Skip links
View
Drag

MFEC

MFEC ร่วมกับ Aquila Clouds

ผู้พัฒนา FinOps แพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีที่จะช่วยบริหารการเงินบน Clouds ให้ตอบโจทย์และคุ้มค่าต่อลูกค้า ที่จะช่วยการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นศูนย์กลางควบคุมรายจ่าย การจัดการสินทรัพย์ วิเคราะห์ประสิทธิภาพและแนวโน้มของราคา การใช้งานและปรับปรุง Cloud โดยอัตโนมัติ Aquila Clouds FinOps แพลตฟอร์มทำงานโดยอัตโนมัติที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการทำงานโดยเป็นศูนย์กลางการควบคุม ช่วยกำจัดข้อมูลที่ไม่จำเป็นบน Clouds และช่วยในการลดความยุ่งยากในการทำงานร่วมกันของฝ่ายการเงินและฝ่าย IT เพื่อยกระดับการให้คำแนะนำที่ตรงจุดต่อลูกค้า โดย Aquila Clouds FinOps เข้ามาช่วยให้กลุ่มลูกค้าเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกแบบ Real-time เพื่อให้ได้การวางแผนระบบทำงานบน Clouds มีประสิทธิภาพก่อเป็นประสิทธิผลสูงสุดแก่ธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม More about Aquila Clouds : https://aquilaclouds.com/

MFEC

MFEC

Tags

“Get Real With Braze Bangkok”

by Braze x MFEC ได้จบลงไปแล้วกับ event สุดคูล! ที่มีเหล่า CEO, CMO, Head of Marketing กว่า 150 ท่านเข้าร่วมงาน งานนี้ถือเป็นการแนะนำ BRAZE marketing automation cross channel ที่ Marketer ทั่วโลกเลือกใช้ ด้วยผลลัพธ์ที่ทำให้เกิด Real Time Automation, Right message, Personalization ด้วย UI ที่ดูง่ายที่สุด รวมถึงยังได้รวม AI ไว้มากมาย ทั้ง AI Content และ Content Pattern สวยๆ อีกเพียบ สนใจข้อมูล solution เพิ่มเติมสามารถ INBOX มาได้เลย MFEC MarTech Innovation Team รอให้บริการอยู่

MFEC

MFEC

Tags

MFEC named Kong Partner of the Year 2022

MFEC คว้ารางวัล Kong Partner of the Year 2022 ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้าน API ในฐานะ “Champion” Partner พาร์ทเนอร์บริษัทไทยเจ้าเดียวในกลุ่ม APAC ที่ได้รับรางวัล Kong Partner of the Year 2022 ในงาน Kong Summit 2022 นับเป็นอีกหนึ่งการยืนยันถึงการให้บริการ Kong API Gateway อย่างครบวงจร MFEC พร้อมด้วยทีมงานมืออาชีพที่มีความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนา API Gateway ให้กับองค์กรขนาดใหญ่มากมาย เรามุ่งเน้นที่จะสร้างสรรค์และพัฒนา API Gateway ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการเติบโตทางธุรกิจ และยกระดับชีวิตดิจิทัลของทุกคนให้เกินความคาดหมายได้ต่อไปอย่างยั่งยืน

MFEC

MFEC

Tags

MFEC คว้า 2 รางวัลจาก Veeam

ได้แก่ Best Partner of the Year 2022 “Rising Star” และ Value-Added Reseller “Gold Partner” ตอกย้ำความสามารถในการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้าด้วยการผลิตภัณฑ์และบริการที่มีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับระดับสากล การันตีด้วยฐานะพันธมิตรระดับ Gold Partner

MFEC

MFEC

MFEC ยกระดับระบบสอบออนไลน์นำร่องมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช

หลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อระบบการสอบออนไลน์ ทำให้มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สถาบันอุดมศึกษาที่ใช้ระบบการศึกษาทางไกลเกิดการ Disruption ครั้งใหญ่ ปรับตัวให้เข้าสู่โลกดิจิทัลนำร่องพัฒนาระบบการสอบออนไลน์โดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสายเทคโนโลยี เป็นต้นแบบมหาวิทยาลัยดิจิทัลแห่งแรกในประเทศไทย เพื่อยกระดับระบบสอบออนไลน์ให้สามารถรองรับผู้ใช้งานได้สูงมากขึ้น MFEC ในฐานะที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี จึงได้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์จาก AWS เข้ามาช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการควบคุมระบบการใช้งาน จากที่เคยรองรับผู้เข้าสอบจำกัดได้เพียง 5,000 คน ปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชสามารถเปิดระบบสอบออนไลน์พร้อมกันทั่วประเทศได้ถึง 20,000 – 30,000 คน นอกจากผลิตภัณฑ์จาก AWS แล้ว MFEC ยังมีทีมงานคุณภาพที่คอยช่วยดูแลควบคุมระบบการสอบให้ตอบสนองด้วยความรวดเร็ว และไม่เกิดปัญหาระหว่างการใช้งานตลอดจนการดำเนินการสอบเสร็จสิ้น สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ email : partner@mfec.co.th

