยในข้อมูลเป็นอย่างมาก และถึงแม้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) ได้มีการประกาศเลื่อนกำหนดระยะเวลาบังคับใช้ของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ หรือ PDPA ไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ทุกคนในฐานะพลเมืองก็ควรศึกษากฎหมายให้มีความรู้และความเข้าใจ เพื่อผลประโยชน์ และการรักษาสิทธิของตนเองตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น

admin mfec

admin mfec

Tags

Explainable AI ใครว่า AI อธิบายไม่ได้

เมื่อพูดถึง Artificial Intelligence (AI) หลายคนคงนึกถึงหุ่นยนต์ที่รับคำสั่งจากมนุษย์ เรียนรู้ และพัฒนาได้ด้วยตัวเองผ่านการประมวลผลข้อมูลทุกๆวัน โดยที่เราไม่จำเป็นจะต้องไปสอนทุกขั้นตอนหรือใส่ข้อมูลใหม่ๆตลอดเวลาก็ได้ ยิ่งไปกว่านั้น AI ยังสามารถคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตหรือให้เหตุผลต่างๆได้ใกล้เคียงกับมนุษย์ แต่ตอนไหนล่ะที่เราสามารถเชื่อใจ AI ได้⠀⠀เพื่อที่จะอธิบายสถานะของ AI ว่ายังสามารถทำงานได้เป็นปรกติหรือไม่ Explainable AI (XAI) จึงถูกพัฒนาขึ้นมาอธิบายการตัดสินใจต่างๆของ AI รวมถึงแสดงหลักฐาน ที่มา ของการตัดสินใจนั้นๆ ส่งผลให้เราสามารถวิเคราะห์เบื้องต้นก่อนได้ว่าสมควรจะเชื่อการตัดสินใจดังกล่าวหรือไม่⠀⠀และเมื่อไม่นานมานี้นักวิจัยจาก University of Toronto ร่วมมือกับ LG AI Research ได้สร้าง XAI ขึ้นมาเพื่อช่วยหาและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบนจอแสดงผล โดยเทคโนโลยีนี้ยังมีกลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรในวงการ IT เอง หรือแม้กระทั่งผู้ใช้ทั่วๆไป

admin mfec

admin mfec

Work From Home ยังไงให้รอด

ใกล้เทศกาลทีไร ต้องมีเรื่องมาให้อดเที่ยวทุกที แถมยังต้องนั่งทำงานที่บ้านแบบเลี่ยงไม่ได้อีกต่างหาก⠀⠀หลังจากได้เห็นประกาศจากหลายๆบริษัท รวมทั้ง MFEC ว่า “ให้พนักงาน Work From Home แบบ 100%” หลายคนคงอดถอนหายใจดังๆกันไม่ได้ ก็ทำงานที่บ้านมันทั้งทำให้เราเฉื่อยชา ไม่มีพลัง แถมเผลอๆงานยังเสร็จช้ากว่าปกติ จะตามใครก็ไม่ได้ ประสิทธิภาพการทำงานลดลงขนาดนี้ ใครล่ะจะชอบ?⠀⠀ได้ยินปัญหาแบบนี้แล้ว วันนี้ The Hidden Move by MFEC เลยจะมาเผยเคล็ดลับการ WFH ยังไงให้มีประสิทธิภาพแบบคน MFEC กัน ตามไปดูรูปได้เลย! การประชุมแบบเปิดกล้องทำให้ทั้งเราและคนอื่นๆในทีมตอบเร็วขึ้น และยังได้เห็นสีหน้าท่าทางของอีกฝ่ายทำให้สามารถหลีกเลี่ยงการแปลสารที่ผิดพลาดได้ หลายๆครั้งการทำงานที่บ้านอาจทำให้การสื่อสารช้ากว่าปกติ ส่งข้อความไปหาใครก็ไม่มีคนตอบ โทรไปก็ไม่รับ เพราะฉะนั้นการตั้งกฎการในทำงานขึ้นมาจึงช่วยตรงส่วนนี้ได้มาก ตัวอย่างกฏที่ทีม Digital Platform and Management (DPM) จาก MFEC ตั้งขึ้นมาก็คือการเก็บเงินเมื่อพนักงานไม่ยอมอ่านแชทที่มีคนแท็กชื่อตัวเองภายในเวลาที่กำหนด หรือตอนที่ไม่ยอมรับโทรศัพท์ในเวลางาน พอได้ทำงานที่บ้าน ทำให้บางครั้งเวลาทำงานกับเวลาพักเกิดการซ้อนทับกัน หรือทำให้บางคนทำงานยาวหลายชั่วโมงโดยไม่พักเลยและสุดท้ายก็ burnout แบบไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้น การตั้งนาฬิกาปลุกเพื่อให้รู้สึกว่าต้องพักแล้ว เป็นตัวช่วยที่ดีที่จะทำให้สมองและร่างกายไม่เสียสมดุล ถึงแม้จะได้นั่งทำงานที่บ้าน แต่นาฬิกาเวลาทำงานของร่างกายเรายังคงปกติ เพราะฉะนั้นการที่เอาเวลาทำงานไปพัก เอาเวลาพักมาทำงาน อาจจะไม่ได้ทำให้รู้สึกสบายมากขึ้น แต่จะทำให้กดดัน และยังส่งผลเสียเมื่อเวลาคนอื่นมาตามงาน แต่เราไม่พร้อมจะสื่อสารอีกด้วย การทำงานที่บ้านบังคับให้เราต้องสื่อสารกันมากขึ้น ทั้งอัปเดตงานค้าง และแพลนการทำงานของเราให้คนในทีมรู้ จากที่ปกติไม่ต้องมานั่งบอกว่า ในโปรเจ็กนี้ทำขั้นที่ 1 2 3 เสร็จแล้ว ก็ต้องมาประกาศให้คนอื่นรู้ และพูดมันบ่อยกว่าปกติเพื่อที่่จะเป็นการเตือนตัวเองพร้อมกับบอกให้คนในทีมรู้ว่าเราทำงานไปถึงไหน สามารถรับงานใหม่ได้หรือยังอีกด้วย

