Skip links
View
Drag

admin mfec

เกมสตรีมมิ่ง อนาคตยุคต่อไปของความบันเทิง

บริการสตรีมมิ่งกำลังเข้ามา disrupt โลกอย่างรวดเร็วในช่วงสิบปีที่ผ่านมา จากบริการผิดกฎหมายที่ถูกตามจับ ทุกวันนี้คนไทยจำนวนมากสามารถเข้าถึงบริการสตรีมมิ่งทั้งเพลงและภาพยนตร์ได้จากบริการที่หลากหลาย อย่างบริการเพลง เช่น Apple Music, Spotify, JOOX หรือฝั่งภาพยนตร์ก็มีทั้ง Netflix, iflix, VIU แต่อีกอุตสาหกรรมที่อาจจะมีความเปลี่ยนแปลงคืออุตสาหกรรมเกมที่กำลังจะมีบริการสตรีมมิ่งแล้วเหมือนกัน ตลาดเกมเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูง มูลค่าร่วมแต่ละปีประมาณ 3.6 ล้านล้านบาท โดยประมาณครึ่งหนึ่งเป็นเกมบนโทรศัพท์มือถือ ที่เราหลายๆ คนอาจจะมีโอกาสเล่นเกมฟรี และบางครั้งก็ซื้อไอเท็มในเกมกันอยู่บ้าง แต่อีกครึ่งหนึ่งเป็นตลาดที่ค่อนข้างจริงจัง คือกลุ่มผู้เล่นเกมบนพีซีและคอนโซล เกมในครึ่งหลังนี้หลายครั้งเป็นเกมขนาดใหญ่ ใช้เทคโนโลยีใหม่ ภาพกราฟิกสวยงาม มีการลงทุนสูงนับพันล้านบาทต่อเกมและผู้เล่นเองก็ต้องลงทุนซื้อเครื่องคอนโซลหรือพีซีราคาแพงเพื่อเล่นเกมเหล่านี้ แต่เทคโนโลยีสตรีมมิ่งอาจจะกำลังงขยายตลาดเกมพีซีและคอนโซลให้ทุกคนเข้าถึงได้ภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เมื่อปีที่แล้วกูเกิลเปิดบริการ Stadia บริการสตรีมเกมที่ผู้ใช้ต้องมีเพียงเครื่องพีซีราคาถูก โทรศัพท์มือถือ หรือแม้แต่ Chromecast ก็สามารถเล่นเกมที่เคยต้องใช้เกมมิ่งพีซีได้แล้ว ผู้เล่นรายใหม่ที่สามารถจ่ายเงินไม่กี่ร้อยบาทเพื่อเล่นเกมบนอุปกรณ์ของตัวเองได้ทันที ฝั่งไมโครซอฟท์เองก็มีบริการ Project xCloud ที่เริ่มเปิดทดสอบแล้ว ทำให้สามารถเล่นเกมบนโทรศัพท์ Android และ iOS ได้ เทคโนโลยีเบื้องหลังของเกมสตรีมมิ่งมีทั้งบริการคลาวด์ ที่สามารถเตรียมการ์ดกราฟิกไว้รองรับผู้ใช้จำนวนมากพร้อมๆ กัน และเน็ตเวิร์คที่เร็วขึ้นมาก หลายพื้นที่มีบริการคลาวด์ตั้งอยู่ใกล้ๆ คลาวด์บางรายสมัยนี้อาจตั้งอยู่ในเมืองเดียวกับที่เปิดให้บริการเลยทีเดียว เพื่อให้ระยะเวลาหน่วง (latency) ระหว่างเซิร์ฟเวอร์และผู้ใช้นนั้นลดต่ำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เกมสตรีมมิ่งจะประสบความสำเร็จหรือไม่ยังมีอีกหลายปัจจัย ทั้งตัวเทคโนโลยีเบื้องหลัง ราคาค่าแบนวิดท์ที่ไม่แพงเกินไป เพราะ Stadia อาจจะรับส่งข้อมูลถึงชั่วโมงละ 20 กิกะไบต์เลยทีเดียว การเจรจากับผู้ผลิตเกมก็เป็นส่วนสำคัญว่าผู้ผลิตจะยอมนำเกมมาลงบริการใดบ้าง และรูปแบบการเก็บค่าบริการที่ทุกวันนี้ผู้ใช้ยังต้องซื้อเกมบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งอยู่ ไม่ใช่รูปแบบการจ่ายค่าสมาชิกแล้วใช้งานได้ทุกอย่างเหมือนบริการเพลงและภาพยนตร์ แต่หากบริการเกมสตรีมมิ่งประสบความสำเร็จ คนจำนวนมากที่ไม่เคยเล่นอะไรมากกว่าเกมบนโทรศัพท์มือถือก็อาจจะสนใจเล่นเกมจริงจังกันเป็นวงกว้าง – – –โดยวสันต์ ลิ่วลมไพศาลChief Technology Officer, MFEC

