Skip links
View
Drag

MFEC

Giving is receiving ยิ่งให้ยิ่งได้

เมื่อโลกใบนี้เต็มไปด้วยการแข่งขัน ผู้คนมากมายต่างตั้งใจทำงานของตนเองจนเกือบลืมสิ่งที่เรียกว่า “การแบ่งปัน” ทั้งที่จริงแล้วสิ่งนี้เป็นกุญแจสำคัญที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จอย่างแท้จริงดั่งประโยคที่ว่า “ยิ่งให้ ยิ่งได้” ที่คุณเล้ง ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ซีอีโอของบริษัท เอ็ม เอฟ ซี อี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC เคยได้กล่าวไว้ คุณเล้งกล่าวว่า “มนุษย์นั้นถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คนกลุ่มแรกคือ Giver ผู้ที่มีความใจกว้าง และพร้อมมอบสิ่งที่ดีให้กับผู้อื่นเสมอ กลุ่มที่สองคือ Matcher เป็นกลุ่มคนที่จะทำเท่ากับสิ่งที่ได้รับตอบแทนมา และกลุ่มสุดท้ายคือ Taker เป็นกลุ่มที่ต้องการได้รับแต่ผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น” ถึงแม้มนุษย์จะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม แต่กลุ่มคนที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือ “Giver” เพราะคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่จะทำให้เกิดการแบ่งปัน และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้สังคมหรือองค์กรที่มีคนกลุ่มนี้เติบโตอยู่เสมอ ซึ่งแตกต่างจากองค์กรที่มีแต่ Taker ซึ่งมีแต่คนใจแคบ และเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก สุดท้ายองค์กรที่มีแต่คนประเภทนี้ก็ไม่สามารถไปต่อได้ เพราะขาดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังนั้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีแต่ Giver จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน นอกเหนือจากนี้ คุณเล้งยังกล่าวว่า “80% ของปัญหาองค์กรขนาดใหญ่เกิดจากผู้นำที่ใจแคบ” คุณเล้งได้ทำการศึกษามาว่าพนักงานหนึ่งคนส่วนใหญ่ใช้ความสามารถที่มีให้บริษัท 60% อย่างไรก็ตาม หัวหน้าที่ดี และใจกว้างสามารถทำให้พนักงานทำงานได้ถึง 80% และ 20% ที่เหลือนั้นคือกำไรของบริษัท เพื่อให้เห็นภาพ ถ้าบริษัทมีหัวหน้าที่ใจแคบ ไม่มีความเข้าอกเข้าใจลูกน้อง คนที่ทำงานด้วยก็อยากแค่ทำงานให้เสร็จไป หรือทำงานให้คาบเส้น แต่ถ้าบริษัทมีหัวหน้าใจกว้าง พร้อมสนับสนุนให้ลูกน้องได้เติบโต ลูกน้องที่ทำงานด้วยก็จะรักผู้นำ และพร้อมที่จะเต็มที่กับการทำงานให้ผู้นำได้เป็นอย่างดี ดังนั้นในการบริหารองค์กรให้คนในองค์กรรู้จัก “การให้” และสร้างสังคมแบบ “Giver” จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสิ่งที่ได้รับกลับมานั้นมากมายมหาศาล คนในองค์กรจะไม่ได้ทำงานเพียงเพราะต้องการผลประโยชน์ส่วนตนอย่างเดียว แต่พวกเขายังรู้สึกได้ถึงความผูกพันธ์ และความสัมพันธ์อันดีงามอันเนื่องมาจากการให้อย่างไม่มีสิ้นสุด ส่งผลให้บริษัทนั้นเติบโต และสร้างแต่ชื่อเสียงที่ดี ดั่งคำที่กล่าวว่า “ยิ่งให้ ยิ่งได้”

