Skip links
View
Drag

MFEC

Tags

EP.3 เจาะลึก API Hybrid

รูปนี้คือความสามารถที่ APIGee มีครับ สื่อภาพออกมาเหมือนพื้นที่บ้าน(บริษัท) ที่มีการจัดวางสัดส่วนใช้สอยและสิทธิ์การเข้าถึงในพื้นที่ต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่จุดเข้าของ ผู้ใช้งาน (User, Partner) ที่จะเข้ามาใช้คุณสมบัติต่างๆ ของ “Core Engine” ผ่าน การออกแบบของ “Design API” ควบคุมความปลอดภัย เงื่อนไขข้อกำหนดต่าง ๆ โดย “Secure API” เพื่อผ่านเงื่อนไขจะเข้ามาพูดคุยกับผู้บริการ (API ที่เราเปิด Publish) โดยนับตั้งแต่ผู้ใช้งานก้าวเข้ามาในพื้นที่จะมีการติดตามดูแลเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรม ประสิทธิภาพการให้บริการโดย “Analysis API” และ “Monitor API” จากนั้น หากเป็นการให้บริการแบบมีเงื่อนไข ค่าใช้จ่าย จะมีส่วนงาน ที่คอยควบคุมการคิดเงิน การให้เข้าถึงตามสิทธิ์ที่ได้ตกลงกันไว้ โดย “Monetize API” ประมาณว่าคนนี้ VIP ก็แบบ บริการรวดเร็วทันใจไวเว่อร์ แต่หากเป็นผู้ใช้ทั่วไปอย่างผม ก็เข้าคิวรอเรียกรับบริการ API ตามหน้างานไป แบบนี้ครับ จากรูปนี้จะเห็นว่าบริษัทนี้เป็นบริษัทที่มี “Core Engine” (I) หลากหลาย เนื่องด้วยความเติบโตจากความต้องการของตลาดโดยแต่ละ “Core Engine” ต้องเร็ว ต้องทันตลาด จึงมีการพัฒนาแบบแยกส่วน ต่างต้องเสร็จ ให้รองรับ Business direction ที่กำกับลงมา ดังนั้น “Core Engine” จึงแยกกันเติบโต และ โดดเดี่ยว (โห..ดูเหงา แต่เรื่องจริงครับ) คำว่าแยกกัน จึงทำให้การสื่อสารระหว่างกันนั้นมีได้เพียงการสื่อสารผ่าน การเขียนถึงกัน (File) และจะคุยกันได้เป็นรอบ ๆ (Batch) จึงทำให้ แต่ละระบบ ต้องมานัดกันว่า จะมีการ สรุปข้อมูลที่ต้องการ ในช่วงเวลาใด และ ต้องปิดระบบ เพื่อมาเขียนไฟล์ ให้ข้อมูลคงที่อย่างไร มาถึงตรงนี้ หากเปรียบเทียบความเป็นจริงในงานผู้ดูแล (Product owner) หรือคนที่รู้เกี่ยวกับระบบตัวเองทุกระบบต้องมาคุยกันในช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการเขียน เพื่อสื่อสารแบบครบถ้วนเพราะบางระบบต้องหยุดเพื่อเขียนสรุป (ไม่อย่างนั้นจะเขียนข้อมูลใหม่ไปเรื่อยๆ เป็นต้น) จึงต้องมีการคุยรอบของการส่งข้อมูลระหว่างกันที่มีความละเอียดอ่อนและต้องระมัดระวัง ส่วนของการเปิดให้บุคคลภายนอก เช่น ผู้ใช้งานหรือลูกค้า (User, Client) คู่ค้า (Partner) ก็ยิ่งเป็นเรื่องยากเพราะการสื่อสารผ่านการเขียน (File) ใช้ไม่ได้ในทุกกรณี แต่กรณีในบ้าน พอกำหนดข้อตกลงบนข้อจำกัดได้ การเปิดให้บุคคลภายนอกได้เข้าใช้งานจะช่วยให้ธุรกิจก้าวกระโดดอย่างมากเนื่องจาก “Core Engine” เป็นระบบที่คู่ค้าสร้างเองไม่ได้หรือสร้างได้ก็ลงทุนมหาศาล แถมประสบการณ์ไม่เท่ากับคนที่อยู่ในสายธุรกิจนี้มายาวนาน การแลกเปลี่ยนความสามารถที่เกื้อกูลกัน ก็จะทำให้ธุรกิจเติบโตได้ดีและตอบโจทย์ความต้องการของปัจจุบันได้อย่างมาก การจะให้บุคคลภายนอกมาติดต่อโดยตรง ความปลอดภัยและการติดตามว่าใช้งานอะไร รวมถึงดูแลคุณภาพการให้บริการที่ดีเยี่ยมตามเงื่อนไขบริการ (SLA) เป็นสิ่งที่เติมเต็มให้กับระบบ “Core Engine” ได้ยาก เพราะการจะปรับปรุงพัฒนาอาจส่งผลกระทบหรือใช้ทั้งเวลาและเงินทุนมหาศาล ข้างต้นนั้น คือความวุ่นวายและความยากของระบบ “Core Engine” (หรือบางที่เรียก Legacy system) จากปัญหาเหล่านั้น ลูกค้ารายนี้เลือก APIGee ในรูปแบบ “APIGee Hybrid” เพื่อมาตอบโจทย์ทั้งการบริหารจัดการ/ให้บริการภายในและการให้บริการภายนอก โดยมีหลักการอย่างไรบ้าง มาติดตามกันต่อเลยครับ #Business understanding (เข้าใจภาพใหญ่ก่อนลงมือ)เนื่องจากระบบมีความหลากหลาย