admin mfec

admin mfec

ภาษา Rust ภาษาโปรแกรมมิ่งที่อาจจะเป็นอนาคตของวงการไอที

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้วงการไอทีจะพบว่าความนิยมของภาษาเปลี่ยนไปมาก โครงการใหม่ๆ อย่าง Kubernetes นั้นใช้ภาษา Go ในการพัฒนาแทบทั้งระบบ แต่อีกภาษาหนึ่งที่เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องคือภาษา Rust ภาษา Rust สร้างโดยวิศวกรของ Mozilla ผู้ดูแลโครงการเบราว์เซอร์ Firefox มันถูกออกแบบให้มีประสิทธิภาพสูงเทียบเท่ากับภาษา C/C++ จนสามารถใช้งานพัฒนาซอฟต์แวร์พื้นฐานที่ต้องการประสิทธิภาพสูง เช่น เอนจินของเบราว์เซอร์ หรือจะเป็นระบบปฎิบัติการ จุดเด่นของภาษา Rust คือการป้องกันการใช้หน่วยความจำผิดพลาด ที่เป็นปัญหาที่พบบ่อยในการเขียนโปรแกรมภาษา C โดยโครงสร้างภาษาไม่อนุญาตให้ใช้งานตัวแปรที่เลิกใช้งานไปแล้ว ฟีเจอร์เช่นนี้คล้ายกับฟีเจอร์ในภาษายุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Java, Python, หรือ Go แต่ Rust ใช้เทคนิคการจัดการหน่วยความจำรูปแบบที่ต่างออกไป ทำให้โปรแกรมไม่ต้องหยุดการทำงานมาจัดการหน่วยความจำ ภาษายุคใหม่อย่าง Java, Go, Python นั้นจะเรียกโค้ดส่วน garbage collector (GC) ขึ้้นมาตรวจสอบการใช้ตัวแปรเป็นช่วงๆ หากพบว่าตัวแปรไม่ได้ใช้งานแล้วก็จะกวาดตัวแปรเหล่านั้นออกจากระบบ จังหวะที่ GC ทำงานโปรแกรมรวมก็จะช้าลงไป แม้จะเล็กน้อยแต่ก็อาจจะกระทบต่อประสิทธิภาพระบบได้ แต่ Rust นั้นไม่มี GC ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานค่อนข้างนิ่งตลอดเวลา บริษัทใหญ่ๆ ให้ความสนใจที่จะใช้ Rust ในโครงการมากขึ้นเรื่อยๆ ไมโครซอฟท์เริ่มใช้ภาษา Rust สำหรับพัฒนาเครื่องมือด้านความมั่นคงปลอดภัย, Cloudflare ใช้พัฒนาโปรแกรมแก้ไข HTML, 1Password โปรแกรมจัดการรหัสผ่านก็พอร์ตบางโมดูลไปแล้ว, กูเกิลเองใช้ Rust กับแอปพลิเคชันขนาดเล็กบนบอร์ด IoT, และล่าสุดบริการแชตยอดนิยมอย่าง Discord ก็ใช้ Rust สำหรับเซิร์ฟเวอร์แจ้งเตือนผู้ใช้เวลามีข้อความใหม่ หรือฝ่ายตรงข้ามอ่านข้อความแล้ว โดยระบุว่าคุณภาพการให้บริการนั้นเสถียรกว่าเดิมมาก – – –โดยวสันต์ ลิ่วลมไพศาลChief Technology Officer, MFEC