MFEC

MFEC

Tags

Multi-Platform APIM ด้วย Apigee Hybrid&Anthos

หากพูดถึง API คุณรู้ไหมว่ามันคืออะไร? API ย่อมากจาก Application Programming Interface คือการเชื่อมต่อระหว่างระบบหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลหนึ่งต้องการใช้ข้อมูลจากบริษัทประกันเพื่อต้องการที่จะรู้ว่าคนไข้ที่มารักษาที่โรงพยาบาลแห่งนี้ทำประกันกับบริษัทนี้จริงหรือไม่ก็ใช้ API ในการเชื่อมต่อเพื่อตรวจสอบข้อมูล ทำไมถึงต้องมี API? ในยุคปัจจุบันการทำงานระหว่างแอปพลิเคชันหรือแม้แต่ภายในแอปพลิเคชันก็มี API เป็นส่วนประกอบ เพราะฉะนั้นประโยชน์แรกของ API เลยก็คือใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างแอปพลิเคชันเรียกว่า Point of Integration ถัดไปคือแอปพลิเคชันแบบเก่า ๆ ที่เราอาจจะเคยเรียนมาเป็นแบบ standalone หรือ web application เราก็เปลี่ยนมาเป็นรูปแบบของ front-end และ back-end ที่มี API คั่นกลาง ซึ่งเราเรียกว่าการทำ Application Modernization เรียกว่าการเขียนใหม่หรือปรับปรุงใหม่เราก็ใช้ API ทั้งนั้น พอมี API เกิดขึ้นในแอปพลิเคชันแล้ว ถัดมาจึงทำให้เกิดการแชร์กันระหว่างแอปพลิเคชันพอ build up ขึ้นมาจะทำให้เกิด Ecosystems Ecosystems เป็นการเชื่อมต่อระหว่างแอปพลิเคชันหลาย ๆ แอปพลิเคชันหรือเป็นการเชื่อมต่อกันหลาย ๆ องค์กร โดยทั่วไปจะทำให้เกิดการ Transform ไปถึง Business Model ซึ่งมีการร่วมมือกันทางธุรกิจเกิดจากการแลกเปลี่ยน API ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเปิด Facebook สิ่งที่จะขึ้นเป็นอย่างแรกเลยก็คือบาร์สีฟ้า ซึ่งก็คือโครงสร้างของเว็บไซต์จะขึ้นก่อนส่วนที่ขึ้นตามมาทีหลังก็คือ content ต่าง ๆ ที่ขึ้นกันตามไทม์ไลน์ซึ่งก็คือการเรียกแต่ละ API สำหรับการดึงข้อมูลของ content แต่ละส่วนบนหน้าจอ API ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Ecosystems ล้อมรอบ API ตามทฤษฎีของ Ecosystems แบ่งเป็น 4 ระดับ 1. Internal Ecosystems คือ แอปพลิเคชันข้างในใช้กันเองหรือในองค์กรด้วยกันเอง 2. Partner Ecosystems คือ ธุรกิจเชื่อมต่อกันเป็นพาร์ทเนอร์แล้วเรียก API ข้ามกัน 3. Industry Ecosystems เช่น ในอุตสาหกรรมแบงก์หรืออุตสาหกรรมโรงพยาบาลอาจจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงธุรกิจในอุตสหากรรมเดียวกัน 4. Public Ecosystem บางองค์กรจะมี Open API สำหรับให้คนทั่วไปดูว่าทางองค์กรมีข้อมูลอะไรบ้างให้เรียกใช้และมี API key อะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น บริษัทน้ำมันมี API ให้คนทั่วไปเช็กราคาน้ำมันได้ หรือบริษัทการเงินมี API ให้คนเรียกดูอัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างประเทศได้ ถ้าหากเรามอง API เป็นสินค้าหนึ่งเรามาสามารถทำ API ของเราได้เพื่อหาเงินจาก API ที่เราสร้างขึ้นข้อมูลที่เราแชร์ออกไปอาจแชร์จากข้อมูล CRM Data ของตนเองหรือไปดึงข้อมูลจากคนที่แชร์ API ที่เป็นพาร์ทเนอร์ของเราก็ได้เช่นกัน ซึ่งต้องมีการกำหนดว่าใครสามารถใช้ API ได้มากน้อยแค่ไหนก็ต้องมี API management API management จะช่วยจัดการกรุ๊ป API ออกมาเป็นกลุ่มว่าสินค้าแต่ละกลุ่มเป็น API เกี่ยวกับอะไร ขั้นตอนในการ build up API

