Skip links
View
Drag

admin mfec

Possefy Group x MFEC

Possefy Group CO., LTD., is an OPPO Authorized Exclusive Distributor operating in more than 140 countries around the world. Possefy Group in Thailand was founded in 2009. Possefy needed to build connectivity between their company’s system in Thailand and factories abroad, providing billing reports tailored for each factory across the countries. After migrating to AWS, Possefy was able to save time and heavy-lifting for the IT Teams, enjoyed better speed and performance, and was able to manage billing operations with ease. MFEC provided consultation services and support to the customer in their digital transformation journey by migrating to AWS cloud. As a result, the Possefy team can rely on the five pillars of AWS – Operational Excellence, Security, Reliability, Performance Efficiency, and Cost Optimization, most effectively. The company has scheme to develop connectivity between company’s system in Thailand and foreign factories which cause us to require scalable infrastructure system, and Possefy Group

admin mfec

admin mfec

MFEC พัฒนาระบบ LINE API

MFEC ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบ LINE API ที่เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่าง LINE Platform กับ Legacy System ของธนาคาร เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานจากลูกค้าของธนาคารจำนวนมาก ให้สามารถเข้ามาใช้บริการของธนาคารในการติดต่อและขอทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น ขอดูยอดเงินในบัญชีหรือบัตรเครดิตที่ผูกบริการไว้ได้ หรือการรับข้อมูลข่าวสาร หรือข้อมูลผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของทางธนาคารได้  โดยการพัฒนาระบบในครั้งนี้ MFEC ได้ใช้ LIFF (LINE Front-End Framework) พัฒนาในส่วนของหน้าบ้าน (Web View) ด้วยภาษา Vue.js และใช้ Spring Boot Framework พัฒนาในส่วนของหลังบ้าน (API Services) ด้วยภาษา Java โดยทำงานอยู่บน Container Platform และในส่วนของ Automate Tools ใช้ Jenkin ในการทำ Pipeline สำหรับกระบวนการทำ CI / CD (Continuous Integration / Continuous Delivery) ทำให้การพัฒนาระบบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย   คุณปัญญา พรขจรกิจกุล Business Unit Director ฝ่าย Digital Delivery จาก MFEC กล่าวว่า “ทันทีที่ลูกค้าติดต่อเข้ามา เราก็รีบส่งทีม Fast Adoption of Solution and Technology (FAST) ซึ่งเป็นทีมที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการพัฒนาระบบแอปพลิเคชันไปให้บริการทันที โดยตอนนั้นเองเป็นช่วงที่โควิด-19 กำลังแพร่ระบาด ทีมงานตอนนั้นจึงต้องทำงานแบบ Work from Home แต่ก็ไม่ได้ทำให้เกิดอุปสรรคแต่อย่างใดจนกระทั่งส่งมอบงานให้ลูกค้าได้สำเร็จและตรงเวลา”   คุณอนุชาติ อัศววิวัฒน์พงศ์   Business Unit Manager ฝ่าย Digital Delivery จาก MFEC กล่าวว่า “ในช่วงที่เราต้องพัฒนาระบบ LINE API ตอนนั้นเป็นช่วงที่อยู่ในระหว่างที่ทุกคนในทีมต้อง Work from Home ถือเป็นความท้าทายมาก ทีมงานจึงต้องมีการสื่อสารกันมากขึ้น โดยในแต่ละวันทางทีมจะมีการ Scrum งานทุกเช้าและเย็นเพื่อเป็นการอัปเดตกันสม่ำเสมอว่าใครกำลังทำอะไรอยู่บ้าง ความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว หรือใครติดปัญหาอะไรหรือเปล่า เพื่อให้รู้สถานะของแต่ละคน และพยายามสื่อสารกับลูกค้าให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในภายหลัง และในที่สุดเราก็สามารถส่งมอบงานให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ”   MFEC มุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพของพนักงานทุกคนเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้พนักงานสามารถรับมือและตอบสนองได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดสภาวะวิกฤต อีกทั้งยังมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการและช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้กับลูกค้า MFEC พร้อมอยู่เคียงข้างและให้บริการไม่ว่าจะอยู่ท่ามกลางวิกฤตใด  