admin mfec

admin mfec

Tags

F5 กับการนำ Edge Computing มาใช้งานจริง

ความจริงแล้วการใช้ระบบแบบ Centralized Computing หรือ Centralized Management ทำให้ระบบตอบสนองข้อมูลต้องทำงานหนัก และใช้พละกำลังไปกับการประมวลผลข้อมูลที่ไม่จำเป็น รวมถึงยังทำให้ต้องเสียงบประมาณในการจัดการกับจุดเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบส่วนกลางและระบบ Cloud ที่เกินความเป็นจริงอีกด้วย⠀⠀เพื่อแก้ปัญหานี้ Edge Computing จึงได้ก้าวเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองต่ออุปกรณ์ต่างๆให้ทันท่วงทียิ่งขึ้น⠀⠀โดย Edge Computing คือการวางตัวประมวลผลข้อมูลเบื้องต้นไว้ใกล้กับจุดของอุปกรณ์มากที่สุด สำหรับจัดการกับข้อมูลก่อนที่จะส่งไปยังส่วนอื่นๆที่จำเป็นโดยไม่ต้องผ่านจุดศูนย์กลางเพื่อลดระยะเวลาการตอบสนองทำให้การประมวลผลข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างบริษัทที่นำระบบนี้มาใช้ก็คือ บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง F5 นั่น

admin mfec

admin mfec

Tags

PDPA 7 สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งใจความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นไปที่องค์กร หน่วยงาน หรือนิติบุคคลให้มี “มาตรฐาน” ในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสมและเพียงพอ เมื่อมีความจำเป็นต้องขอใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบไปถึงการรักษาความลับ (Confidentiality) ความถูกต้องสมบูรณ์ (Integrity) และความพร้อมใช้งาน (Availability) ของข้อมูลส่วนบุคคล ที่ก่อให้เกิดแนวโน้มให้เกิดผลกระทบเชิงลบหรือความเสียหายในระดับบุคคลหรือองค์กร⠀⠀บุคคลทั่วไปในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) ควรจะตระหนักและเข้าใจสิทธิของตนเอง โดยสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีด้วยกันทั้งหมด 7 ประการ 1. สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ (Right to be informed)⠀⠀การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งรายละเอียดในการเก็บข้อมูล ตลอดจนการนำไปใช้ หรือเผยแพร่ให้เจ้าของข้อมูลทราบก่อนหรือขณะเก็บรวบรวมข้อมูล 2. สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of access)⠀⠀เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเองจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล 3. สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (Right to data portability)⠀⠀ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลต้องการนำข้อมูลที่เคยให้ไว้กับผู้ควบคุมข้อมูลรายหนึ่ง ไปใช้กับผู้ควบคุมข้อมูลอีกราย เจ้าของข้อมูลสามารถขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดทำข้อมูล ให้ส่งหรือโอนข้อมูลดังกล่าวให้ได้  4. สิทธิคัดค้านการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Right to object)⠀⠀เจ้าของข้อมูลสามารถคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อไหร่ก็ได้ รวมถึงสามารถทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ 5. สิทธิขอให้ลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถระบุตัวตนได้ (Right to erasure; also known as right to be for-gotten)⠀⠀หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล นำข้อมูลส่วนบุคคลไปเผยแพร่ในที่สาธารณะ หรือสามารถเข้าถึงได้ง่าย เจ้าของข้อมูลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทำการลบ ทำลายข้อมูล หรือทำให้ข้อมูลนั้นไม่สามารถระบุตัวตนได้ 6. สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล (Right to restrict processing)⠀⠀เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนใจไม่ต้องการให้ข้อมูลแล้ว หรือเปลี่ยนใจระงับการทำลายข้อมูลเมื่อครบกำหนดที่ต้องทำลาย 7. สิทธิการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (Right of rectification)⠀⠀เจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองให้มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ โดยการแก้ไขนั้นจะต้องเป็นไปด้วยความสุจริต และไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย⠀⠀หมายเหตุ : ทั้งนี้ ควรเก็บบันทึกหลักฐานไว้ หากพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลได้ถูกนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ที่ตกลงกัน ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ

admin mfec

admin mfec