MFEC

MFEC

Tags

SQLite ฐานข้อมูลขนาดเล็กที่ศักยภาพมากกว่าที่คิด

ทุกวันนี้ระบบฐานข้อมูลนั้นสื่อสารกันด้วยภาษาคิวรีอย่าง SQL เป็นมาตรฐาน ระบบงานขนาดใหญ่ล้วนมีเบื้องหลังเป็นฐานข้อมูลที่มีความสามารถสูง ระบบฐานข้อมูลที่แยกออกจากแอปพลิเคชั่นทำให้การปรับปรุงประสิทธิภาพทำได้ง่ายขึ้น ระบบที่มีการคิวรีข้อมูลซับซ้อนมีคลัสเตอร์ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่กว่าเซิร์ฟเวอร์แอปพลิเคชั่นก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด แต่งานอีกประเภทหนึ่งที่ SQL กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงคือระบบฐานข้อมูลขนาดเล็กๆ ที่เก็บข้อมูลไว้ในแอปพลิเคชั่นต่างๆ โดยระบบฐานข้อมูลที่ได้รับความนิยมที่สุดในกลุ่มนี้คือ SQLite SQLite เป็นระบบฐานข้อมูลที่พัฒนาด้วยภาษา C และมีแนวทางการใช้งานที่ไม่ต้องแยกระหว่างระบบฐานข้อมูลออกจากตัวแอปพลิเคชั่น ทำให้ไม่ต้องเปิดพอร์ตเน็ตเวิร์คเพื่อเชื่อมต่อเข้าฐานข้อมูลแต่อย่างใด แต่ทำงานเหมือนการเปิดไฟล์ธรรมดา เพียงแค่คำสั่งอ่านและเขียนไฟล์นั้นจะกลายเป็นการคิวรีด้วยภาษา SQL นอกจากลักษณะการทำงานที่เฉพาะตัวของ SQLite แล้ว ตัวโครงการเองยังมีความพิเศษคือผู้พัฒนามอบโค้ดให้เป็นสมบัติสาธารณะ (public domain) ทำให้การนำโค้ด SQLite ไปใช้งานนั้นสามารถใช้งานได้อย่างอิสระเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการผสมโค้ดของ SQLite เข้าไปในโครงการซอฟต์แวร์อื่นๆ หรือการปรับปรุงดัดแปลงที่สามารถทำได้อย่างอิสระ ทุกวันนี้เราแทบจะพูดได้ว่าสมาร์ตโฟนทุกเครื่องในโลกจะมี SQLite ทำงานอยู่ภายใน คุณสมบัติสำคัญอย่างหนึ่งของ SQLite ที่เราใช้งานเป็นไฟล์ คือ ตัวไฟล์ฟอร์แมตที่ใช้เก็บข้อมูลนั้นเสถียรอย่างมาก ทีมงานระบุว่าจะพยายามรักษาให้ไฟล์ฟอร์แมตเสถียรไปถึงปี 2050 ทำให้ไฟล์ที่สร้างในวันนี้สามารถใช้งานได้ในอนาคต จนทำให้หอสมุดรัฐสภาสหรัฐฯ แนะนำให้ใช้ไฟล์ฟอร์แมตของ SQLite เป็นไฟล์เพื่อการเก็บรักษาชุดข้อมูลในระยะยาว เช่นเดียวกับฟอร์แมตอื่นๆ ที่อ่านได้ง่ายกว่า เช่น CSV, TSV Curate by วสันต์ ลิ่วลมไพศาล CTO, MFEC

MFEC

MFEC

รู้จักกับ Frankenstein OEE (Overall Equipment Effectiveness)

MFEC เรามีบริการเทคโนโลยี IoT ที่เลือกได้ตามความต้องการของทุกภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมพร้อมมุ่งสู่เป้าหมาย Smart City : Next Generation ในอนาคต วันนี้จึงจะพามาทำความรู้จักกับ 1 ใน Solution ของ IIoT (Industrial Internet of Things) ที่เป็นเทคโนโลยี Internet of Things สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมนั่นก็คือ “Frankenstein OEE (Overall Equipment Effectiveness)” เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร เพราะการใช้งานเครื่องจักรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจำเป็นต้องวางแผนการใช้งานเครื่องจักรให้มีกำลัง การผลิตที่เต็มเวลา รวมถึงการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่สม่ำเสมอ ซึ่ง Frankenstein OEE จะมาเป็นผู้ช่วยที่จะตอบโจทย์ได้ดีที่สุด #Frankenstein OEE ช่วยแก้ปัญหาระยะเวลาการผลิตสินค้าที่ไม่เท่ากันในแต่ละวัน (Cycle time) ปัญหาหยุดการผลิตบ่อยเพราะของเสียจากการผลิตมีจำนวนมาก (Unplan Downtime) ปัญหาไม่ทราบกำลังการผลิตของโรงงาน (Yield Capacity) และที่สำคัญจะทำให้การควบคุมมาตราฐานของเครื่องจักรมีคุณภาพสามารถทำงานได้อย่างเต็มสมรรถนะ สนใจสอบถามข้อมูลติดต่อได้ที่ Email: Ittikorn@mfec.co.th และสามารถ Download Brochure ได้ที่ https://www.mfec.co.th/th/iiot-solution/