admin mfec

admin mfec

“Automation Challenge” 
เวทีประลองไอเดียสู่การสร้างสรรค์ไอทีที่มีคุณค่า

พบกับกิจกรรม “Automation Challenge” กิจกรรมแรกภายใต้แคมเปญ “M Ground” เปิดเวทีให้พนักงาน MFEC ได้เข้ามาประลองไอเดียสู่การสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่มีคุณค่า และช่วยกันค้นหาวิธีการทำงานที่สะดวกสบายยิ่งขึ้นเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าทุกท่าน โดยเจ้าภาพแรกเป็นพนักงานของ MFEC ที่นั่งทำงาน On Site งานนี้พนักงาน MFEC ต่างก็ฟอร์มทีมเตรียมความพร้อมเพื่อลงแข่งขัน “Automation Challenge” กันอย่างคึกคัก และนอกจากการรวมทีมกันเองของพนักงาน MFEC แล้ว ยังมีเพื่อนๆ จากต่างบริษัทเข้ามาร่วมทีมลงแข่งขันด้วยเช่นกัน หลังจากที่พนักงานฟอร์มทีมกันเกิดขึ้น MFEC ก็ได้ผู้เข้าแข่งขันในกิจกรรม “Automation Challenge” ถึง 15 ทีมด้วยกัน โดยในรอบ Pitching Day นี้ผู้เข้าแข่งขันทุกทีมต่างก็ได้นำเสนอไอเดียสุดสร้างสรรค์กันอย่างไม่มีใครยอมใคร ด้วยใจที่อยากจะพัฒนา Solution ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า สร้างความหนักอกหนักใจให้กับเหล่าคณะกรรมการกันยกใหญ่ และในวันนั้นเองหลังจากที่ผู้เข้าแข่งขันได้รับฟังข้อเสนอแนะและคำแนะนำเพิ่มเติมจากเหล่าคณะกรรมการก็เกิดปรากฎการณ์การรวมทีมและร่วมมือกันเกิดขึ้น การแข่งขันในครั้งนี้ทำให้เรามองเห็นแล้วว่าผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดไม่ได้เข้ามาแข่งขันเพื่อคาดหวังชัยชนะสู่ตนเอง แต่เป็นการแข่งขันเพื่อค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าอย่างแท้จริง จากการรวมทีมกันเมื่อรอบ Pitching Day ทำให้ในรอบ Demo Day นี้เหลือผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 11 ทีมด้วยกัน แต่ละทีมได้นำคำแนะนำจากคณะกรรมการไปปรับใช้ในไอเดียของทีมตนเองกันอย่างเข้มข้น จนได้มาซึ่ง Solution ที่ดีที่สุดของแต่ละทีม ท้ายที่สุด MFEC ก็ได้ผู้ชนะในกิจกรรม “Automation Challenge” เป็นที่เรียบร้อย ด้วย DNA เดียวกันของพนักงานทุกคนจากคำว่า “Always Exceed Expectations” ทำให้ทุกคนต่างรับรู้ดีว่าความสำเร็จของการแข่งขันในครั้งนี้ไม่ใช่การได้รับชัยชนะหรือรางวัลสูงสุด แต่เป็นการที่ทุกคนได้มองเห็นเป้าหมาย และสามารถสร้างคุณค่าให้กับทุกงานที่ได้ทำ และด้วยใจที่อยากจะพัฒนา Solution ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าในครั้งนี้นับเป็นความสำเร็จที่แท้จริงของทุกคน งานนี้ได้รับเกียรติจากคุณเล้ง ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร (CEO, MFEC) เข้ามาร่วมพูดคุยและมอบรางวัลให้กับผู้เข้าแข่งขันซึ่งนอกจากจะเป็นพนักงานจาก MFEC เองแล้วก็ยังมีเพื่อนนักงานจากบริษัทอื่นเข้ามาร่วมทีมกันอีกด้วย เรียกได้ว่านอกจากกิจกรรมจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เข้าแข่งขันได้พัฒนาศักยภาพของตัวเอง ได้ส่งมอบ Solution ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าแล้ว ยังทำให้ทุกคนได้รับมิตรภาพใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วย

admin mfec

admin mfec

MFEC ร่วมกับ Cisco ผลักดัน Digital-First Strategy 
ด้วย Full-Stack Observability Solution