admin mfec

admin mfec

Visualization กับการสื่อสารเหตุการณ์ Coronavirus

ข่าว Coronavirus ที่ระบาดออกมาจากเมืองอู่ฮั่นประเทศจีนสร้างความวิตกเป็นวงกว้าง แต่ก็เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าเราสามารถใช้เทคโนโลยีมาช่วยจัดการวิกฤติได้บางส่วน ส่วนหนึ่งที่สำคัญคือการสื่อสารข้อมูลให้ครบถ้วนเข้าใจง่าย เช่นกระทรวงสาธารณะสุขของไทย มีหน้าจอเฝ้าระวังเชื้อ nCoV-2019 นี้โดยเฉพาะ ทำให้ประชาชนสามารถมองเห็นได้ว่าโรคแพร่ไปในบริเวณใด และมีผู้ป่วยมากน้อยแค่ไหน ขณะที่สาธารณะสุขของสิงคโปร์มีการรายงานข้อมูลผู้ป่วยค่อนข้างละเอียดโดยแจ้งวันที่ผู้ป่วยเดินทางมาถึงสิงคโปร์, พื้นที่ที่พักอาศัย, และโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา ข้อมูลเหล่านี้หากอ่านจากข้อความก็จะนึกภาพตามได้ยาก จึงมีผู้นำข้อมูลทั้งหมดมาพล็อตเป็นแผนที่บนเว็บ https://sgwuhan.xose.net/ ทำให้สามารถดูได้โดยง่ายว่ามีพื้นที่ไหนอยู่ในความเสี่ยงบ้าง การนำเสนอข้อมูลในรูปกราฟิกเช่นนี้ทำให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถรับข้อมูลจำนวนมากได้ง่ายขึ้น สามารถตัดสินใจได้รวดเร็วและแม่นยำ ในประเทศไทยเองช่วงเหตุการณ์ฝุ่น PM2.5 ก็มีแอปสร้างแผนที่ฝุ่นออกมามากมาย ทำให้เราสามารถตัดสินใจใส่หน้ากากออกจากบ้านในช่วงเวลาที่ไม่ปลอดภัย จะเห็นว่าการสร้าง dashboard ที่สื่อสารข้อมูลได้ครบถ้วน ทั้งในเวลาปกติและเวลาฉุกเฉินเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากต่อจากการสร้างระบบรายงานและจัดเก็บข้อมูลที่ดี – – –โดยวสันต์ ลิ่วลมไพศาลChief Technology Officer, MFEC