MFEC

MFEC

Tags

สิ่งเล็ก ๆ ที่ถูกมองข้ามไปในการพัฒนา Software

การที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์หรือว่าการสร้างสรรค์ชิ้นงานขึ้นมา หน้าที่หลักของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ก็จะเป็นเรื่องของการรับ Input เพื่อนำไป Process ตาม Requirements ที่มีอยู่เพื่อให้ได้ Output ออกมา ซึ่งสิ่งที่ควรคำนึงถึงนั่นก็คือช่วงที่มีการรับ Input จากมุมมองของคนทำงานด้าน Security “การตรวจสอบ Input ยิ่งถูกตรวจสอบน้อย ยิ่งเป็นเหมือนสนามเด็กเล่นของ Hacker” เพราะการไม่ตรวจสอบ Input มักจะทำให้เกิดปัญหาด้าน Security ตามมา ปัญหาที่พบได้บ่อย เช่น SQL Injection, Cross-site Scripting (XSS) และอื่น ๆ ทำให้สิ่งเล็ก ๆ อย่างเรื่องแรกที่อยากให้นักพัฒนาเว็บไซต์คำนึงถึงคือการตรวจสอบ Input ที่รับเข้ามา จะทำให้ลดความเสี่ยงไปได้เป็นอย่างมาก ปัญหาต่อมาคือเรื่องของการตรวจสอบสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตที่มากเพียงพอ ตัวอย่างเช่น มีคนกรอก Username และ Password เข้ามา ตรงนี้จะถือเป็นเพียงการตรวจสอบว่าคนที่ทราบ Username และ Password แต่ไม่ได้มีการตรวจสอบสิทธิ์การเข้าถึงของเขา ดังนั้นจึงอยากให้ตระหนักว่าระหว่างที่เรากำลังพัฒนาซอฟต์แวร์ ก็ควรวางแผนในเรื่องของการทำ Authorization ให้ละเอียดมากพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่เรื่องของ Privacy เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ปัจจุบันมีผู้ใช้งานซอฟต์แวร์หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วผู้พัฒนาซอฟต์แวร์จะต้องมีการเตรียมรับมือ สำหรับการรองรับ Workload มหาศาลที่จะเข้ามา วิธีการรับมือกับสถานการณ์แบบนี้ทำได้ใน 2 มุม แบบแรก Scale up เป็นการขยายความสามารถของระบบโดยการเพิ่ม CPU เพิ่ม Memory เข้าไปให้รองรับ workload ได้ อีกวิธีจะเรียกว่า Scale out เป็นการขยายจำนวนระบบให้มีหลายเครื่องมากขึ้น ซึ่งแต่ละเครื่องก็จะทำงานสอดคล้องกัน ก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้รองรับ workload ที่เพิ่มขึ้นได้ แต่บางครั้ง Scale out ก็ไม่ได้ดีกว่า Scale up ในกรณีที่ผู้ใช้ไม่ได้มีจำนวนมาก และมีจำนวนคงที่ ก็จะไม่จำเป็นต้องทำ Application ให้พร้อมกับ Scale out ในการพัฒนาระบบการคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรก็เป็นเรื่องสำคัญ และมีบางปัจจัยที่อาจจะถูกมองข้ามเช่น Time Consuming การสิ้นเปลืองเวลาไปกับการขอข้อมูลจากคนนอกองค์กร จะต้องมีวิธีการจัดการอย่างไร? เรื่องของการเขียน Process ต้องมีการคำนึงถึง Algorithms ที่เลือกใช้พื้นที่ของ CPU ที่มีอยู่อย่างจำกัด และเรื่องของการใช้ Bandwidth Network บ่อยครั้งที่นึกอะไรไม่ออก Query อะไรมาได้ ก็จะขนส่งไปที่ฝั่ง Client ก่อน ส่งข้อมูลจำนวนมากเกินไป และให้ฝั่ง UX/UI ทำหน้าที่ในการเลือกใช้เองอยากให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สนใจเรื่องพวกนี้มากขึ้น หากพูดถึงปัญหาเรื่องการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับขนาดหน้าจอที่แตกต่างกัน ต้องออกแบบการแสดงผลในหลายรูปแบบ ปัญหาเรื่อง Browser Compatibility ก็เป็นสิ่งสำคัญ ความแตกต่างของเว็บไซต์ เช่น Firefox, Safari, Microsoft edge, Google Chrome, และ Opera ดังนั้นนักพัฒนาจึงต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับอุปกรณ์ และแพลตฟอร์มที่หลากหลายขึ้นด้วย สิ่งสำคัญที่ต้องคอยสังเกตนั่นก็คือเรื่องของ 3 A ได้แก่ 1. Authentication การพิสูจน์สิ่งใด ๆ