แม้คำว่า Digital Transformation จะได้รับการพูดถึงมายาวนาน แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีองค์กรเพียงไม่กี่แห่งที่เริ่มลงมือนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจของตนเอง จนก้าวล้ำหน้าและยืนหยัดท่ามกลางสมรภูมิแห่งความไม่แน่นอน จนเมื่อทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากการเผชิญหน้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุด หรือว่ากำลังมีความต้องการพัฒนาองค์กร ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งนี้จึงทำให้คำว่า Digital Transformation ได้รับการพูดถึงอย่างมากอีกครั้ง และหลายบริษัทต่างเห็นพ้องต้องกันว่า นี่คือเวลาของความท้าทาย ที่ต้องเร่งปรับตัวเปลี่ยนแปลงนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาขับเคลื่อนธุรกิจอย่างจริงจังเสียที คุณศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร CEO บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC ผู้เป็นหัวเรือใหญ่ในการทำ Digital-First Strategy ให้ทั้งองค์กรตนเองและกลุ่มลูกค้า ได้คอยเน้นย้ำเสมอถึงความสำคัญของการTransformation ว่าการเตรียมตัวที่จะเปลี่ยนแปลงที่ดี ต้องมีทีมงานที่ถูกต้อง มีแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจน แล้วจึงเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาช่วยเสริมให้การ Transform นั้นสำเร็จ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา MFEC พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องเพราะต้องการเพิ่มประสิทธิภาพและโอกาสการแข่งขันในตลาดให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น การปรับองค์กรโดยนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อแก้ไขกระบวนการธุรกิจ (Business Process) จะช่วยเสริมประสบการณ์ให้กับผู้ใช้และลูกค้า และยังช่วยให้การปรับการทำงานของพนักงาน (Workforce) ให้ต้นทุนต่ำลง เพื่อสามารถสร้างธุรกิจใหม่ หรือแพลตฟอร์มใหม่ในการต่อยอด ขยายไปยังธุรกิจอื่นต่อไปได้อีก แม้แต่ผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกอย่าง Cisco เองก็ตระหนัก และมุ่งเน้นการทำ Digital Transformation อยู่ตลอดเวลาเช่นกัน คุณทวีวัฒน์ จันทรเสโน กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทย ได้แสดงความเห็นว่า ผลกระทบของวิกฤตการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมาทำให้การดำเนินธุรกิจของแทบทุกองค์กรเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง การศึกษานำเอาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้ามาเพิ่ม เพื่อขับเคลื่อนการปฏิบัติงาน และดำเนินธุรกิจ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และอาจสังเกตเห็นได้ว่าในช่วงวิกฤตการณ์ที่ผ่านมา การพัฒนาของเทคโนโลยี และการนำเอาเทคโนโลยีไปใช้งาน จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วขึ้นมาก องค์กรใดที่มีเทคโนโลยีที่พร้อม มีความรวดเร็วในการตัดสินใจ และมีความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ พนักงานก็สามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิผล และรับมือกับการเปลี่ยนแปลง เช่นทาง Cisco เองที่มีเทคโนโลยีต่างๆ ให้สามารถทำงานในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานจากบ้าน 100% หรือทำงานแบบผสม (Hybrid) โดยมี WebEx ช่วยให้พนักงานสามารถสื่อสารกันหลากหลายรูปแบบ ทั้งการแชร์ไฟล์ และข้อความ แบบส่วนตัวและกลุ่ม รองรับการทำประชุมผ่าน Video Conferencing ทั้งส่วนตัวและจากห้องประชุม มีระบบ Security เพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหล เพื่อความมั่นใจของผู้ใช้ โดยเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นระบบพื้นฐานที่ทาง Cisco มีให้ทุกคนอยู่ก่อนที่จะเกิด COVID-19 ดังนั้นจึงไม่ต้องมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงมากนัก ทุกคนสามารถขอระบบ CVO (Cisco Virtual Office) เพื่อทำงานที่บ้านได้ การเปลี่ยนแปลงของบริษัท Cisco มีอยู่ตลอดเวลา รวมถึงทางด้านผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมากขึ้น มาถึงทุกวันนี้ Cisco ได้ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในบริษัทซอฟท์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดของโลกไปแล้ว หนึ่งในซอฟท์แวร์ที่ MFEC และ Cisco มีวิสัยทัศน์ในการทำงานร่วมกันคือโซลูชัน Full-Stack Observability ที่สามารถตอบโจทย์ขององค์กรคือต้องมีเครื่องมือที่ช่วยทั้งการพัฒนา ตรวจสอบ สเกล ตลอดจนดีไซน์แอปพลิเคชันอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ทีมงานที่เคยแยกกันทำงานหลายๆ ทีม ทั้ง AppOps, InfraOps, NetOps และ SecOps สามารถมีเครื่องมือในการติดตามตรวจสอบและวิเคราะห์การทำงานของแอปพลิเคชันที่มีความซับซ้อน ทั้งระบบโครงสร้างของโปรแกรม การกระจายตัวของแอปพลิเคชันที่อยู่หลายระบบ Cloud การมี Security ที่ต้องดูแลหลายระดับ การมี

