Skip links
View
Drag

admin mfec

Tags

Cisco Connect ASEAN: The Resilience to Recovery

กว่า 2 ปีที่ผ่านมาแล้วที่ทุกคนต้องใช้ชีวิตอยู่กับคำว่า Pandemic หลายๆ องค์กรมีการปรับตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งนี้ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา แต่สิ่งต่อไปที่ควรเตรียมตัวเพิ่มเติมไว้คือ การกลับมาใช้ชีวิตในแบบที่เปลี่ยนไป แบบ Next Normal ที่จะต้องอยู่กับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วกว่าปัจจุบันเพื่อให้องค์กรก้าวไปสู่ Digital ได้อย่างเร็วที่สุด และเช่นเคยทุกปี Cisco จะจัดอีเวนท์ Cisco Connect ที่ให้ทุกคนได้อัปเดตเรื่องราวของเทคโนโลยีกันอยู่เสมอ โดยเนื้อหาของ #CiscoConnectASEAN รอบนี้จะกล่าวถึง 5 Pillars ที่แตกต่างกัน ในการประชุมย่อยต่างๆ เพื่อความสอดคล้องกับรูปแบบขององค์กรที่กำลัง Transform เข้าสู่การทำงานแบบ Digital ห้วข้อแรกเกี่ยวข้องกับเรื่อง แอปพลิเคชันในวิสัยทัศน์ใหม่ ห้วข้อนี้ได้รับเกียรติ จาก CTO/Co-Founder ของ AlgoSec มาเล่าให้ฟังถึงความสำคัญของการเพิ่มความปลอดภัยให้กับ Micro-Segmentation ที่จะต้อง ตรวจสอบหรือกรอง east-west traffic จากแต่เดิมที่มุ่งเน้นไปที่ north-south traffic เป็นส่วนใหญ่ รวมถึงตัวอย่าง Use Case ของ Solution ของ Cisco Hybrid Cloud ต่างๆ จากกลุ่มลูกค้าที่ได้ Transform องค์กร เข้าสู่การทำงานแบบ Digital ในรูปแบบต่างๆ หัวข้อที่สอง เรื่อง รักษาความปลอดภัยให้กับองค์กร ความปลอดภัยในองค์กรถือเป็นอีกเรื่องที่สำคัญมากเช่นกัน เพราะบริษัท MFEC เองก็ได้มีการเปลี่ยนแปลง Environment และ Ecosystem ขององค์กรให้รองรับการใช้งานสู่ Zero Trust มากขึ้น โดย Solution จาก Cisco Zero Trust มุ่งเน้นเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับ Application และ Environment ต่างๆ โดยเน้นการ ป้องกันการโจมตีจาก User และ อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงการตรวจสอบ Location ของเข้าถึงอย่างเหมาะสมจาก ผลิตภัณท์ Duo ที่มากกว่าการทำ MFA นอกจากนี้ยังผสมผสาน ข้อมูลจาก Cisco Security Product ต่างๆ ผ่าน Cisco SecureX เพื่อการตอบสนองต่อการภัยคุกคามได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น ห้วข้อที่สาม เรื่อง เปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับหัวข้อนี้คงหนีไม่พ้น highlight ในเรื่อง Wi-Fi 6 & 5G ที่จะช่วยเปิดโอกาสสำหรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้องค์กรก้าวไปสู่ Digital อย่างรวดเร็ว โดยสนับสนุนกรณีผู้ใช้ที่หลากหลายและสร้างรูปแบบทางธุรกิจใหม่ๆ ระบบเครือข่าย Wi-Fi 6 ไม่เพียงแค่แก้ปัญหาความท้าทายในด้านความคล่องตัวและการเชื่อมต่อเท่านั้น แต่ยังช่วยขับเคลื่อน Solution ใหม่ๆ ด้วย Location Service และ IoT อีกด้วย หัวข้อที่สี่ เรื่อง การทำงานแบบไฮบริดอันทรงพลัง สำหรับ Platform ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หลังจากการเปิดตัว WebEx version ใหม่อย่างเป็นทางการ ในงาน WebEx ไปแล้ว Cisco ยังเน้นการพัฒนาการใช้งานที่มากกว่าแค่ web conference หรือ