MFEC

MFEC

ความสำเร็จไม่ได้เกิดจากเกียรตินิยม

ทุกคนบนโลกนี้ล้วนอยากประสบความสำเร็จ แต่กลับไม่รู้เลยว่าอะไรคือปัจจัยที่จะนำพา “ความสำเร็จ” ไปสู่พวกเขาได้ อย่างไรก็ตาม คุณเล้ง ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ซีอีโอของบริษัท เอ็ม เอฟ ซี อี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC ได้ค้นพบกุญแจสำคัญที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จจากการศึกษาเบื้องหลังของเหล่าคนที่ประสบความสำเร็จ “คนที่เก่ง กับ คนที่ประสบความสำเร็จในแต่ละรุ่น ไม่ใช่คนกลุ่มเดียวกันคนที่เรียนสูงที่สุด กับ คนที่ประสบความสำเร็จในแต่ละรุ่น ก็ไม่ใช่คนกลุ่มเดียวกันคนที่มาจากครอบครัวที่ร่ำรวยที่สุด กับ คนที่ประสบความสำเร็จที่สุด ก็คนละกลุ่มกันความสำเร็จจึงไม่ได้อยู่ที่การศึกษา หรือ Background” คุณเล้งอธิบายว่าความสำเร็จ 30% เกิดจากตัวเรา 70% เกิดจากสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะคนเก่ง คนร่ำรวย หรือคนที่เรียนสูง หากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จได้ เพื่อให้เห็นภาพก็เหมือนทุเรียนชั้นดีที่ถูกปลูกในกระถาง ปลูกยังไงก็ไม่มีวันได้ผลออกมา คนก็เช่นกัน ถึงจะมีพื้นฐานที่ดียังไง หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้ช่วยส่งเสริมให้ไปได้ไกลได้ ก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เช่นกัน ดังนั้น “สิ่งแวดล้อมจึงสำคัญ และมีผลกระทบต่อความสำเร็จเป็นอย่างมาก” ด้วยเหตุผลนี้พี่เล้งจึงนำหลักการนี้มาปรับใช้กับภายในองค์กร ส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรประสบความสำเร็จร่วมไปกับองค์กร โดยการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็นและเติบโตในเส้นทางของตัวเอง เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถที่จะ “ประสบความสำเร็จ” โดยมีสิ่งแวดล้อมขององค์กรเป็นแรงผลักดัน และเกื้อกูลให้พนักงานทุกคนสามารถใช้ศักยภาพของตนเองพัฒนาตนเองและบริษัทได้อย่างสูงสุด นอกเหนือจากนี้ คนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่นั้น มักจะเคยผ่านช่วงเวลาที่เคยยากลำบากมาก่อน เนื่องมาจากคนที่เคยลำบากมาก่อนนั้นจะสามารถเชื่อมต่อกับแรงผลักดันของตัวเองได้ง่าย และมีความพยายามเหนือกว่าคนอื่น ๆ พวกเขาจะมีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น และใช้จุดนี้ในการเติบโตไปในทิศทางที่ดี ดังนั้นพนักงานทุกคนจึงต้องได้รับมอบหมายงานที่หลากหลายทั้งยากและง่าย รวมไปถึงการเข้าไปร่วมทำงานกับทีมอื่น ๆ เพื่อให้เป็นการสร้างความท้าทายให้กับตนเอง เข้าใจการทำงานของทีมอื่น ๆ ในองค์กร และเป็นแรงผลักดันให้พนักงานพัฒนาศักยภาพของตนเองให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น คุณเล้งจึงได้กล่าวว่า “ความสำเร็จนั้น ไม่ได้เกิดจากเกียรตินิยมแต่อย่างใด แต่เกิดจากการมีสิ่งแวดล้อมที่ดี และแรงผลักดันจากความลำบากของตน” การที่จะบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้นั้น เราจะต้องผลักดันให้คนในองค์กรประสบความสำเร็จร่วมไปกับบริษัทด้วย เพราะความสำเร็จของคนในองค์กรก็เหมือนความสำเร็จของบริษัท หลักการนี้จึงเป็นหลักการที่สำคัญจะช่วยผลักดันให้บริษัทประสบความสำเร็จได้