admin mfec

admin mfec

SMART LIFE – SMART METRO ชีวิตการเดินทางที่ไร้น้ำมัน

บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ได้จัดพิธีลงนาม MOU ด้วยความร่วมมือระหว่างบริษัท พลังงานมหานคร, การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และพันธมิตรทางธุรกิจ จัดตั้ง “โครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า” ภายใต้ชื่อ “EA Anywhere” นวัตกรรมใหม่ ที่จะเปลี่ยนแปลงการคมนาคมในประเทศไทยในอนาคต จากกระแสทั่วโลกที่ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหามลพิษที่ปล่อยมาจากยานพาหนะที่ใช้น้ำมัน  ไม่ว่าจะเป็น ฝรั่งเศสที่ตั้งเป้าห้ามขายรถที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงภายในปี 2040 หรือแม้แต่ประเทศอังกฤษ วางแผนเตรียมเก็บภาษีมลภาวะจากรถยนต์ และประเทศไทยเองก็ให้ความสนใจที่จะพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าเพื่อลดมลภาวะทางอากาศ โดยเริ่มต้นติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า EA  Anywhere เบื้องต้นตั้งเป้าหมายติดตั้งจุดบริการทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 1,000 สถานี ภายในปี 2561 ด้วยงบลงทุนรวม 600 ล้านบาท โดยสถานีอัดประจุไฟฟ้า EA  Anywhere นี้ เกิดขึ้นจริงอย่างสมบูรณ์แบบและพร้อมให้บริการแล้ว ที่อาคารจอดรถ Siam Paragon ชั้น GA NORTH และ Siam Car Park ชั้น GB รองรับการชาร์จได้พร้อมกันถึง 6 คัน ใช้ได้ทั้งรถยนต์ประเภทปลั๊กอินไฮบริดจ์ (Plug-in Hybrid Electric Vehicle : PHEV) และประเภทแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) ตัวสถานีถูกออกแบบให้ใช้งานง่าย และมีความปลอดภัยสูง ที่สำคัญสามารถใช้บริการชาร์จไฟฟ้าได้ฟรีไปจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2560 และขยายต่อเนื่องไปยังพื้นที่ของพันธมิตร เร็ว ๆ นี้

admin mfec

admin mfec

พระอินทร์ฟินเทคกับการใช้ Robotic Process Automation

บริการรับชำระเงินนับเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจในยุค COVID-19 จากการทำธุรกรรมออนไลน์ที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่ธุรกรรมที่ซื้อขายสินค้าหน้าร้านเช่นเดิมก็นิยมจ่ายเงินในช่องทางดิจิทัลกันมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงการสัมผัสเงินสด พระอินทร์ฟินเทคเป็นบริษัทฟินเทคหนึ่งที่ให้บริการร้านค้าให้สามารถรับชำระจากหลากหลายช่องทาง ทั้งอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง, บัตรเครดิต, หรือช่องทาง Thai QR Payment ในชื่อบริการ ChillPay ในยุคที่ธุรกิจต้องเดินหน้าไปด้วยความเร็วสูง จุดเด่นของ ChillPay คือการโอนเงินเข้าสู่ร้านค้าภายในหนึ่งวันทำการไม่ว่าลูกค้าจะชำระจากช่องทางใดก็ตาม ความเร็วเช่นนี้ต้องการการตรวจสอบที่รอบคอบพร้อมๆ กับการทำงานอัตโนมัติเต็มรูปแบบเพื่อให้การชำระเงินถูกต้องครบถ้วนไปพร้อมกับรวดเร็วตรงเวลา ทางพระอินทร์ฟินเทคอาศัย Robotic Process Automation (RPA) เพื่อลดระยะเวลาทำงานซ้ำซ้อน เปิดทางให้เจ้าหน้าที่มีเวลาสอบทานความถูกต้องของธุรกรรมแทนที่จะเสียเวลาไปกับการคำนวณค่าและกรอกข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวเอง แม้ว่าธุรกรรมจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม ผู้ค้าที่เป็นลูกค้าของ ChillPay มีการใช้บริการช่องทางชำระเงินหรือ Payment Channel ที่ตอบทุก Segment ของลูกค้า เช่นกลุ่มนักธุรกิจที่ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต หรือกลุ่มเด็กที่เล่นเกมออนไลน์ ถือเป็นกลุ่มที่ไม่มีบัตรเครดิตแต่สามารถชำระเงินออนไลน์ผ่านทางตู้บุญเติม หรือเคาน์เตอร์ร้านสะดวกซื้อที่รองรับการจ่ายเงินสด เป็นต้น การใช้ช่องทางรับเงินที่หลากหลายทำให้ RPA เข้ามาเป็นตัวช่วยสำคัญ สามารถปรับตัวเข้ากับบริการต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย ทุกช่องทาง คุณเพิ่มบุญ เอี่ยมสุภาษิต ผู้ก่อตั้งพระอินทร์ฟินเทคกล่าวถึงการใช้งาน RPA  “บริการ Payment Gateway ของ ChillPay มีความเกี่ยวข้องกับองค์กรจำนวนมาก หลายบริการไม่ได้เปิด API อย่างเป็นทางการ ทำให้เดิมเราต้องอาศัยเจ้าหน้าที่มาดึงข้อมูลจากระบบภายใน คำนวณและตรวจสอบความถูกต้อง แล้วกรอกข้อมูลไปยังระบบภายนอกจำนวนมาก การใช้ RPA ทำให้กระบวนการเหล่านี้เป็นอัตโนมัติทั้งหมด เจ้าหน้าที่เข้ามาทำงานในตอนเช้าแล้วสามารถดูรายงานที่สร้างโดย RPA เพื่อยืนยันความถูกต้อง แล้วตรวจทานว่ากรอกข้อมูลไปยังระบบคู่ค้าถูกต้องหรือไม่ กระบวนการนี้ใช้เวลาน้อยลงมาก จากเดิมใช้เวลาหลายชั่วโมงเหลือเพียงวันละไม่เกิน 20 นาทีเท่านั้น” คุณธัญกมล ปิ่นทอง Financial and Budget Control Director ระบุว่า “การใช้งาน RPA นับเป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำ Digital Transformation ขององค์กร องค์กรจำนวนมากไม่สามารถรอการสร้างระบบไอทีใหม่ๆ เพื่อให้ process ในธุรกิจกลายเป็นระบบอัตโนมัติได้ การใช้ RPA ที่ประสิทธิภาพสูงและใช้งานง่ายอย่าง UiPath เปิดทางให้เจ้าหน้าที่ทางธุรกิจสามารถปรับการทำงานของตัวเองเป็นการทำงานอัตโนมัติได้ทันที ทำให้เราลงทุนกับ UiPath เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสนับสนุนองค์กรที่ต้องการทรานส์ฟอร์มองค์กรไปสู่การทำงานอย่างอัตโนมัติเต็มรูปแบบทุกส่วนขององค์กร” คุณธเนศ เชี่ยวชาญลิขิต Business Services Management Manager ระบุว่า “UiPATH นับเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์ RPA ขั้นนำของโลกที่ MFEC ซัพพอร์ตอย่างต่อเนื่อง จนได้ Gold Partner ในปี 2020 ที่ผ่านมาและเราเชื่อว่า UiPath จะสามารถช่วยให้องค์กรต่างๆ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานทั้งองค์กรในระยะยาวได้ต่อไป” สนใจรับคำปรึกษาการปรับองค์กรไปสู่การทำงานอัตโนมัติเต็มรูปแบบติดต่อ email : ps-bsm@mfec.co.th  หรือ scan QR code ผ่านช่องทาง LINE OA