admin mfec

admin mfec

Visualization กับการสื่อสารเหตุการณ์ Coronavirus

ข่าว Coronavirus ที่ระบาดออกมาจากเมืองอู่ฮั่นประเทศจีนสร้างความวิตกเป็นวงกว้าง แต่ก็เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าเราสามารถใช้เทคโนโลยีมาช่วยจัดการวิกฤติได้บางส่วน ส่วนหนึ่งที่สำคัญคือการสื่อสารข้อมูลให้ครบถ้วนเข้าใจง่าย เช่นกระทรวงสาธารณะสุขของไทย มีหน้าจอเฝ้าระวังเชื้อ nCoV-2019 นี้โดยเฉพาะ ทำให้ประชาชนสามารถมองเห็นได้ว่าโรคแพร่ไปในบริเวณใด และมีผู้ป่วยมากน้อยแค่ไหน ขณะที่สาธารณะสุขของสิงคโปร์มีการรายงานข้อมูลผู้ป่วยค่อนข้างละเอียดโดยแจ้งวันที่ผู้ป่วยเดินทางมาถึงสิงคโปร์, พื้นที่ที่พักอาศัย, และโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา ข้อมูลเหล่านี้หากอ่านจากข้อความก็จะนึกภาพตามได้ยาก จึงมีผู้นำข้อมูลทั้งหมดมาพล็อตเป็นแผนที่บนเว็บ https://sgwuhan.xose.net/ ทำให้สามารถดูได้โดยง่ายว่ามีพื้นที่ไหนอยู่ในความเสี่ยงบ้าง การนำเสนอข้อมูลในรูปกราฟิกเช่นนี้ทำให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถรับข้อมูลจำนวนมากได้ง่ายขึ้น สามารถตัดสินใจได้รวดเร็วและแม่นยำ ในประเทศไทยเองช่วงเหตุการณ์ฝุ่น PM2.5 ก็มีแอปสร้างแผนที่ฝุ่นออกมามากมาย ทำให้เราสามารถตัดสินใจใส่หน้ากากออกจากบ้านในช่วงเวลาที่ไม่ปลอดภัย จะเห็นว่าการสร้าง dashboard ที่สื่อสารข้อมูลได้ครบถ้วน ทั้งในเวลาปกติและเวลาฉุกเฉินเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากต่อจากการสร้างระบบรายงานและจัดเก็บข้อมูลที่ดี – – –โดยวสันต์ ลิ่วลมไพศาลChief Technology Officer, MFEC

admin mfec

admin mfec

Tags

PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำคัญอย่างไร ? ทำไมต้องรู้ ? ตอนที่ 1 

PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำคัญอย่างไร ? ทำไมต้องรู้ ? เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ PDPA PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล แม้ว่าชื่อของ พ.ร.บ. ทำให้มองไปที่ “การคุ้มครอง” ข้อมูลส่วนบุคคล แต่ใจความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ กลับมุ่งเน้นไปที่องค์กร หน่วยงาน หรือนิติบุคคลให้มี “มาตรฐาน” ในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสมและเพียงพอ เมื่อมีความจำเป็นต้องขอใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบไปถึงการรักษาความลับ (Confidentiality) ความถูกต้องสมบูรณ์ (Integrity) และความพร้อมใช้งาน (Availability) ของข้อมูลส่วนบุคคล ที่ก่อให้เกิดแนวโน้มให้เกิดผลกระทบเชิงลบหรือความเสียหายในระดับบุคคลหรือองค์กร PDPA มีความสำคัญอย่างไร ? เหตุผลที่ประเทศไทยต้องมี พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เนื่องจากปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นยุคที่ธุรกิจต่างต้องการข้อมูลลูกค้าที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาสินค้าและการบริการขององค์กร ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ , ที่อยู่ , เบอร์โทรศัพท์ , อีเมล หรือแม้แต่ใบหน้า และเสียงของตัวบุคคล ล้วนแต่เป็น “ข้อมูลส่วนบุคคล” ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ในแต่ละองค์กรจึงจำเป็นต้องใช้กฎหมายป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลลูกค้า เพื่อความน่าเชื่อถือ และได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าด้วย ประเด็นสำคัญของ PDPA การเก็บ ใช้ เปิดเผย และถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้รับความยินยอม ยกเว้นจะมีเหตุอื่นที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ซึ่งความยินยอมนั้นต้องให้โดยอิสระ เฉพาะเจาะจง และชัดแจ้ง และเจ้าของข้อมูลสามารถถอนความยินยอมได้ เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องแจ้งเหตุให้เจ้าของข้อมูลทราบภายใน 72 ชั่วโมง ข้อมูลส่วนบุคคลประกอบไปด้วยอะไรบ้าง? รูปแบบของข้อมูลที่หน่วยงานมีการจัดเก็บ คือ ข้อมูลส่วนบุคคลไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ได้แก่ ชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ อีเมล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน รูปถ่าย ประวัติการทำงาน และอายุ (หากเป็นเด็ก จะต้องระบุผู้ปกครองได้ และรับ consent จากผู้ปกครอง) นอกจากนั้นก็ยังมี Personal Data Sensitive ข้อมูลส่วนบุคคลที่ละเอียดอ่อนที่มีการควบคุมเข้มงวดขึ้นมาอีกขั้น ได้แก่ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ความคิดเห็นทางการเมือง (เช่น social media monitoring tools ที่จับประเด็นการเมือง) ความเชื่อทางศาสนา หรือ ปรัชญา (เช่น บันทึกการลาบวช ของพนักงาน) พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม สุขภาพ ความพิการ สหภาพแรงงาน พันธุกรรมชีวภาพ ข้อมูลสุขภาพ (เช่น ใบรับรองแพทย์) หรือข้อมูลอื่นใดที่กระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะประกาศกำหนด

admin mfec

admin mfec

Tags

PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำคัญอย่างไร ? ทำไมต้องรู้ ? ตอนที่ 2

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ PDPA เพื่อให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการและผู้ปฎิบัติงานทั้งภาครัฐและเอกชน ควรศึกษาบทบาทและสิทธิของผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. บุคคลทั่วไปในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) ควรจะตระหนักและเข้าใจสิทธิของตนเอง อ่านข้อกำหนด วัตถุประสงค์ให้ละเอียดก่อนยินยอมให้ข้อมูล สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีอะไรบ้าง? สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ (Right to be informed) สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of access) สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (Right to data portability) สิทธิคัดค้านการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Right to object) สิทธิขอให้ลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถระบุตัวตนได้ (Right to erasure; also known as right to be for-gotten) สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล (Right to restrict processing) สิทธิการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (Right of rectification)ทั้งนี้ ควรเก็บบันทึกหลักฐานไว้ หากพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลได้ถูกนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ที่ตกลงกัน ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ 2. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล คือบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อรับมือกับพ.ร.บ.นี้ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอาจจะเริ่มจากการตั้งงบประมาณและขอความสนับสนุนจากผู้บริหารสำหรับการเสริมความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล จากนั้นจัดตั้งกลุ่มผู้ดูแล (Data Protection Officer) ในองค์กรให้ดำเนินการกำหนดประเภท แจกแจงข้อมูล ชี้แจงวัตถุประสงค์ ทบทวน Data Protection Policy และจัดเตรียมข้อกำหนด แนวทางปฏิบัติสำหรับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนจัดทำเอกสารมาตรการความปลอดภัย นอกจากนี้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องส่งเสริมการปรับปรุงพัฒนากระบวนการแจ้งเตือน (Breach Notification) และออกแบบระบบ บริการและผลิตภัณฑ์ โดยคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้ใช้งาน (Privacy by Design & Security by Design) พร้อมมุ่งเน้นให้พนักงาน บุคลากร และลูกค้าตระหนักเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมจัดอบรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคลากรในองค์กร ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ บุคคลหรือนิติบุคคลที่ดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะปฏิบัติหน้าที่เก็บ ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เป็นผู้ดำเนินการจัดมาตรการดูแลความปลอดภัยข้อมูลให้มีความเหมาะสม จัดทำและเก็บรักษาบันทึกรายงาน และเมื่อเกิดเหตุละเมิดจะต้องแจ้งแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลให้ทราบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ฉบับนี้จะใช้บังคับกับผู้ประกอบการที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าการเก็บข้อมูล การใช้ข้อมูล หรือการเปิดเผยข้อมูลจะเกิดขึ้นในประเทศหรือต่างประเทศก็ตาม หากกระทำผิดจะต้องได้รับบทลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องควรปฏิบัติดูแลข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัดรัดกุม บทลงโทษของผู้กระทำความผิดโทษทางอาญา– จำคุกสูงสุด 1 ปี– ปรับสูงสุด 1 ล้านบาท โทษทางแพ่ง– จ่ายค่าเสียหายตามจริง รวมถึงค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษสูงสุดสองเท่าของค่าเสียหายตามจริง โทษทางปกครอง– ปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท

admin mfec

admin mfec

Effective meeting ฉบับ WFH

การรักษาเวลาการประชุม– เข้าห้อง Conference Call ก่อนเวลาอย่างน้อย 3-5 นาที– Check อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ไมค์ ลำโพง และการเชื่อมต่อ ให้มีความพร้อมในการสนทนาอย่างต่อเนื่อง Schedule และ Agenda– ควรมีการนัดหมายเวลาในการเข้าประชุมก่อนล่วงหน้า– การนัดประชุม ต้องส่ง schedule ให้ผู้ที่ต้องเข้าร่วมประชุม เพื่อให้ทุกคนเตรียมความพร้อม– ควรส่ง Agenda ให้ผู้เข้าร่วมประชุม รับทราบถึงเวลาในการเข้าประชุม หัวข้อในการประชุม รวมถึงวัตถุประสงค์ในการประชุมด้วย R&R ชัดเจน– ทุกการประชุมควรแบ่งให้ชัดเจนว่าใครมีหน้าที่อะไร เช่น ใครจะเป็น Host ในการประชุม ใครต้องเข้าประชุมบ้าง และใครเป็นคนจด MOM เป็นต้น จดจ่อ และมีสมาธิเสมือนอยู่ในห้องประชุม– มีการเตรียมข้อมูลก่อนการเข้าประชุม เปิดข้อมูล หรือ Slide ที่เตรียมมาพร้อมในการ Share Screen– หากมีการนัดหมายล่วงหน้า ไม่ควรทำกิจกรรมอื่นร่วมด้วยขณะประชุม เช่น ระหว่างเดินทาง หรือออกไปซื้อของ– ควรอยู่ในตำแหน่งที่นั่งทำงานจริงตามความเหมาะสม เพื่อไม่รบกวนสมาธิทั้งของตนเอง และเพื่อนร่วมประชุม-ฟังอย่างตั้งใจ เสมือนนั่งประชุมในห้อง เพื่อจะได้ทราบถึงรายละเอียดในการประชุม และจบการประชุมภายในระยะเวลาที่กำหนด MOM สรุปทุกการประชุม– ควรมี MOM สรุปในทุกการประชุม เพื่อให้ทราบถึงข้อสรุปทั้งหมด และทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน

admin mfec

admin mfec

ตอนที่ 3 รวบรวมข้อมูล ซอฟต์แวร์ฟรี ทำงานที่บ้าน ลดความเสี่ยง COVID-19

ดูเหมือนว่าการ Work from Home จะเป็นวิธีที่หลายๆ บริษัทนำมาใช้ในวิกฤตความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อไวรัส COVID-19 เราจึงได้รวบรวมข้อมูล ซอฟต์แวร์ฟรีมาให้ทุกคนได้ใช้ เพื่อช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้มีความเป็นระเบียบและง่ายต่อการนำไปใช้ Google DriveGoogle Drive เป็นบริการ Online Service ประเภท Cloud Technology ที่ผู้ใช้สามารถจัดเก็บข้อมูล ไฟล์เอกสาร ไฟล์รูปภาพ หรือไฟล์ประเภทต่าง ๆ ลงไปได้ ผู้ใช้จะสามารถเปิดดูไฟล์ที่ใดก็ได้บนอุปกรณ์ และยังสามารถเชิญผู้ใช้อื่นๆ เข้ามาดูไฟล์ของคุณได้ทาง Gmail Drop BoxDrop Box บริการฝากไฟล์ รวมถึงซิ้งค์ไฟล์ แชร์ไฟล์ ที่สามารถจัดการได้อย่างสะดวกบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เหมือนจัดการไฟล์ในคอมของเราเองไม่ว่าเราจะเล่นคอมพิวเตอร์ที่ไหนหรือว่าเล่นที่เครื่องใคร ก็สามารถจัดการกับไฟล์งานของเราได้ ซึ่งต้องติดตั้งโปรแกรมของ Drop box ก่อนจากนั้นก็โยนไฟล์ลงไปในโฟลเดอร์ก็จะถูกอัพโหลดไปเก็บไว้ใน Server ของ Drop box โดยทันที แค่เพียงมีการต่ออินเตอร์เน็ตกับคอมพิวเตอร์ One DriveOne Drive เป็นบริการ cloud ของ Microsoft ที่เชื่อมต่อคุณกับไฟล์ทั้งหมดของคุณ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถจัดเก็บและป้องกันไฟล์ของคุณแชร์ไฟล์กับผู้อื่นและเข้าถึงไฟล์เหล่านั้นได้จากทุกที่บนอุปกรณ์ทั้งหมดของคุณ