MFEC

MFEC

Tags

MFEC คว้ารางวัล Partner of the Year Award 2021 จาก UiPath

ในงาน UiPath TH Partner Gathering and Large Deal Enablement MFEC นำโดยคุณธเนศ เชี่ยวชาญลิขิต Business Service Management Manager และทีม BSM จาก MFEC ตบเท้าเข้ารับรางวัลในฐานะ UiPath Diamond Partner ที่พัฒนา RPA Platform และคุณภาพของทีมงานพร้อมด้วยความเชี่ยวชาญในด้าน RPA มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรางวัลนี้ถือเป็นอีกรางวัลที่ตอกย้ำความเชี่ยวชาญด้าน RPA Solution ที่สามารถดูแล จัดการ ให้คำปรึกษา และพัฒนาโซลูชัน RPA ได้แบบครบวงจร ทั้งนี้ หากท่านใดสนใจข้อมูลของ RPA Solution สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ps-bsm@mfec.co.th

MFEC

MFEC

Tags

สำรวจโลก Open Source ในยุค DevOps

การที่เราจะเลือก Software สิ่งที่เราควรคำนึงคือ Open Source ทุกตัวไม่ได้เท่ากัน ประการแรกที่เราควรมอง คือ ความนิยม เช่น จำนวนดาวใน GitHub ที่เวลาใครเข้าไปดูโครงการ Open Source ต่าง ๆ ก็จะมีจำนวนดาวให้ดู แล้วปริมาณดาวบ่งบอกอะไร ? ปริมาณดาวจะบ่งบอกถึงความสนใจของชุมชนโดยรวมต่อโครงการนั้น ๆ ซึ่งหากมีคนกดดาวเยอะก็แปลว่าอาจมีคนสนใจหรือใช้งานโครงการนั้น ๆ จำนวนมาก แต่ปัญหาอย่างหนึ่งคือ จำนวนดาวของ GitHub เป็นสิ่งที่จะสะสมไปเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นหมายความว่า บางโครงการอาจจะเคยดังเมื่อนานมาแล้ว ตอนเปิดตัวบริษัทอาจจะไม่มีคู่แข่งจึงทำให้มีผู้ที่เข้ามาใช้บริการจำนวนมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปเริ่มมีคู่แข่งเพิ่มมากขึ้น ทำให้โครงการนั้น ๆ มีผู้ใช้บริการที่น้อยลงส่งผลให้ในบางกรณีดาวก็ไม่สามารถวัดผลได้ แต่การใช้งานดาวนี้ก็เป็นที่ยอมรับในระดับเบื้องต้น เช่น CNCF ที่เป็นองค์กรดูแลโครงการต่าง ๆ เกี่ยวกับ Kubernetes นั้นมีเกณฑ์ว่าโครงการที่จะเข้าสู่แผนภาพ landscape ของ CNCF จะต้องมีดาวบน GitHub อย่างน้อย 300 ดาว ปัจจัยที่สองที่เราสามารถพิจารณาโครงการ Open Source ได้ คือ รูปแบบการอนุญาตใช้งาน แม้โครงการจะเป็น Open Source เหมือนกัน แต่แต่ละโครงการก็มีรูปแบบการอนุญาตที่แตกต่างกันออกไป บางโครงการอาจจะเปิด Source ไว้ให้ตรวจสอบเท่านั้นแต่ไม่อนุญาตให้ใช้งานเลย ซึ่งบางนิยามก็จะไม่เรียกโครงการเหล่านี้ว่าเป็น Open Source ขณะที่บางโครงการอาจจะมีข้อจำกัดบ้าง เช่น บังคับว่าผู้ที่นำ Software ไปแก้ไข ต้องเปิด Software ออกมาเป็น Open Source ด้วย หรือบางโครงการก็ขอเพียงให้เครดิตผู้พัฒนาเท่านั้น ปัจจัยที่สามคือรูปแบบการพัฒนาโครงการ แม้หลายโครงการจะมีความนิยมสูง และเปิดให้ใช้งานได้อิสระเพียงพอ แต่รูปแบบการพัฒนาอาจจะผูกกับบุคคลหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซึ่งก็จะมีความเสี่ยง เช่น บริษัทมีแนวทางการทำธุรกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้อาจจะหยุดพัฒนาบางฟีเจอร์ หรือเลิกพัฒนา Software เป็น Open Source ไปเลยก็มี หรือบางครั้งเจ้าของโครงการอาจจะไม่มีเวลามาดูแลโครงการแล้ว ทำให้หยุดพัฒนาไปเสียเฉย ๆ โครงการ Open Source ที่มีความแข็งแกร่ง (mature) มักจะดำเนินการในลักษณะชุมชนร่วมกันตัดสินใจอย่างเปิดเผย เช่น CNCF นั้นระบุว่าโครงการที่จะอยู่ในระดับ Graduated ต้องมีองค์กรร่วมกันดูแลอย่างน้อยสององค์กร