admin mfec

admin mfec

The New Lifestyle Banking ยกระดับความ Cool ด้วย SCB EASY

นาทีนี้คงหนีไม่พ้นความฮอตของฟังก์ชั่น “กดเงินไม่ใช้บัตร” จากธนาคารไทยพาณิชย์ ที่สามารถยึดครองพื้นที่สื่อทั่วฟ้าเมืองไทยกับการเปิดตัวสุดอลังการของโมบายแบงก์กิ้งแอปพลิเคชัน SCB EASY ที่ยกระดับความคูลเป็นเวอร์ชั่น 3.0 รองรับทั้งระบบ iOS และ Android ซึ่งออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง กับการลงทุนกว่า 4,000 ล้านบาท พัฒนา Digital Platform แอปพลิเคชัน SCB EASY ที่ #เป็นทุกอย่างเพื่อคุณ ด้วยเทคโนโลยีที่ดีที่สุด อาทิ Data Analytics Stack,  API Gateway และ Microservices Architecture ฯลฯ เพื่อระบบที่มีความปลอดภัยสูงสุด รองรับการเติบโตของผู้ใช้ ตลอดจนความเสถียรในการให้บริการ พร้อมก้าวขึ้นเป็น ผู้นำด้านดิจิทัลแบงกิ้งอันดับ 1 ของประเทศ และตั้งเป้าจำนวนลูกค้าผู้ใช้แอปพลิเคชันกว่า 8 ล้านราย จากปัจจุบัน 4 ล้านราย รวมถึงฟีเจอร์เด็ดที่สื่อต่างๆ พูดถึงใน แอปพลิเคชัน SCB EASY อาทิ Cardless ATM สามารถกดเงินสดได้โดยไม่ต้องใช้บัตร Easy App Protection ที่นอกจากระบบความปลอดภัยบนแอปพลิเคชัน ไทยพาณิชย์ยังสร้างความมั่นใจด้วยการคุ้มครองความเสียหายวงเงินสูงสุด 1 แสนบาท คุณธนา เธียรอัจฉริยะ รักษาการ Chief Marketing Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ ยังกล่าวในงานถึงการเปิดตัวแอปพลิเคชัน เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2560 ว่า “นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ภายในสิ้นปีนี้จะยังมีฟีเจอร์ใหม่และความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจในการนำเสนอบริการอื่น เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และด้วยสถาปัตยกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ของเราจะทำให้เราสามารถเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ในอนาคตได้อย่างรวดเร็ว” Why Microservices Architecture? ตลอดระยะเวลา 10 เดือนกับความมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีระดับแนวหน้ามาใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน SCB EASY โฉมใหม่ในครั้งนี้ คุณธนา โพธิกำจร ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารสายงาน Digital Banking ได้กล่าวถึงเหตุผลที่เลือกสถาปัตยกรรม  Microservices Architecture  เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ดังกล่าวว่า “ไม่ใช่แค่ดีระดับประเทศ แต่ดีที่สุดในโลก ด้วยโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่จะแยกระบบบริการต่างๆ เป็นส่วนๆ เพื่อรองรับการขยายบริการที่สามารถเพิ่มเติมฟังก์ชั่นได้อย่างเป็นอิสระและไม่ซับซ้อน สามารถเลือกปรับปรุงเฉพาะส่วน ไม่ต้องมารวมทุกอย่างไว้ที่ศูนย์กลางเดียวเหมือนอย่างที่ผ่านมา” ทั้งนี้ ไทยพาณิชย์ย้ำชัดว่า การพัฒนาโมบายแบงก์กิ้งแอปพลิเคชัน SCB EASY ในครั้งนี้ เป็นเพียงก้าวแรกของการให้บริการทางการเงินที่ช่วยยกระดับภาพรวมและสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมการเงินธนาคารของประเทศให้ทันต่อการแข่งขันในยุคดิจิทัลที่คู่แข่งขันในตลาดไม่ใช่แค่ธนาคารด้วยกันเองอีกต่อไป ท้ายที่สุด MFEC ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในทีมพัฒนาแอปพลิเคชัน SCB EASY และยังเป็นบริษัทพาร์ทเนอร์ของธนาคารไทยพาณิชย์ด้วยความสัมพันธ์อันยาวนานและอยู่เคียงข้างในทุกย่างก้าวแห่งความสำเร็จ ขอแสดงความยินดีกับเสียงตอบรับที่ดีจากการเปิดตัวแอปพลิเคชัน SCB EASY ด้วยยุทธศาสตร์สำคัญ ในการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อมุ่งสู่การเป็น The Most Admired Bank