admin mfec

admin mfec

Tags

MFEC x SUSE Kubernetes E-Book Collaboration 

หนังสือ E-Book ‘SUSE Special Edition Kubernetes Management for dummies’ จะช่วยให้คุณเข้าใจกลยุทธ์ของการใช้ Kubernetes มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้กับผู้นำทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ ผ่าน Case Study และสุดท้าย ช่วยให้คุณเลือก Platform ที่เหมาะสมกับองค์กรของคุณเอง แบบไม่เสียเงิน E-Book เล่มนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เคยได้ยินคำว่า ‘Kubernetes’ และ ‘Containers’ ผ่านมาบ้างแล้ว แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ทั้งหมด ตามไปดาวน์โหลดกันได้เลยที่ https://more.suse.com/FY21Q3_PM_APJ-ALL_SR_PTN-CH_CLDNT…. #MFECxSUSE #MFEC #SUSE #Kubernetes #fordummies

admin mfec

admin mfec

Tags

Web Assembly อีกหนึ่งมาตรฐานของการ Develop Application

ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา Web Assembly เป็นเทรนด์เทคโนโลยีอีกเรื่องหนึ่งที่น่าจับตามองเป็นอย่างมากในการหยิบเข้ามาช่วยในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน ก่อนอื่นต้องบอกว่า Web Assembly เป็นนวัตกรรมที่มีอยู่กับเรามานานมากแล้ว ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา FireFox พยายามจะเสนอมาตรฐานตัวนี้ที่ชื่อว่า Web Assembly (WASM) ให้กับเราในการ Develop Application มาโดยตลอด Web Assembly เรียกโดยย่อว่า WASM เป็นภาษาการเขียนโปรแกรมส่วนหน้าที่ใช้เขียนเว็บแอปพลิเคชัน หรือ Compiler ที่เราเอาไว้ใช้รันโค้ด low-level ที่เขียนด้วยภาษา C/C++, JAVA หรือภาษาอื่นๆ ช่วยให้เรารันรหัสไบนารีจากเบราว์เซอร์ได้ แต่ที่พิเศษไปกว่านั้นคือ WASM เข้ามาช่วยให้นักพัฒนาสามารถพอร์ตโค้ดภาษาต่างๆ ไปรันในเบราว์เซอร์หรือที่ Sandbox ได้ค่อนข้างจะอิสระ ซึ่งนอกจากผู้พัฒนาจะพบว่าเทคโนโลยีตัวนี้สามารถใช้โค้ดภาษา C หรือภาษา Rust รันในเบราว์เซอร์ได้แล้ว ยังพบว่าเทคโนโลยีตัวนี้ยังสามารถนำไปรันบน Server ได้ โดยสามารถวางใจกับประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยยังเทียบได้กับตัวเบราว์เซอร์หรือ API ตัวใหม่ๆ ผู้ให้บริการ Cloud จึงวางใจในการนำโค้ดมารันบน Server ของตนเอง ทั้งยังสามารถอัดแอปพลิเคชันนับพันลงภายในเครื่องเดียวกันได้อีกด้วย ความสะดวก ปลอดภัยและรวดเร็วของ Web Assembly ทำให้หลายๆองค์กรหันมาให้ความสนใจและเริ่มฟอร์มมาตรฐาน Web Assembly มากขึ้นเป็นอย่างมาก #MFEC#CoE#WebAssembly