MFEC

MFEC

Tags

MFEC คว้าคะแนนการประเมิน 100 คะแนนเต็ม

MFEC ได้รับการประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2565 จากสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ซึ่งได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้ดำเนินการประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2565 โดยสามารถคว้าคะแนนการประเมินไปได้ถึง 100 คะแนนเต็ม การจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1 ประจำปี 2565 เป็นการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Meeting) จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 หลังจากประสบกับสภาวะวิกฤต Covid-19 อย่างต่อเนื่อง ทีมงานได้ยกระดับมาตรฐานการประชุมโดยใช้ความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีของ MFEC ให้สอดคล้องกับวิถี New Normal โดยยึดถือแนวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อบังคับและหลักปฏิบัติของธรรมาภิบาลที่ดี พร้อมให้ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านการกำกับดูแลกิจการอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งนี้สำเร็จลุล่วงได้ตามเป้าหมาย

MFEC

MFEC

ประกาศเรื่องการแอบอ้างชื่อ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน)

เรียน ทุกท่าน            ตามที่ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้เสียหาย และบริษัทฯได้ดำเนินการตรวจสอบตามข้อร้องเรียนพบว่ามีบุคคลแอบอ้างชื่อ โลโก้ และ/หรือข้อมูลของบริษัทฯ โดยวิธีการของบุคคลที่แอบอ้างนั้นมีลักษณะเป็นการใช้บัญชีไลน์และรูปโปรไฟล์ของบัญชีไลน์อันเป็นเท็จ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจที่มีลักษณะเป็นการเชิญชวน ชักชวนและหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อเข้ามาทำงานและสร้างรายได้บนแพลตฟอร์มออนไลน์นั้น             บริษัทฯ ขอเรียนชี้แจ้งว่า บริษัทฯ มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับการกระทำของบุคคลที่แอบอ้างและการกระทำดังกล่าวทั้งสิ้น ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบบัญชีไลน์และรูปโปรไฟล์ของบัญชีไลน์ดังกล่าวแล้วเห็นว่ารูปโปรไฟล์ของบัญชีไลน์ดังกล่าวมิได้เป็นพนักงานและมิได้เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ แต่อย่างใด             อย่างไรก็ตาม ตามที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบพบว่ามีผู้หลงเชื่อ และโอนเงินให้แก่มิจฉาชีพแล้วนั้น บริษัทฯ ขอเตือนประชาชนว่าอย่าหลงเชื่อ และควรตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนดำเนินการใดๆ ตามคำหลอกหลวง และบริษัทฯ ในฐานะผู้เสียหายจากกระทำที่ถูกบุคคลที่แอบอ้างชื่อ โลโก้ และ/หรือ ข้อมูลของบริษัทฯ ส่งผลให้บริษัทฯ เสื่อมเสียชื่อเสียงและได้รับความเสียหายจักได้ดำเนินแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมารับโทษต่อไป             ทั้งนี้ ในกรณีที่ท่านได้รับการติดต่อจากบุคคคลที่ท่านสงสัยว่าเป็นมิจฉาชีพ หรือพบเห็นการกระทำในลักษณะดังกล่าวข้างต้น ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้โดยตรงที่ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือโทร 02 – 821 – 7999