admin mfec

admin mfec

รู้ยัง…บัตรเดบิตหายทำใหม่ง่ายๆ ผ่านมือถือ 7 วันส่งถึงบ้าน

K PLUS อันดับ 1 โมบายแบงค์กิ้ง   รางวัล “THE BEST MOBILE BANKING PROJECT” จาก The Asian Banker เป็นเครื่องการันตี ให้กับธนาคารกสิกรไทยในฐานะธนาคารยอดเยี่ยมด้าน Mobile Banking  และ MFEC ในฐานะผู้พัฒนา Application ที่ผ่านหลักเกณฑ์การพิจารณา ในเรื่องของข้อเสนอ  ความสะดวกในการสมัครใช้บริการ ประโยชน์ตามความต้องการของลูกค้า รวมไปถึงความปลอดภัย ทำให้ผลิตภัณฑ์มีอัตราการเติบโตที่โดดเด่น มีผู้ใช้งานสมาร์ทแอพพลิเคชั่นทางการเงินนี้ กว่า 3 ล้านราย เป็นข่าวดังเมื่อกลางปีที่ผ่านมา ล่าสุดทางแบงค์กสิกร ไม่หยุดเติมความ “ง่าย” ให้กับลูกค้าด้วยการเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ เพิ่มความสะดวกสบายในการออกบัตรเดบิต ตอบรับดิจิทัลไลฟ์สไตล์ ให้ลูกค้าสามารถสมัครบัตรเดบิตใหม่ผ่านแอพพิเคชั่น K-Mobile Banking PLUS โดยไม่ต้องไปสมัครที่สาขา เอาใจกลุ่มลูกค้าที่ต้องการจะสมัครบัตรใหม่ ต่ออายุบัตร หรือบัตรสูญหาย สามารถทำได้ทันที K PLUS  “ความง่าย” ที่น่าภูมิใจ MFEC ในฐานะบริษัทพาร์ทเนอร์ของธนาคารกสิกรไทย รู้สึกยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเติมเต็มความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภค และได้รับความสนใจจาก  The Asian Banker  ทำการเก็บข้อมูลจากข่าวสาร ข้อเท็จจริงและความเคลื่อนไหว ของวงการ  Mobile Banking  ทั่วเอเชีย ก่อนพิจารณาความเหมาะสม ศึกษาวิธีการสมัครบัตรผ่าน K-Mobile Banking PLUS ได้ที่ https://www.kasikornbank.com/promotion/issue-debitcard-via-KMB อ่านข่าวรางวัล “THE BEST MOBILE BANKING PROJECT” ได้ที่ https://goo.gl/mpbHnC