admin mfec

admin mfec

MORE with BU

วันนี้คุณเปลี่ยนแปลงแล้วหรือยัง?  ยังจำกันได้ไหมเมื่อต้นปี 2021 >> https://bit.ly/3CS6KqG MFEC ให้สัญญาจะยืนหยัดต่อความท้าทาย ไม่ว่าจะอยู่ท่ามกลางสภาวะวิกฤตใด ด้วยศักยภาพที่เพิ่มขึ้นของทุกคนในองค์กร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยี พร้อมที่จะขับเคลื่อนชีวิต Digital ของทุกคน  เราจึงเริ่มปี 2021 มาพร้อมกับคอนเซ็ปต์ “WE MOVE FOR MORE IMPACT” ที่เป็นแนวทางในการดำเนินงานของพนักงานในองค์กรให้ตอบโจทย์กับสถานการณ์ในปัจจุบัน ไปติดตามบทสัมภาษณ์ของผู้บริหาร และหัวหน้าของแต่ละแผนกกับแนวคิดในการขับเคลื่อนองค์กรครั้งสำคัญพร้อมๆ กัน

admin mfec

admin mfec

Tags

Service Mesh อนาคตของการแก้ไขปัญหา Application 
ที่อยู่ในรูปแบบของ Container

มาในยุคปัจจุบัน ยุคของ Digital Transformation เมื่อตัว Application ย้ายเข้าไปอยู่ในโลกของ Container หรือว่าที่เราเรียกว่า Docker ทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นคือ Traditional network กับ security ไม่สามารถเข้ามาถึงตัว Application ได้ เมื่อเล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงต้องเกิดการคิดค้นแนวทางการแก้ปัญหา จนเกิดเทคโนโลยีที่เราเรียกกันว่า Service mesh เป็น Concept หรือ Software ตัวหนึ่ง ที่เข้ามาช่วยจัดการในเรื่องของการสื่อสารระดับเครือข่ายระหว่าง API Service ในแอปพลิเคชัน อำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่าง services กับ microservices ย้ายเอา Lode Balancer ย้ายพวกเรื่อง Security มาอยู่ในรูปแบบของคอนเทนเนอร์ ซึ่ง Service mesh จะมีการ Implement โดยการใช้ Proxy Instance (Sidecar) มาเป็นตัวคั่นในการจัดการกับ Traffic control ที่วิ่งเข้าและออกจาก Instance นั้นๆ ตอนนี้ Service mesh จัดว่าเป็นเทคโนโลยีที่มาแรงอย่างมากในองค์กรใหญ่ระดับ Enterprise เนื่องจากตอนนี้คนทั้งโลกกำลังมองว่าเทคโนโลยีตัวนี้จะเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาของตัว Application ที่ถูกย้ายเข้าไปอยู่ในรูปแบบของ Container นอกจากนี้ทาง Google Engineer ยังได้ออกมาพยากรณ์แนวโน้มในการพัฒนาของ Service mesh ที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจถึง 3 ประเด็นด้วยกัน ประเด็นแรก Google Engineer ทำนายว่าแม้ Service mesh ในปี 2021 จะยังคงอยู่ในรูปแบบของคอนเทนเนอร์เท่านั้น แต่หลังจากนั้น Service mesh จะถูกแพร่กระจายและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นบนตัว Cloud หรือ แอปพลิเคชันอื่นๆ Application ที่อยู่นอกคอนเทนเนอร์ หรือ Service mesh จะเข้าไปครอบคลุมทำให้ตัว App ที่อยู่ข้างในตัวคอนเทนเนอร์ กับตัว App ที่เป็น Traditional Application สามารถทำงานร่วมกันได้ ประเด็นที่สอง ใครที่จับตัวเทคโนโลยี API Gateway, Lode Balancer หรือ มีความคิดจะเข้าไป Invest ใน Service mesh ในอนาคตมีแนวโน้มว่าทั้งสามตัวนี้จะ Convert ตัวเองจนมีความใกล้เคียงกันมากขึ้น กระทั่ง Function หรือ Feature เกิดการทับซ้อนกันจนแทบจะแยกกันไม่ออก ประเด็นสุดท้าย ได้ถูกทำนายไว้ว่าช่องว่างระหว่างเครือข่าย K8 และ Service mesh จะลดลงเนื่องจากมีการวิ่งเข้าใกล้กันมากขึ้น สุดท้ายนี้ Service mesh เป็นเทคโนโลยีอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจในการนำมาปรับใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานในส่วนของ Develop และ Infrastructure ภายในองค์กร ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องนำกลับมาทดลองและค้นคว้ากันต่อไป #MFEC#CoE#ServiceMesh

admin mfec

admin mfec

Tags

ประกาศฉบับที่ 7/2564

เรื่อง มาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ณ วันที่ 16 กันยายน 2564

admin mfec

admin mfec

Tags

Docker Inc ไม่ฟรีอีกต่อไป (สำหรับลูกค้าระดับ Enterprise)