admin mfec

admin mfec

ประชุมออนไลน์ | Work From Home ซอฟต์แวร์ฟรี ทำงานที่บ้าน ลดความเสี่ยง COVID-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายบริษัทมีมารตการให้พนักงานทำงานแบบ Work from Home ซึ่งการทำงานในระยะไกล อาจทำให้การสื่อสารเป็นเรื่องที่ยากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของการประชุม เราขอแนะนำแอปพลิเคชัน ที่จะเข้ามาช่วยให้ทุกคนประชุมออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ Slack Slack เปิดให้ทำการพูดคุยสื่อสารกันด้วย Video ได้ทั้งแบบ 1-1 และ Group สำหรับทำ Video Conference ภายในระบบ Video Call ของ Slack นี้ได้เสริมความสามารถในการ Chat, การส่ง Emoji, การยกมือเพื่อถามคำถาม, การกดชูนิ้วโป้งเพื่อแสดงความเห็นด้วย และอื่นๆ อีกมากมาย Microsoft Teams Microsoft Teams ทำงานทางไกลโดยไม่รู้สึกว่าอยู่ไกลกัน ฮับสำหรับการทำงานเป็นทีมใน Office 365 สามารถเชิญทุกคนที่คุณร่วมงานด้วย ให้แชท ประชุม โทร และทำงานร่วมกันในที่เดียว ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ในส่วนของการประชุมที่ต้องอาศัยความถี่บ่อยๆ เช่น Daily Meeting ทุกวัน อาจจะไม่ต้องจดบันทึกการประชุมให้วุ่นวาย แต่ใช้ Microsoft Teams ที่เข้าร่วมประชุมได้จากทั้งเดสก์ท้อป เว็บ และโมบาย รวมทั้งสามารถ Record การสนทนาทั้งหมดและจัดเก็บไว้บน Microsoft Streams ได้ทันที Cisco WebEx Cisco WebEx เป็นโปรแกรมแบบ Web Conference มีขั้นตอนการใช้งานที่ง่ายและประหยัดเวลา ใช้งานผ่าน web browser เช่น Mozilla Firefox ,IE ,Chrome เป็นต้น ทุกห้องที่เข้าร่วมประชุมจะต้องล็อกอิน (Log in) เพื่อเข้าโปรแกรม WebEX จากอีเมล์ที่แจ้งนัดการประชุมก่อนจึงจะสามารถประชุมร่วมกันได้ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ Notebook ที่ใช้นั้นควรติดตั้งกล้อง ไมโครโฟน และลำโพงเพื่อช่วยเพิ่มระดับเสียงในการสนทนาช่วยให้การทำงานร่วมกัน จากอุปกรณ์เคลื่อนที่ เดสก์ท็อป หรือห้องประชุมมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