admin mfec

admin mfec

ตีตั๋วขึ้น KAAN ผ่าน Panda Pass

ณ วันนี้คงจะปฎิเสธไม่ได้ว่า ปัญจลักษณ์พาสุข จำกัด คือ บริษัท Startup สายเอนเตอร์เทนเมนท์ที่ใหญ่ที่สุด และผลผลิตอย่าง KAAN ก็คือ ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของ Live Show สัญชาติไทยที่อัดแน่นด้วยเทคนิคระดับโลกหลากรูปแบบ ทำให้เชื่อได้ว่าไม่นาน “KAAN” จะกลายเป็นแลนมาร์คแห่งใหม่ใจกลางพัทยา ในขณะที่ “Panda Pass” หรือ Digital Ticket Platform จะขึ้นแท่นเป็นระบบจองตั๋วดิจิทัลน้องใหม่ไฟแรงภายใต้คอนเซ็ปต์ ซื้อง่าย จ่ายคล่อง รองรับการทำงานลักษณะ Member Card, Loyalty Card ในอนาคต New experience for digital ticket Panda Pass เปิดตัวเป็นที่รู้จักในฐานะตัวแทนจำหน่ายบัตรออนไลน์เข้าชม KAAN Show มาครบทั้งตู้ KIOSK และ Automatic Gate รวมถึง RFID Card โดยที่มาที่ไปของระบบจำหน่ายตั๋วน้องใหม่รายนี้ เริ่มต้นจากแนวคิดการสร้างธุรกิจรูปแบบ Co-Investment, Revenue Sharing ของทีมผู้บริหาร MFEC  มุ่งเปลี่ยนมุมมองลูกค้าเป็น Business Partner เน้นการสร้างความเชื่อมโยงในการให้บริการข้ามธุรกิจได้สะดวก และง่ายยิ่งขึ้น MFEC ส่ง Panda Pass ลงสนาม DIGITAL TRANSFORMATION ในยุคที่ดิจิทัลครองเมือง ความท้าทายหนึ่งที่เหล่าผู้ประกอบการทั้งรายย่อยและรายใหญ่ต่างต้องเผชิญคือ แนวทางการปรับตัวอย่างไรให้รอดจาก “Disruptive Technology” และเมื่อปรับตัวได้แล้ว จะใช้เครื่องมือใดมาสร้างโอกาส สร้างการแข่งขันทางธุรกิจ รวมถึงแนวทางการปลดแอกจากการบริหารแบบ “ยึดติด” ไม่ว่าจะเป็นการยึดติดกับกลุ่มลูกค้าเดิมๆ ยึดติดกับสินค้าหรือบริการตัวใดตัวหนึ่งที่เคยทำเงินมหาศาลให้กับองค์กร ซึ่งการยึดติดแบบนั้นมักทำให้คุณต้องสูญเสียโอกาสทองทางธุรกิจไปอย่างน่าเสียดาย จากข้อมูลข้างต้น MFEC ในฐานะบริษัทไอทีชั้นนำของเมืองไทย ได้จัดตั้งทีมงาน Digital Transformation Services ไว้รองรับสำหรับธุรกิจที่ต้องการใช้ศักยภาพของเทคโนโลยีในการเปลี่ยนแปลงการให้บริการ ช่วยคิดค้นนวัตกรรมสินค้า และนวัตกรรมโมเดลทางธุรกิจ เพื่อปฏิรูปองค์กรของลูกค้า ให้เกิดความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นความต่างทาง Technology หรือความต่างในการสร้างความสัมพันธ์ทางการตลาดหรือ Demandใหม่ๆ ระบบ Digital Ticket Platform – Panda Pass >> www.pandapass.asia Kaan Show  >> www.kaanshow.com ติดตามความเคลื่อนไหว MFEC Society ได้ที่ https://www.facebook.com/MFECCareer/