Docker Inc ได้ออกมาประกาศปรับข้อกำหนดหรือนโยบายในการใช้งาน Docker Desktop สำหรับลูกค้าระดับ Enterprise ที่มีจำนวนพนักงานในบริษัทมากกว่า 250 คน หรือมีรายได้ถึง 10 ล้านดอลลาร์ (330 ล้านบาท) ระบุว่า ลูกค้าระดับ Enterprise ที่ใช้บริการ Docker Desktop อยู่ จำเป็นต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกแบบชำระเงินภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2564 ผ่านเว็บไซต์ https://www.docker.com/pricing เพื่อให้สามารถเข้าใช้งานแอปพลิเคชันได้ต่อไป สำหรับลูกค้าที่มีพนักงานภายในบริษัทไม่เกิน 250 คน รายได้ขององค์กรต่ำกว่า 10 ดอลลาร์ หรือผู้ใช้งาน Docker แบบ Personal ยังคงสามารถเข้าใช้งาน Docker Desktop โดยที่ไม่ต้องจำเป็นต้องชำระเงินได้ตามปกติ แต่ลูกค้าที่เข้าข่ายข้อกำหนดที่ทาง Docker ระบุไว้ข้างต้น ต้องสมัครสมาชิกเพื่อใช้บริการ โดยจะมีแผนการกำหนดราคาอยู่ 3 ระดับด้วยกัน คือ Pro, Team แล Business สนนราคาเริ่มต้นที่ 5 ดอลลาร์ สูงสุดถึง 21 ดอลลาร์ต่อเดือน #MFEC #CoE #docker #enterprise

admin mfec

admin mfec

Tags

Zero-Day Zero-Click ช่องโหว่ iMessage ไม่ต้องคลิกก็โดนแล้ว

นับเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังและจับตามองเป็นอย่างมากเนื่องจากเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา องค์กรสิทธิมนุษยชน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International) ออกมาเปิดเผยว่าเกิดการโจรกรรมข้อมูลข่าวสารผ่านโทรศัพท์มือถือ iPhone ของนักข่าวและนักกฎหมายทางด้านสิทธิมนุษยชน เนื่องจากมีการตรวจไปพบสปายแวร์ Pegasus และหลักฐานการแฮ็กข้อมูลใน iPhone 12 ซึ่งเป็น iPhone รุ่นใหม่ล่าสุดที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS14.6 ซึ่ง Pegasus เป็นสปายแวร์ที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท NSO Group ของอิสราเอลและขายให้แก่รัฐบาลในหลายๆประเทศเพื่อใช้ในการสอดส่องและขโมยข้อมูลของผู้ก่อการร้ายผ่านโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS หรือ Android ทำให้สามารถเข้าถึงข้อความ อีเมล ไมโครโฟนและกล้องของโทรศัพท์ของบุคคลที่ต้องการได้ แต่สิ่งที่น่าฮือฮากว่านั้นคือการโจมตีแบบ “Zero-Click” ของ Pegasus เป็นการโจมตีรูปแบบใหม่ที่ใช้ประโยชน์ผ่านช่องโหว่ “Zero-day” ที่พบในซอฟแวร์ iMessage ของ Apple ทำให้สามารถเจาะระบบเข้าสู่ข้อมูลโทรศัพท์มือถือเพื่อติดตั้งสปายแวร์และดึงข้อมูลบนระบบปฏิบัติการ iOS ของ Apple ที่ถูกขนานนามกันมาอย่างช้านานว่าเป็นระบบที่มีความปลอดภัยและมีการป้องกันที่แน่นหนาได้แบบชิลๆ เพียงแค่ได้รับข้อความส่งตรงมาถึงเครื่องสปายแวร์ก็จะถูกติดตั้งโดยอัตโนมัติ แม้ว่าจะไม่ได้คลิกลิงค์แปลกปลอมที่ส่งผ่านทางข้อความหรืออีเมลล์เลยก็ตาม เรียกได้ว่าเพียงแค่มีแอปพลิเคชันหรือระบบปฏิบัติการที่มีความเสี่ยงในโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถโดนแฮ็กเข้าอย่างจังได้แล้ว อีกทั้งการโจมตีแบบ “Zero-Click” เป็นการโจมตีที่ถูกตรวจจับได้ยากเนื่องจากมีการเชื่อมโยงกับระบบปฎิบัติการโดยตรง ทำให้ทาง Apple ต้องรีบออกมาแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าวเพื่อเรียกความเชื่อมั่นของลูกค้าและกอบกู้ชื่อเสียงของบริษัทกลับคืนมา จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ตระหนักได้ว่าไม่มีระบบใดที่จะสามารถสมบูรณ์แบบได้แบบ 100% นอกจากนี้ยังมีการพบหลักฐานเพิ่มเติมว่าอุปกรณ์ระบบ Android ก็ตกเป็นเป้าหมายของ NSO Group ด้วยเช่นกัน แต่ไม่สามารถตรวจสอบอุปกรณ์เหล่านั้นได้ในลักษณะเดียวกันกับที่พบบน iPhone #MFEC#iMessage#pegasus#zeroclick