MFEC

MFEC

MFEC ดันศักยภาพบุคลากรเสริมทัพความแข็งแกร่งอย่างไร้ขีดจำกัด

สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เมล็ดพันธุ์ชั้นดีสามารถเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้น คุณเล้ง ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ซีอีโอของบริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC จึงต้องการที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์แบบสำหรับเมล็ดพันธุ์แต่ละประเภท โดยคุณเล้งอธิบายว่าความสำเร็จ 30% เกิดจากตัวเรา และอีก 70% เกิดจากสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมองค์กรที่ดีจะทำให้พนักงานสามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัฒนธรรมของ MFEC เป็นผลลัพธ์ของค่านิยม 4 อย่าง คือ Passion Professional Teamwork และ Giver โดยค่านิยมเหล่านี้จะหล่อหลอมให้พนักงานมีความสุขในการทำงานและสร้างความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองให้สามารถบรรลุเป้าหมายของการทำงานที่นอกจากจะทำให้ตนเองมีความสุขแล้วยังสร้าง Impact ให้กับสังคมได้อีกด้วย การเรียนรู้เป็นขั้นตอนสำคัญของการพัฒนาตนเอง สำหรับแนวทางในการเสริมสร้างการเรียนรู้ภายในองค์กร คุณเล้งไม่เห็นด้วยกับรูปแบบการเพิ่มพูนทักษะดั้งเดิมที่เป็นการสื่อสารทางเดียว เช่น อบรมที่จัดขึ้นโดยบริษัทในเนื้อหาที่ไม่ใช่ความสนใจของพนักงานอย่างแท้จริง คุณเล้งต้องการที่จะลดการเรียนรู้รูปแบบนี้ให้น้อยลง โดยมองว่า ในปัจจุบัน ความรู้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การอบรมเท่านั้น อินเทอร์เน็ตเป็นคลังความรู้มหาศาลที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ในทุกเรื่องที่ใฝ่รู้ อย่างไรก็ตาม หากพนักงานมีความสนใจที่จะเพิ่มพูนทักษะบางอย่าง ทางองค์กรก็พร้อมที่จะสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยสามารถรวมกลุ่มคนที่สนใจในเรื่องเดียวกันมาทำเรื่องขอให้จัดอบรมในเรื่องนั้น ๆ ได้ นอกเหนือจากการเรียนรู้จากการค้นคว้าหรือการอบรม การเรียนรู้ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ก็เป็นแนวทางที่คุณเล้งสนับสนุน MFEC เป็นศูนย์รวมของผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีในหลายแง่มุมซึ่งแต่ละคนก็มีความรู้ที่สั่งสมจากประสบการณ์และการค้นคว้าอยู่มาก การแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันจึงเป็นแนวทางที่จะเสริมสร้างศักยภาพของพนักงานให้มากยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยเหตุนี้ทางองค์กรจึงจัดกิจกรรมให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันของพนักงานในองค์กรอยู่เสมอ เพื่อส่งเสริมรูปแบบการเรียนรู้ดังกล่าว “เราจะเป็นบริษัทไอทีที่คนอยากทำงานด้วยมากที่สุด ผ่านการผลักดันศักยภาพอันไร้ขีดจำกัดของพนักงาน เพื่อสร้างสรรค์เทคโนโลยี และยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคน” เป็นวิสัยทัศน์ขององค์กรที่ทุกคนยึดมั่นดำเนินตาม เพื่อที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนในการทำให้ชีวิตดิจิทัลของคุณดีขึ้น