MFEC

MFEC

เคล็ดลับการบริหารธุรกิจ “คน” คือหัวใจสำคัญ

เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ย่อมเติบโตเป็นต้นไม้ที่สวยงาม บุคลากรก็เช่นกัน คุณเล้ง ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ซีอีโอของบริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC ใช้แนวคิดดังกล่าวในการคัดเลือกบุคลากร ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ MFEC เติบโตเป็นบริษัทไอทีที่มีโครงสร้างแข็งแรงได้ในปัจจุบัน “เราควรจะหาเมล็ดพันธุ์ที่มีลักษณะดีของมัน เพราะฉะนั้นการคัดเลือกคนที่ถูกต้องเข้ามาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด” แต่จะเลือกคนที่ถูกต้องได้อย่างไรนั้น คุณเล้งอธิบายว่า หัวใจสำคัญของการเลือกคน คือ ‘การดูคนให้เป็น’ โดยมีหลักการที่น่าสนใจ ได้แก่ การไม่ถาม และคุณสมบัติถ่ายทอด จะเฟ้นหาคนที่ใช่ อย่าถาม ให้เชื่อในวิจารณญาณของเราในการดู อย่าเชื่อในสิ่งที่เขาบอก มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อน สิ่งที่พูดมักจะไม่ตรงกับสิ่งที่คิด ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม นอกจากนั้น บางคำถามก็ไม่มีประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น คำถามที่มีคำตอบอยู่แล้วในบริบทนั้น ๆ เช่น ถ้าหัวหน้าถามลูกน้องว่า รักองค์กรไหม ลูกน้องก็ต้องตอบว่า รัก อยู่แล้ว นอกจากนี้ การไม่ถามจะบังคับให้เราต้องใช้การสังเกต ซึ่งเป็นวิธีที่แม้จะใช้พลังงานเยอะกว่าแต่ก็มีความแม่นยำมากกว่าเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ การไม่ถามจึงเป็นทางเลือกที่ดีสุด เมื่อรู้ถึงเทคนิคที่ใช้ในการดูแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การรู้ว่าจะดูอะไร การดูคนควรเริ่มจากการกำหนดคุณสมบัติหลักที่ต้องการจะดู โดยอาจเลือกระหว่างคุณสมบัติที่ต้องการหรือคุณสมบัติที่ไม่ต้องการ และคุณสมบัตินั้นจะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงตัวตนโดยรวมได้ โดย คุณเล้งได้แนวคิดนี้จากคุณสมบัติการถ่ายทอดซึ่งเป็นคุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ที่ ถ้า A = B และ B = C จะสรุปได้ว่า A มีค่าเท่ากับ C หากลองสังเกตคนรอบตัวก็จะเห็นได้ว่า คนที่มีความกตัญญู มักจะเป็นคนที่ใจกว้าง เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าคุณสมบัติบางอย่างสามารถเชื่อมโยงไปยังคุณสมบัติอื่นได้ โครงสร้างที่แข็งแรงของ MFEC จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากปราศจากบุคลากรที่มีคุณภาพ ดังนั้น คุณเล้งจึงหมั่นฝึกฝนทักษะ และหากลยุทธ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอเพื่อที่จะดูคนให้เป็น และให้ความสำคัญกับการคัดเลือกบุคลากร เพื่อเฟ้นหาเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม เป็นเมล็ดพันธุ์ที่พร้อมเติบโตเป็นต้นไม้ที่สมบูรณ์ด้วยการดูแลของ MFEC ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพของพนักงานทุกคนให้เกิดผลลัพธ์ที่ Always Exceed Expectations