admin mfec

admin mfec

ไอเดียดี “KBTG Cloud” พื้นที่ปล่อยของสำหรับคนมีไอเดีย

กระแสฟินเทค หรือ ไฟแนนเชียล เทคโนโลยี (Financial Technology) กำลังเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของคนไทย ด้วยจุดเด่นตรง ง่าย สะดวก รวดเร็ว ทุกที่ทุกเวลา สร้างอิสระในการทำธุรกรรมการเงินแก่ผู้บริโภคส่งผลให้บรรดาธุรกิจธนาคารและสถาบันการเงินต่างพยายามปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้กันอย่างคึกคัก จึงไม่แปลกใจนักที่ “ธนาคารกสิกรไทย” ผู้ได้ชื่อว่าเป็นดิจิตอลแบงค์กิ้งอันดับหนึ่ง การันตรีด้วยรางวัลล่าสุด  “The Best Mobile Banking Project”  จาก The Asian Banker  จะขยับตัวรับความเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วที่สุด ด้วยการประกาศตั้ง “กสิกร บิซซิเนส-เทคโนโลยีกรุ๊ป” (KASIKORN Business – Technology Group หรือ KBTG) หน่วยงานน้องใหม่ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การนำเทคโนโลยีมาพัฒนาระบบธุรกรรมทางการเงินให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สะดวกรวดเร็วที่สุด และปลอดภัยที่สุด ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ นอกจากพัฒนาบริการทางการเงินแล้ว ยังสนับสนุนธุรกิจของกลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่ หรือสตาร์ทอัพด้วย “ถ้าพูดถึงสตาร์ทอัพ ก็หนีไม่พ้นต้องพูดถึงไอเดียเจ๋งๆ แล้วถ้ามีไอเดียเจ๋งๆ แต่ไม่มีพื้นที่ให้ปล่อยของก็คงไม่ได้ KBTG จึงอยากจะสร้างระบบ private cloud ขึ้นมาใช้ในองค์กร เพื่อเป็นพื้นที่ให้เหล่าสตาร์ทอัพที่เป็นพาร์ทเนอร์ รวมทั้งพนักงานในองค์กรที่มีไอเดียเจ๋งๆ มีนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาต่อยอดความคิดกันได้อย่างเต็มที่” คำบอกเล่าของ มงคล เอื้อจิตอนันตกุล รองกรรมการผู้จัดการบริษัท กสิกร โปร จำกัด หรือ KPro หนึ่งในห้าบริษัทลูกของ KBTG ซึ่งมีหน้าที่ดูแลการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานและระบบไอทีของธนาคารให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ทราบกันดีว่า ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) กำลังได้รับความนิยมไปทั่วโลก คลาวด์เป็นรูปแบบบริการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ร่วมกับผู้อื่นผ่านเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับทุกอุปกรณ์ ทั้งพีซี โน๊ตบุ๊ก แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน ใช้งานง่าย สะดวกรวดเร็ว สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้เองโดยไม่ต้องพึ่งความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการ และไม่ต้องลงทุนระบบไอทีทั้งหมด “ที่ผ่านมาเวลาขอ Server มาใช้งานแต่ละทีจะเสียเวลามาก ต้องลงทะเบียน กรอกข้อมูล ทำนู่นทำนี่สารพัด เราจึงคิดว่าเป็นไปได้ไหมถ้าจะทำ private cloud ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานภายในองค์กรที่มีราคาไม่สูงมาก ทำยังไงจะได้ของถูกและใช้งานได้เร็ว ตอนนั้นเราศึกษาบริการคลาวด์ของบริษัทซอฟแวร์ดังๆ เช่น ไมโครซอฟท์ บีเอ็มซี เอชพี แต่พวกนี้เป็นบริการที่ใหญ่โตและราคาแพง มีขั้นตอนตรวจสอบยุ่งยากกว่าจะได้รับอนุมัติให้ใช้งาน ลึกๆ ในใจผมอยากให้เข้าหน้าจอแค่ 4 หน้าจบ ใช้ได้เลย ตามหลัก minimalism เราจึงไปถามทางบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านดังกล่าวอย่าง  MFEC  ว่า อยากจะได้ระบบคลาวด์ที่ราคาถูก ใช้ง่าย เร็ว และคุณภาพดี พูดง่ายๆ คือ ถูก เร็ว ดี ถูกในที่นี้หมายถึงอยากได้ของราคาไม่แพงถ้าเทียบกับสินค้าในท้องตลาดและเป็น open source เร็วคือ แก้ไข ปรับเปลี่ยน พัฒนาได้เอง และ ดีคือ สะดวกรวดเร็วใช้เวลาเพียง 5 นาทีในการใช้งาน ทั้งหมดนี้คือโจทย์สำคัญที่ผมต้องการและแจ้งให้ทางทีม KPro และ MFEC ร่วมมือกันพัฒนาระบบดังกล่าวให้เกิดขึ้นจริงตามเจตนารมณ์ที่วางไว้“ แม่ทัพใหญ่ด้าน IT Infrastructure ของ KBTG เล่าว่า นิยามของ KBTG Cloud คือ  Platform for Your Innovation หมายถึง ใครที่มีไอเดีย คิดอะไรได้ปุ๊บ สามารถใส่ข้อมูลและหยิบเอาไปใช้งานได้ทันที เปรียบเสมือนพื้นที่สำหรับปล่อยของอย่างแท้จริง “ระยะเวลาเดือนเศษๆ ที่ทดลองใช้บริการ ผมกระตุ้นให้ลูกน้องคิดและนำเสนอไอเดียอยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่น ผมให้โจทย์ไปว่าอยากให้ลองทำ wiki

admin mfec

admin mfec