MFEC

MFEC

Tags

EP.4 ระบบ APIGee

ระบบ APIGee เดิมอยู่บนระบบ Cloud และให้บริการในรูปแบบ Software as a Service (SaaS) ซึ่งมีการรับประกันประสิทธิภาพการคงอยู่ของระบบ และการให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ตามเงื่อนไขบริการ (Service Level Agreement) คราวนี้ APIGee Hybrid จากเดิมอยู่บนระบบ Cloud มาอยู่ ณ On-premise ทำอย่างไร ที่จะรักษาคุณสมบัติเดิมทั้ง features และการรับประกันประสิทธิภาพของบริการ ให้เทียบเท่ากับการให้บริการบนระบบ Cloud การจะรักษาคุณสมบัติที่ใกล้เคียงไว้ได้ จำเป็นจะต้องมีระบบโครงสร้างพื้นฐานและรากฐานเดียวกันกับ Cloud นั่นเอง ทางเจ้าของผลิตภัณฑ์จึงต้องออกแบบระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infra Platform) ให้สามารถนำมาติดตั้ง ใช้งานบน On-premise ได้ อย่างสะดวกต่อคนสาย IT อย่างเรามากที่สุด เพราะสร้างเสร็จ ต้องดูแลระบบดังกล่าวต่อ (Operation routine) ที่สุด Infra platform ที่ว่า ก็ออกมาในชื่อ “Anthos” (แอน-ทอส) โดยเป็นการต่อยอด จาก “Kubernetes” ที่พวกเราคุ้นเคย เรียกว่าเป็นกลุ่ม Cluster management ที่ต่อยอดและออกแบบมาเพื่อให้สามารถติดตั้ง ได้ทุกที่ทั้ง On-premise, On-Cloud ต่าง ๆ ครอบคลุม brands หลัก ๆ และจะค่อย ๆ ครอบคลุมในทุก brands ต่อไปครับ #รูปที่ผมเขียนนี้ เพื่อเป็นตัวเปรียบเปรยการทำหน้าที่ของ APIGee Hybrid กับหน้าที่ของ Anthos ครับAPIGee ทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่าง เต็มประสิทธิภาพ ตามที่ได้เขียนไว้ใน EP ก่อนหน้าครับ และที่เห็นเป็น สามเหลี่ยม สี ๆ นั้น คือ “Anthos” ครับเพื่อน ๆ ทำหน้าที่จัดการทุกอย่างอยู่เบื้องหลัง เหมือนเป็นโครงสร้างบ้าน ที่คอยจัดการน้ำหนักทีเพิ่มขึ้นของตัวบ้าน การขยายตัว การคงสภาวะของตัวบ้าน ให้ผู้อาศัยใช้งานได้อย่างปรกติที่สุด Anthos มีความสามารถที่ต่อยอดจาก Cluster management เพิ่มความสามารถในการสะดวกสร้าง เหมือนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรส #Anthos ที่หากเข้าใจการเติมน้ำร้อน รู้อุณหภูมิ และเวลาที่เหมาะสม ก็จะได้ Anthos พร้อมรับประทาน และวัตถุสี ๆ ที่อยู่ล้อมรอบ นั้น ก็เป็นเสมือน เครื่องเคียงต่าง ๆ ที่ หากต้องการใช้ ก็สามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้ เช่น การจัดการแบบรวมศูนย์ การติดตั้งและสื่อสาร ระหว่าง Anthos ณ ที่ต่างๆ (on-premise, on-cloud) ตัวควบคุมการให้บริการ (Anthos Service Mesh) จากหัวเรื่องของ EP นี้ที่ทำให้ APIGee Hybrid ดูคงสภาวะให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง และเพิ่มลด ประสิทธิภาพ ในการให้บริการ ได้ตามความต้องการ (Scalability) เหล่านี้ เพราะตัวรากฐานมีความสามารถ

MFEC

MFEC