MFEC

MFEC

Tags

EP.2 “API Gateway”

จากบทความที่แล้ว ได้พูดถึงคนกลางที่ชื่อ “API Gateway” มีหน้าที่บริหารจัดการทั้งการสื่อสาร การจัดการสิ่งที่ “Core Engine” แต่ละตัวต้องการแตกต่างกัน ให้สามารถเชื่อมต่อสื่อสารกันได้อย่างสมบูรณ์ ในพาร์ทนี้ จะบอกเล่าอีกขั้นของตัวกลางนั้นในชื่อว่า “API Management” โดยความสามารถจะทั้งเป็นตัวกลาง ตัวประสานงาน การจัดการด้านข้อกำหนดของการสื่อสาร จำนวนข้อความที่จะสื่อสารระหว่างกัน การซ่อนหรือการเพิ่มหรือแม้แต่การแก้ไขบางส่วน ก่อนส่งหรือรับกลับ สามารถจัดการได้ทั้งบน Cloud และ On-premise และผ่านตัวบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ (Single pane of glass) APIGee Hybrid เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่ง ที่มีความสามารถครอบคลุมที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งนั้นเป็นแค่เพียงบางส่วนของความสามารถทั้งหมดครับ #APIGee เป็นผลิตภัณฑ์ กลุ่ม “API Managment” หากอ้างอิงตาม Gartner จะมีการกำหนดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่ใช้ในการประเมินดังนี้ 1. Devloper portals : ระบบบริการตนเอง (เหมือนเป็นพวก self-portal, self-services ครับ) ที่อำนวยความสะดวกให้ ผู้ใช้งาน (ไม่ว่าจะผู้ดูแลระบบ, developer ที่จะเข้ามาใช้งาน, หรือกลุ่มผู้ใช้งานต่าง ๆ) สามารถเข้ามาเพิ่มลด กำหนด ตั้งค่า ต่างๆ เพื่อใช้งาน API ที่ต้องการได้ มองทั้งความครบถ้วนของการกำหนด ค่าสำหรับ API – ความละเอียด ของการลงค่ากำหนด อย่างเหมาะสม (ไม่ซับซ้อน หรือ ละเอียดจนเกินจำเป็น แบบว่ามีไปก็เก๋ดี แต่ไม่ได้ใช้งาน เพราะบางระบบลงขนาดเหมือนให้เขียน code ส่วนนั้นเองไปเลยก็ fine gain ไปนิดส์) – ความไม่ซับซ้อน ของการกำหนดค่าต่างๆ เพราะบางที ทำ ๆ ไป งง ว่าทำถึงไหน เกี่ยวกับหน้าจอเมื่อครู่อย่างไร ทำไปทำมา ขอเริ่มทำใหม่ หรือ ไม่ก็ต้อง จดละเอียดมาก ๆ เพื่อให้การกำหนดค่า ทำได้ครบถ้วนไม่หลงทาง – ความชัดเจนของการกำหนด เงื่อนไขต่างๆ มี UI ที่บอกว่ากำหนดถึงขั้นตอนไหน (ลดความซับซ้อน จากที่กล่าวข้างต้น) และเงื่อนไขต่างๆ ไม่ขัดแย้งกันเอง ระหว่างการกำหนดค่าใช้งาน 2. API Gateways : มีระบบบริหารจัดการ ระบบประมวลผล (Runtime) รวมถึง ค่าความปลอดภัย และการใช้งานของ API ที่เราสร้างขึ้นมา เพื่อให้สามารถติดตาม ได้ว่าการทำงานเป็นไปตามที่ต้องการขณะประมวลผล (Runtime) และหากมีบางอย่างไม่ถูกต้อง ระบบสามารถสื่อสารกลับมาให้ผู้ใช้งานเข้าใจและ เข้าถึงเพื่อแก้ไข ได้สะดวกเพียงใด 3. Policy management and analytics : การกำหนดค่าต่างๆ เช่นค่าความปลอดภัยของ API (Security), API Mediation Layer (API ML) ที่มีความฉลาดในการจัดการ การสื่อสารเป็นตัวกลางที่ดีและปลอดภัยระหว่างกัน