admin mfec

admin mfec

Tags

Microsoft เปิดตัว Windows 365 ในรูปแบบการเช่าใช้รายเดือน

ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาทาง Microsoft ประกาศเปิดให้ใช้บริการ Windows 365 แบบ Cloud PC ที่ช่วยในการสตรีมเดสก์ท็อป Windows ไปยังอุปกรณ์ใดก็ได้ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ Windows 365 ในรูปแบบของการเช่าใช้รายเดือนผ่านทางเว็บไซต์ https://www.microsoft.com/th-th/windows-365/all-pricing โดยสิทธิประโยชน์สำหรับลูกค้า Microsoft จะมีอยู่ 2 ระดับ สิทธิประโยชน์สำหรับลูกค้าระดับแรกคือ Windows 365 Business สเปกเริ่มต้นจะอยู่ที่ 1 vCPU, 2 GB RAM, Storage 64 GB ให้บริการในราคาต่ำสุด USD$24.00 ต่อเดือน ไปจนถึง 8 vCPU, 32 GB RAM, Storage 512 GB ทีมีราคาสูงสุดอยู่ที่ USD$162.00 ต่อเดือน ลูกค้าสามารถซื้อได้โดยตรงผ่านทางเว็บไซต์ Microsoft.com โดยแพคเกจนี้เหมาะสำหรับองค์กรที่มีผู้ใช้งานไม่เกิน 300 คน นอกจากนี้สิทธิประโยชน์สำหรับลูกค้าที่ใช้บริการ Windows 10 Pro อยู่แล้ว ยังมีสิทธิ์ได้รับส่วนลดบน Windows 365 Business สูงสุดถึง 16% อีกด้วย และสิทธิประโยชน์สำหรับลูกค้าระดับสองจะเป็น Windows 365 Enterprise ที่มีการใช้ Microsoft Endpoint Manager ในการจัดการระบบ cloud PC แบบครบวงจร โดยมีสเปกการใช้งานเริ่มต้นจะอยู่ที่ 1 vCPU, 2 GB RAM, Storage 64 GB ในราคาต่ำสุดอยู่ที่ USD$20.00 ต่อเดือน ไปจนถึง 8 vCPU, 32 GB RAM, Storage 512 GB ราคาสูงสุดอยู่ที่ USD$158.00 ต่อเดือน ซึ่งเหมาะสำหรับธุรกิจหรืององค์กรขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากกว่า 300 คนขึ้นไป #MFEC #COE #Microsoft

admin mfec

admin mfec