MFEC

MFEC

Tags

IoT Security เมื่อภัยคุกคามไม่ได้อยู่แค่ในคอมพิวเตอร์

เบื้องต้นเรามาดูความหมายของแต่ละคำของ IoT หรือ Internet of Things โดยเริ่มที่– Internet หมายถึง ระบบเครือข่าย– Things หมายถึง อุปกรณ์ ดังนั้นหากแปลตรงตัว Internet of Things หมายถึง อุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ซึ่ง IOT มีอยู่ในชีวิตประจำวันของเราทั่วไป เช่น ในด้านอุตสาหกรรม เครื่องจักรกลต่าง ๆ พอมีการประมวลผลก็ต้องมีการประมวลผลที่รวดเร็ว ดังนั้นการส่งข้อมูลจึงต้องทำผ่านระบบ IoT ด้านอุปกรณ์ภายในบ้าน เช่น กล้องวงจรปิดที่สามารถดูผ่านมือถือได้ก็ถือว่าเป็นอุปกรณ์ IoT เช่นกัน และด้านอุปกรณ์ภายในเมือง เช่น สัญญาณจราจร โดยจะใช้ระบบ IoT ในการนับจำนวนรถ เปลี่ยนสัญญาณไฟจราจรเพื่อลดการติดขัดของจราจร จากที่กล่าวมาอุปกรณ์ IoT ล้วนมีประโยชน์ต่อเรา แต่หากจะมองให้ลึกลงไปถึงด้านความปลอดภัย อุปกรณ์พวกนี้ถือเป็นทางผ่านชั้นดีให้กับพวกแฮกเกอร์ในการโจรกรรมข้อมูลหรืออื่น ๆ มีตัวอย่างเช่น 1. การโจมตีทางไซเบอร์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยการใช้ Ransomware (การโจมตีทางไซเบอร์เพื่อเรียกค่าไถ่) โจมตีบริษัท Colonial Pipeline บริษัทท่อส่งน้ำมันไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ทำให้สหรัฐอเมริกาขาดแคลนน้ำมันในบางรัฐถึง 4 วัน มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและสุดท้ายบริษัทต้องจ่ายค่าเสียหายรวม 4.4 ล้านเหรียญสหรัฐ 2. เหตุการณ์ต่อมามีการใช้อุปกรณ์ IoT เป็นช่องทางในการโจมตี เกิดขึ้นที่คาสิโนแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา โดยผู้ก่อเหตุดึงเอาข้อมูลผ่านทางแท็งก์น้ำในตู้ปลาของคาสิโน ซึ่งแฮกเกอร์ใช้อุปกรณ์ IoT ตัวนี้เป็นทางผ่านเพื่อเข้าถึงเครือข่ายและเอาข้อมูลรายชื่อลูกค้าของคาสิโน 3. อีกเหตุการณ์คือ Mirai ไวรัสที่สามารถฝังตัวในอุปกรณ์ IoT ได้ทำการโจมตีแบบ DDos (การโจมตีทางไซเบอร์ โดยการส่งคำขอเรียก เว็บไซต์หรือบริการทางคอมพิวเตอร์พร้อม ๆ กัน ทำให้บริการนั้นไม่สามารถใช้งานได้ในระยะเวลาหนึ่ง) ไปที่ระบบ DNS (ระบบแปลงชื่อเว็บไซต์ในบราวเซอร์) โดยเหตุการณ์นี้ทำให้ผู้ใช้งานส่วนหนึ่งไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์ได้ในระยะเวลาหนึ่ง 4. อีกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี 2554 มีการแฮกกล้องวงจรปิดเรือนจำ และนำภาพจากกล้องมาสตรีมมิ่งแบบออนไลน์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของเรื่อนจำ และผู้ต้องขัง ในบ้านทั่วไปก็มีเหตุการณ์นำภาพจากกล้องวงจรปิดในบ้าน มาเผยแพร่สู่สาธารณะเช่นกัน 5. กลับมาที่ต่างประเทศ มีกลุ่มแฮกเกอร์กลุ่มหนึ่ง ได้แฮกระบบของรถยี่ห้อหนึ่งจนทำให้ระบบเบรกรถยนต์ไม่สามารถทำงานได้ จน FBI ได้ออกมาเตือนว่าเป็นช่องโหว่ของระบบ รวมถึงรถยนต์อย่าง Tesla จากการทำงานในระบบที่สามารถควบคุมได้ผ่านทางระยะไกลการเปิดปิดรถยนต์ผ่านระบบ Raspberry Pi ได้ เป็นต้น โดยทั้งหมดนี้เพราะ IoT เป็นอุปกรณ์ที่สามารถควบคุมได้จากระยะไกล และด้วยขนาดที่เล็กจนทำให้ความปลอดภัยในตัวของอุปกรณ์ไม่สูง จึงเป็นช่องโหว่ในการโจมตีได้อย่างง่ายดาย เราสามารถป้องกันได้โดยเริ่มจาก หาจุดการติดตั้งอุปกรณ์ IoT ทำการเช็กว่าติดจุดไหนจะมีความเหมาะสมมากที่สุด การออกแบบระบบไม่ให้สามารถเข้าถึงตัวระบบจากระยะไกลได้โดยตรง อาจจะทำให้ระบบต้องมาผ่านทาง Cloud ต่อด้วย Security ก่อนที่จะผ่าน Gateway เป็นต้น สุดท้ายนี้อยากฝากไว้ว่าเราไม่สามารถรักษาความปลอดภัยจากอุปกรณ์ IoT ได้ 100 % แต่เราสามารถตระหนักรู้ในเรื่องของอุปกรณ์ IoT และ Cyber Security ต่าง ๆ ก็จะสามารถลดความเสี่ยงของการใช้อุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ที่เชื่อมต่อกับระบบ IoT ได้เช่นกัน