MFEC

MFEC

Tags

EP.1 อุปสรรคในการสื่อสารของ “Core engine”

ปัญหาการสื่อสารมีแม้ในระบบไอที หากมีคนกลางที่ดี ระบบไอทีจะกลายเป็น innovation อย่างก้าวกระโดด 1. ในระบบไอทีที่เราเคยมีมา ล้วนเป็นระบบที่มีคุณประโยชน์อย่างมาก และ เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันสำหรับคนทั่วไป เช่น- ระบบโอนเงินต่างธนาคาร ที่ต้องมีความถูกต้องแม่นยำ และเกี่ยวข้องกับการเงิน- ระบบข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ ที่มีนักลงทุนจำนวนมหาศาลใช้งาน ระบบจึงต้องตอบสนองได้เป็นปัจจุบัน เพราะข้อมูลที่ล่าช้าเพียงไม่กี่วินาที อาจหมายถึง มูลค่าของกำไร/ขาดทุน ที่จะส่งผลให้นักลงทุน หมดความเชื่อถือ- ระบบทางการแพทย์ ที่ต้องเข้าถึงข้อมูลบุคคล ตรวจสอบประวัติไข้ การประกันสุขภาพและประกันชีวิต เพื่อ ให้การรักษาแม่นยำ และ ผู้ป่วยมีการช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่าย อย่างถูกต้องตามเงื่อนไขที่ระบุ ระบบเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วน ที่มีแก่นของการประมวลผลสำคัญ ผมจะขอเรียกว่า “Core engine” นะครับ โดยมีต้นกำเนิดจากความต้องการของธุรกิจตั้งต้น และเติมความสามารถต่าง ๆ เฉพาะทางเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ “Core engine” เหล่านั้น มีความเฉพาะตัว และ ยากต่อการสื่อสาร ไปยัง ระบบอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ใน ธุรกิจของตนเอง แต่ในปัจจุบัน การก้าวกระโดดทางความต้องการของผู้บริโภค วิ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีที่หลากหลาย ก็ออกมาเพื่อรองรับความต้องการเหล่านั้น 2. #ระบบคลาวน์ (Cloud computing) ที่มีเทคโนโลยี พร้อมใช้ ต่าง ๆ ทั้งระบบประมวลผล ที่จัดเก็บข้อมูลหลายประเภท ระบบพร้อมใช้งานทันที เรียกว่า พร้อมเหมือนจะทาน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสชาติ ต่าง ๆ เลยครับ #การจัดการผ่านระบบคลาวด์คอนโซล (Cloud console) จะสะดวกสบาย มือไม่เจ็บ (สมัยนั้น ต้องแกะ ถอด ประกอบ ใส่ บางทีก็มีงับมือ บาดมือกันบ้าง ครับ •^^) เพราะเป็นการกดเลือกผ่าน web application จาก Cloud console ที่เป็น Web application จะไปสั่งการผ่านตัวกลาง เหมือนเป็นคนสักคน ให้ไปถอดประกอบคอม ให้เราตามที่เราระบุค่าไว้ โดยตัวกลางนั้นเราเรียกว่า “#API (Application Programming Interface)” เอิ่มมม ผมขอเรียกว่า API เลยละกันนะครับ และเดี๋ยวผม พากลับเข้าเรื่อง ของ “Core Engine” ว่ามาเกี่ยวพันกับ “API” ได้ยังไงกันน๊า ที่ผมพา มาจุดนี้ เพียงเพราะอยากให้เห็นถึงความ ยาก จากการสั่งงานผ่าน Web application วิ่งไปยัง โครงสร้างพื้นฐานของระบบไอที เบื้องหลัง อาจจะมีทั้ง Virtualization, Container management, Multi-type of storage, Software define network และ อื่น ๆ ที่แต่ละชื่อ คือระบบที่ ทำหน้าที่ของตนเองเป็นหลัก แต่ไม่สามารถ รู้จัก ระบบข้างเคียงได้โดยง่าย