admin mfec

admin mfec

เตรียมความพร้อม เมื่อต้อง Work from Home

งานวิจัยของบริษัทชื่อ FlexJobs สำรวจพนักงาน 7,000 คนเกี่ยวกับการทำงานแบบ Work from Home พบว่า 65% รู้สึกว่าตัวเองมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะไม่ต้องถูกเพื่อนร่วมงานคอยขัดจังหวะเหมือนตอนทำงานในออฟฟิศ และไม่เครียดจากปัญหาการจราจรด้วย ตอนนี้หลายบริษัทได้นำการ Work from Home มาใช้ในสถานการณ์ที่ COVID-19 ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง แต่ดูเหมือนว่าการ Work from Home นั้นจะยังเป็นอะไรที่ใหม่มากๆ สำหรับใครหลายๆ คน งั้นเรามาดูวิธีการเตรียมตัวความพร้อมในการ Work from Home สำหรับมือใหม่กัน ดึงงานขึ้นออนไลน์สำหรับบริษัทหรือแผนกที่ยังไม่เคยคิดถึงการทำงานในลักษณะ Work from Home มาก่อนเลย อาจจะต้องเริ่มจากการมองว่าจะปรับเปลี่ยนอย่างไรให้งานของเรายังเดินต่อไปได้แม้ไม่ได้เข้ามาเจอกันทุกวัน เช่น การติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมเพื่อให้งานสามารถทำได้เสร็จสิ้นผ่านระบบออนไลน์ได้ เป็นต้น วางแผนการติดต่อสื่อสารในส่วนของการติดต่อสื่อสารถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก จึงต้องเรียนรู้ที่จะนำเอาแอปพลิเคชันต่างๆ เข้ามาช่วยในการติดต่อสื่อสาร ตั้งแต่ระดับสองคนไปจนถึงทีมงานที่มีคนเยอะ ซึ่งการเลือกใช้แอปพลิเคชัน ในการนำเข้ามาช่วยนั้น ทุกคนในทีมจะต้องทราบและมีความเข้าใจที่ตรงกันด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดของการสื่อสาร สร้างพื้นที่สำหรับการทำงานสำหรับคนที่ไม่เคยทำงานที่บ้าน สิ่งแรกที่ต้องทำคือการหาพื้นที่ที่เราสามารถนั่งทำงานได้อย่างมีสมาธิ เช่น อาจเป็นที่โต๊ะกินข้าว หรือตั้งโต๊ะญี่ปุ่นที่มุมเล็ก ๆ ของห้อง บางคนอาจถนัดที่ระเบียงหลังบ้าน ฯลฯ ข้อเดียวที่ต้องมั่นใจในการเลือกที่นั่งก็คือ ถ้าไปนั่งแล้วอย่าให้กลายเป็นมุมพักผ่อน หรือเป็นมุมที่มีแต่คนมากวนใจจะดีที่สุด กำหนดเวลาการทำงานจากกิจวัตรประจำวันของพนักงานออฟฟิศที่จะมี Office Hour คอยกำหนดเวลาในการทำงาน เมื่อเปลี่ยนมาเป็น Work from Home เราก็ฃต้องกำหนดเวลาคร่าว ๆ ของตัวเอง และรักษาเวลานั้นให้ดี เช่น การตั้งค่าว่าจะทำงานระหว่าง 9.00 – 17.00 น. ส่วนเวลาหลังจากนั้นขอให้เป็นเวลาสำหรับตัวเองและคนรอบข้างบ้าง อย่าปล่อยให้งานเข้ามาครอบงำจนเรากลายเป็น 7-11 ที่ต้องพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงการสั่งงานผ่านอีเมลที่ควรจะลด ละ เลิก หากเป็นเวลาที่ดึกเกินพอดี เช่น 22.00 น. มืออาชีพแม้จะมีเด็กเล็กวิ่งเล่นสำหรับคนทำงานที่มีลูก ช่วงนี้อาจปวดหัวคูณสอง เพราะการ Work from Home อาจหมายถึงการต้องเลี้ยงลูกอยู่กับบ้านไปด้วย แน่นอนว่าการทำงานในบ้านที่มีเด็กไม่ใช่เรื่องง่าย จึงจะต้องมีความเป็นมืออาชีพที่จะทำทั้งสองอย่างให้ออกมาดีพร้อมๆ กัน

admin mfec

admin mfec