MFEC

MFEC

Tags

Future of Robot and AI in IT

ในปัจจุบัน Robot และ AI ก็เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น หลาย ๆ มหาวิทยาลัยเริ่มมีหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับ Robot เข้ามา เมื่อก่อน Robot อาจจะมีแค่แบบแขนกลที่ใช้ทำงานตามโรงงาน มีเซนเซอร์ทำงานปกติ แต่ปัจจุบันนี้ Robot เปลี่ยนไปซึ่งมีทั้ง Robot ที่เป็นโดรนมีเซนเซอร์ เอาไว้ช่วยเรื่องการเกษตร, Robot ส่งยาตามโรงพยาบาล หรือ Robot ร้านอาหารตามห้าง ซึ่งเราเรียก Robot พวกนี้ว่า RPA (Robotics Process Automation) โดย Robot ประเภทนี้เหมือน Virtual Worker ตัวหนึ่งที่มี Process ในตัวเอง สามารถทำงานเหมือนมนุษย์เราได้แค่ไร้ตัวตน แต่เมื่อเราสอน Bot ให้มีสมอง เช่น เมื่อเจอเหตุการณ์แบบนี้ให้ Bot ทำแบบนี้ พวกนี้จะเรียกว่า AI ซึ่งส่วนใหญ่ Robot แบบนี้ จะใช้ทำงานด้านเอกสาร และบัญชีซึ่งเกี่ยวข้องกับ Machine Learning Robot RPA พวกนี้สามารถทำได้เกือบหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น Robot ที่มีแขนเสมือนกับมนุษย์ มีตาหรือจอที่ดูว่าต้องทำอะไรบ้าง แต่ในปัจจุบันพวกมันไม่ได้มีแค่มือกับตา แต่ยังมี “สมอง” ด้วย ในอดีตเราจะต้องมี Logic Programmingให้ตัว Robot ทำงานได้ แต่ในปัจจุบันเรามีการสอน Bot ให้มีสมองเหมือนคน ทำให้ Robot รู้ว่าถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้ต้องทำแบบไหน สิ่งที่ถูกเพิ่มเติมเข้ามาให้เป็นสมองของ Robot นี้เรียกว่า AI ที่มาทำงานร่วมกับ Robot ต่าง ๆ ซึ่ง AI ส่วนใหญ่จะถูกใช้ในเรื่องงานเอกสาร เนื่องจากเอกสารบางอย่างต้องใช้คนในการดูเอกสาร และวิเคราะห์เอกสารว่าเป็นอย่างไร ลักษณะ Robot พวกนี้เราจะใช้เทคนิค Machine Learning ในการทำพวก Model และสอนตัว Robot ให้ทำงาน และเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน แทบทุกบริษัทมี Robot แบบนี้ใช้งานอยู่ แล้ว Robot ทำงานกันอย่างไร? ตัวอย่างเช่น เราต้องการหาของบางอย่างใน E-Commerce Platform ของเรา เพื่อมาทำสต๊อกร้าน ของเดิมเราอาจจะต้องจ้างคน 5-10 คนในการเก็บข้อมูล เช่น ถ้าอยากได้รายละเอียดของเมาส์ยี่ห้อหนึ่ง ก็จะต้องลิสต์รายการต่าง ๆ ของยี่ห้อนั้นออกมา แต่ว่าถ้าเป็น Robot ประเภท RPA สิ่งที่เราต้องทำก็คือ เราแค่สอนให้ Bot รู้ว่าต้องกดตรงไหน คลิกอะไร คลิกเสร็จ Bot ก็จะช่วยเก็บข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ให้ ลักษณะการทำงาน E-Commerce Robot RPA ก็จะสามารถทำงานแทนคนได้ และมีหน้าที่เก็บข้อมูล เราสามารถสอน Bot ให้ทำตามในสิ่งที่เราอยากทำ วิธีการก็ง่ายดายคล้าย ๆ การ Drag

MFEC

MFEC