MFEC

MFEC

MFEC เดินหน้าสร้าง Impact ยกระดับมาตรฐานการให้บริการ

Impact เป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่จะพาองค์กรสู่ความสำเร็จ ในยุคโลกาภิวัตน์ที่กระแสเทคโนโลยีเปลี่ยนไปตลอดเวลา การทำงานรูปแบบดั้งเดิมหรือการทำทุกงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จสมบูรณ์ อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดอีกต่อไป เมื่อความสำคัญของงานแปรเปลี่ยนไปตามเวลา การเลือกทำเฉพาะงานที่สร้าง Impact คืออีกหนึ่งทางเลือกใหม่ที่จะทำให้องค์กรสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ในปัจจุบัน MFEC เดินหน้าด้วยแนวคิดการทำงานเพื่อสร้าง More Impact ทำให้องค์กรมีการเติบโตอย่างมั่นคงท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม อย่างไรก็ตาม MFEC ไม่หยุดที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คุณเล้ง ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ซีอีโอของบริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC เผยว่า ความท้าทายล่าสุดของ MFEC คือการผลักดันให้บุคลากรภายในองค์กรได้แสดงศักยภาพที่แท้จริงออกมา ตลอดระยะเวลาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทขึ้นมา MFEC ได้สั่งสมประสบการณ์และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปัจจุบัน บริษัทมีโครงสร้างที่แข็งแรง ประกอบไปด้วยความน่าเชื่อถือจากผลงานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความมั่นคงทางการเงิน และบุคลากรที่มีคุณภาพ แต่ถึงอย่างนั้น คุณเล้งกลับรู้สึกว่าจุดแข็งเหล่านี้ยังไม่สามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ได้อย่างเต็มศักยภาพ ด้วยเหตุนี้ คุณเล้งจึงมี Passion ที่จะทำให้ศักยภาพของ MFEC เป็นที่ประจักษ์ในวงกว้าง MFEC จะต้องเป็นบริษัทที่สามารถใช้ทรัพยากรอันทรงคุณค่าที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็น ความแข็งแรงในเชิงองค์กร ประสบการณ์ การรู้ความต้องการของลูกค้า และความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี ในการสร้าง More Impact ต่อสังคม โดยมุ่งที่จะผลักดันศักยภาพอันไร้ขีดจำกัดของพนักงาน เพื่อสร้างสรรค์เทคโนโลยี และยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคน

MFEC

MFEC

More Impact กุญแจสำคัญในการรับมือความเปลี่ยนแปลงสู่โลกอนาคต

เวลาที่ไม่หยุดเดินกับสังคมที่เกิดการ Disruption ตลอดเวลานำมาซึ่งการตั้งคำถามว่า MFEC ในฐานะบริษัทไอทีที่ดำเนินกิจการมายาวนานถึง 25 ปีจะมีแนวทางในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตต่อไปได้อย่างไร ในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจคือการผลักดันองค์กรให้มุ่งสู่ More Impact ‘คุณเล้ง ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร’ ซีอีโอของบริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC เปิดเผยถึงกลยุทธ์ที่จะทำให้ MFEC เติบโตอย่างยั่งยืน More Impact จะทำให้เกิดการทำงานเพื่อ ‘ความสำเร็จ’ ไม่ใช่ทำงานแค่ให้ ‘เสร็จ’ เพราะความสำคัญของงานนั้นไม่ยั่งยืน การทำงานโดยยึดหลัก More Impact จึงเป็นสิ่งสำคัญ การตั้งคำถามถึงความสำคัญของงานว่า งานที่ทำอยู่ในปัจจุบันมี impact ไหม สามารถสร้างประโยชน์ได้หรือไม่ เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจสามารถปรับตัวตามกระแสโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ การทำงานโดยมุ่งไปที่การสร้าง Impact จะทำให้เกิดการทำงานที่สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพและผลิตภาพ การทำงานเพื่อให้เกิดความสำเร็จจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยการพิจารณาถึง Impact ของงานเป็นปัจจัยสำคัญในการวัดผลเพื่อทำให้เกิดการต่อยอดหรือปรับปรุงธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ก่อนจะก้าวไปข้างหน้า ต้องรู้จักจุดที่ยืนอยู่ การจะสร้างธุรกิจที่สร้าง Impact ได้ต้องเริ่มจากการเข้าใจธุรกิจ เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ และเข้าใจว่าเทรนด์ธุรกิจจะไปในทิศทางไหน หากมีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ ก็จะสามารถระบุถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อลูกค้าได้และนำข้อมูลมาใช้ในการปรับธุรกิจให้ส่งเสริมธุรกิจของลูกค้า แทนที่จะสร้างภาระในต้นทุนที่สูง ด้วยเหตุนี้ บุคลากรที่จะสามารถพาองค์กรไปสู่ More Impact ได้จะต้องเป็นคนที่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาและเข้าใจวัตถุประสงค์ของการทำงาน คุณสมบัติดังกล่าวจะทำให้สามารถตามทันความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและเข้าใจธุรกิจของลูกค้ามากขึ้น ทำให้สามารถระบุปัญหาของลูกค้า เพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถหา S-curve ใหม่ได้ การเติบโตของ MFEC ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เป็นหนึ่งในตัวอย่างของการปรับตัวตามกระแสธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ โดยองค์กรมีการปรับตัวอย่างรวดเร็วและรุนแรงเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ทั้งองค์กรและธุรกิจของลูกค้าเติบโตได้ ก้าวต่อไปของ MFEC เพื่อมุ่งสู่ More Impact “ถ้าพรุ่งนี้บริษัท MFEC ปิดไป มันควรจะมีความสะเทือนต่อลูกค้า ต่อโครงสร้างไอทีของประเทศนี้” นี่คือเป้าหมายสูงสุดที่คุณเล้งตั้งไว้สำหรับอนาคตของ MFEC เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ บุคลากรในองค์กรจำเป็นจะต้องเค้นเอาความสามารถทางการแข่งขันของตนเองออกมา ความสามารถในการแข่งขันในที่นี้ หมายถึง การรวมประสานระหว่าง การรู้ความต้องการของลูกค้า การรู้ปัญหาของลูกค้า การรู้เทคโนโลยี และการมีประสบการณ์ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่สร้าง Impact ต่อลูกค้า สามารถเพิ่มพูนความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจของลูกค้าได้สูงสุดซึ่งตอบสนองกับความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน ที่ต้องการของที่ราคาถูกลงและสามารถส่งเสริมสภาพการแข่งขันเชิงธุรกิจมากขึ้น

MFEC

MFEC

MFEC จับมือ V-Key Inc 

บริษัทซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในสิงคโปร์ V-Key เป็นผู้พัฒนา V-OS ซึ่งเป็นเทคโนโลยี Virtual Secure Element แรกของโลกและได้รับการจดสิทธิบัตรในระดับนานาชาติ เทคโนโลยี V-OS ใช้วิทยาการเข้ารหัสขั้นสูงและระบบป้องกันความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานที่ก่อนหน้านี้สงวนไว้สำหรับโซลูชันฮาร์ดแวร์ที่มีราคาแพงเท่านั้น โดยเทคโนโลยี V-OS ได้รับมาตรฐาน FIPS 140-2 Validated (US NIST) และผ่านการรับรองจาก Infocomm Media Development Authority (IMDA) ของประเทศสิงคโปร์ เทคโนโลยีที่บุกเบิกโดย V-Key ช่วยขับเคลื่อนโซลูชันที่มีความปลอดภัยสูงเป็นพิเศษสำหรับระบบจัดการการระบุตัวตนทางดิจิทัล การยืนยันตัวตนของผู้ใช้และการอนุญาตการเข้าถึง และระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธนาคารขนาดใหญ่ ผู้ให้บริการรับชำระเงินออนไลน์ และหน่วยงานของทางราชการ รวมถึงสร้างประสบการณ์การใช้งานที่น่าพึงพอใจพร้อมระบบความปลอดภัยที่หนาแน่นไปพร้อมกัน More about V-Key : www.v-key.com

MFEC

MFEC

MFEC จัดงานประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2565 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Meeting)

เพื่อแถลงผลการดำเนินงาน และรายงานผลประกอบการให้กับผู้ถือหุ้นฯ ตามวาระการประชุม โดยมีคุณศิริศักดิ์ ถิรวัฒนางกูร ประธานกรรมการ พร้อมด้วยคุณศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ประธานกรรมการบริหาร และคุณธนกร ชาลี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ รวมถึงคณะกรรมการบริษัทฯ ณ ห้องประชุมของบริษัทชั้น 23 อาคารเอสเจ อินฟินิท วัน บิสซิเนส คอมเพล็กซ์ โดยการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นในครั้งนี้ มีข้อสรุปรายงานผลการดำเนินงานของบริษัทในรอบปี 2564 ที่ผ่านมา ดังนี้- Business Performance Results : MFEC เติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้ 15%- Key Performance Results : มี Backlog เพิ่มขึ้น 1.2 พันล้านบาท- Corporate Governance : ได้รับการประเมินโดยคว้าคะแนนการประเมินได้ถึงร้อยละ 98 ซึ่งจัดอยู่ในระดับ “ยอดเยี่ยม”- Anti-Corruption Policy : ได้รับการรับรองให้เข้าเป็นสมาชิกของแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยบริษัทฯ ได้ยึดถือและปฏิบัติติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน (Anti-Corruption Policy) อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) จะดำเนินงานตามเป้าหมายในการบริหารให้ยอดขายเติบโตอย่างยั่งยืนได้ถึงปีละ 15% หรือเติบโตขึ้นเท่าตัวในทุก ๆ 5 ปี ผ่านการใช้ศักยภาพของ TIS Inc. ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยการวางแผนกลยุทธ์ร่วมกัน และคาดหวังว่าจุดแข็งของ TIS Inc. จะทำให้ MFEC เติบโตทั้งในประเทศไทย และในอาเซียนต่อไปในอนาคต MFEC Public Company Limited (MFEC) organized the Annual General Meeting of 2022 in a form of E-meeting to report business performance results and profits to shareholders according to the agenda of the meeting. The participants include Sirisak Tirawattanangkul, Board Chairman; Siriwat Vongjarukorn, Chief Executive Officer; Thanakorn Charlee; Chief Operating Officer and Board of Directors. The meeting was held at the company’s meeting room on the 23rd Floor

MFEC

MFEC

คณะอาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เดินทางเข้าเยี่ยมชม Cyber Security Operation Center (CSOC) ที่ MFEC

หลังจากลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU เมื่อวันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา คณะอาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เดินทางเข้าเยี่ยมชม Cyber Security Operation Center (CSOC) หรือศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ MFEC โดยมีคุณก่อกนก ภัทรเมธาวรกุล Senior Information Security Director และทีมงาน CSOC จากทีม Information Security ให้การต้อนรับในการศึกษาดูงาน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านกระบวนการบริหารจัดการ CSOC ในระดับองค์กร การผนึกกำลังระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมไอทีในครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และการวิจัยไปสู่เยาวชนคนรุ่นใหม่ให้สามารถนำไปต่อยอดการพัฒนาเทคโนโลยี Cyber Security Operation Center (CSOC) หรือศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในรูปแบบของมหาวิทยาลัยต่อไปในอนาคต

MFEC

MFEC

MFEC ร่วมสนับสนุนโครงการ New Generation Hackathon (NGH) จัดโดยสมาคมเยาวชน Startup

เมื่อวันที่ 2-4 เมษายนที่ผ่านมาสมาคมเยาวชนสตาร์ทอัพ (Young Entrepreneur Assembly Hub) ได้จัดโครงการ New Generation Hackathon (NGH) เปิดเวทีให้คนรุ่นใหม่ไฟแรงที่มีความสนใจในการสร้างนวัตกรรมหรือธุรกิจ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาความยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 45 คนจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 สาย ได้แก่ Business, Technology และ Design ในงานวันแรก ‘คุณอาร์ม ศิวะดิตถ์’ Chief Transformation Officer, MFEC ได้ให้เกียรติเข้าร่วมเปิดงาน โดยเล็งเห็นว่าเด็กกลุ่มนี้จะช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือธุรกิจใหม่ ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศต่อไปได้ นอกจากนี้ยังได้แนะนำให้น้อง ๆ ได้รู้จักกับ MFEC ในฐานะบริษัทไอทีที่พร้อมสนับสนุนความสามารถของเด็กรุ่นใหม่ไปให้ถึงขีดสุด นอกจากนี้ทาง Venture Lab บริษัทในเครือของ MFEC ยังได้ส่งตัวแทน ‘คุณพงศธร เปาลานวัฒน์’ Chief Technology Officer และ ‘คุณสรวิศ อัสสรัตนะ’ CEO, Talance เข้าร่วมเป็น Mentor แบ่งปันประสบการณ์และเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้เข้าแข่งขันทั้ง 45 คน ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก ‘คุณโชติมา สิทธิชัยวิเศษ’ CEO, Venture Lab ร่วมแบ่งปันประสบการณ์การในหัวข้อ “Endless Opportunity at Venture Builder” ให้น้อง ๆ ได้รู้จักกับ Venture Builder รวมถึงเรื่องราวของการทำ Startup พร้อมทั้งยกเคสตัวอย่างที่เข้าถึงได้ง่าย จับต้องได้ และสอดแทรกเคล็ดลับมัดใจนักลงทุน ให้น้อง ๆ ได้นำไปต่อยอดในการแข่งขันอีกด้วย

MFEC

MFEC