Skip links
View
Drag

MFEC

Tags

ประกาศฉบับที่ 1/2566

เรื่อง มาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ณ วันที่ 13 มกราคม 2566

MFEC

MFEC

Tags

Low Code: The Future of Enterprise Application Development

One of the key factors of digital transformation is the automation of processes within the organization. The organization should be able to monitor and process data from any process. Most organizations find software development to be the biggest obstacle, as the process can be time-consuming and does not meet the needs of employees. It also cannot respond immediately to changes in the work process.  Low code is a simple approach to application development that has been around for a long time. Microsoft Power Apps, a well-known low-code platform, was launched in 2015. Many enterprise low-code vendors provide services, often by modifying specialized business applications. More recently, some startups like Retool have also developed platforms specifically for low-code application development   As a result, many enterprises are starting to invest more in low-code open-source projects such as AppSmith, ToolJet and Budibase, which became mainstream around 2020 to 2022, although they were launched

MFEC

MFEC

Tags

AI ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการทำ Automation

ในปัจจุบัน AI เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก หลังจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้สามารถนำ Deep Learning มาปรับใช้ได้ในชีวิตจริง ด้วยการกลับมาของ Convolutional Neural Networks (CNN) โดยพื้นฐานแล้วมีทฤษฎีที่อธิบายความเกี่ยวข้องของ Machine Learning กับ AI อยู่ 2 ทฤษฎี ทฤษฎีแรกอธิบายว่า Machine Learning และ Deep Learning เป็นส่วนหนึ่งของ AI และทฤษฎีที่สองอธิบายว่า Machine Learning เกี่ยวข้องกับ AI แค่ในส่วนที่เกี่ยวกับการตัดสินใจเท่านั้น ที่ผ่านมา ได้มีการนำ AI ไปใช้ประโยชน์ในหลายรูปแบบ เช่น เทคโนโลยี Face Recognition, Image Recognition และ Self-Driving Car และมีการนำ Machine Learning ไปประยุกต์ใช้กับแอปที่หลากหลายในสายงาน Cyber Security ไม่ว่าจะเป็น Malware Detection หรือ Anti-Spam อย่างไรก็ตาม AI ไม่ใช่คำตอบของทุกสิ่ง และไม่สามารถทดแทนการตัดสินใจของมนุษย์ได้ 100% Machine Learning ที่เป็นกลไกสำคัญของการทำงานของ AI อาศัยข้อมูลในการตัดสินใจและการตัดสินใจเหล่านั้นมีโอกาสที่จะผิดพลาดได้ ทำให้เกิดเป็นช่องโหว่ที่อาจะทำให้เกิดอันตรายหรือสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางที่ผิดได้ เช่น อุบัติเหตุของรถ Tesla ที่เกิดจากความผิดพลาดในระบบตรวจจับ และเทคโนโลยี Deepfake ที่ใช้ปลอมแปลงเป็นบุคคลสำคัญ งานวิจัยของ Ian Goodfellow ในปี 2017 ชี้ให้เห็นถึงช่องโหว่ของ Machine Learning ของ CNN ผ่าน Adversarial Example Attack หรือการโจมตี Machine learning โดยการบิดเบือนข้อมูลต้นฉบับ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ Fast Gradient Sign Method (FGSM) การบิดเบือนข้อมูลโดยการเพิ่มน้ำหนักของข้อมูลเพื่อผลักให้ไปอยู่ในเขตข้อมูลที่ผิด โดยการจำแนกประเภทของข้อมูลจะอิงตามน้ำหนักของข้อมูล ทำให้สามารถระบุได้ว่าจะให้ผิดเป็นอะไร แค่ต้องรู้ว่าผลักไปทิศทางไหนเพื่อให้ Network จำแนกข้อมูลเป็นไปตามที่ต้องการ One-Pixel Attack การบิดเบือนข้อมูลโดยการแก้ไขเพียง 1 พิกเซลในตำแหน่งที่ใช้ในการจำแนกประเภทของข้อมูลจากรูป ไม่สามารถระบุผลลัพธ์ได้อย่างเฉพาะเจาะจง แต่สามารถเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเป็นได้ ตัวอย่างเช่น ทำให้ Machine Learning อ่าน ถ้วยชา เป็น จอยสติ๊ก Adversarial Patch การบิดเบือนข้อมูลโดยการเพิ่มองค์ประกอบอื่น หรือ Patch เข้าไปในข้อมูลต้นฉบับ เช่น การเพิ่มรูปที่ถูกสร้างเพื่อการโจมตีโดยเฉพาะลงไปในรูปเป้าหมาย ก็สามารถเปลี่ยนคีย์บอร์ดเป็นหอยสังข์ได้ เพราะ Patch นั้นมีค่า Feature ที่โดดเด่นกว่าเป้าหมาย ทำให้ Machine Learning ตรวจจับได้เป็นสิ่งที่ Patch กำหนดให้เป็น นอกจากวิธีการที่ยกมา ก็ยังมีรูปแบบการโจมตีอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น 3D Adversarial Example,

MFEC

MFEC

Tags

“มองอนาคต 5 เทรนด์ การพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ถึงเวลาต้องลองใช้งาน”

เริ่มที่เทรนด์แรก Low Code เทคโนโลยีนี้มีการใช้งานมายาวนาน ในช่วงโควิดที่ผ่านมา โครงการ Open Source ได้เติบโตอย่างรวดเร็วมาก ยกตัวอย่าง 3 โปรเจกต์ในช่วงโควิด ได้แก่ Appsmith, ToolJet และ Budibase ซึ่งบางตัวเกิดขึ้นมาก่อนโควิด แต่ในช่วงโควิดการพัฒนาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการลงทุนอย่างมากในช่วงปี 2021 ที่ผ่านมา และในปีนี้โดยรวมของตลาด Low Code มีการเติบโตถึง 25% โดยตลาด Low Code นั้น เรามักมองรวมเทคโนโลยีหลายตัว เช่น RPA ก็อาจจะมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Low Code แต่ที่เติบโตค่อนข้างมากตัวหนึ่ง คือ Low-Code Application Platform ที่ใช้พัฒนาแอปพลิเคชันติดต่อผู้ใช้ โดยเราสามารถเชื่อมระบบเข้ากับ Database, Google Sheet, Microsoft Excel แล้วนำมาทำแอปเป็นหน้าจอ UI เป็นอีกเทรนด์หนึ่งที่เติบโตขึ้นมาก เทรนด์ที่ 2 ความนิยมในภาษาใหม่และเฟรมเวิร์กใหม่ ๆ ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง ถ้าใครได้ทำงานพัฒนาซอฟต์แวร์มานาน เราก็จะพบว่าเฟรมเวิร์กที่เราใช้งานอาจจะต้องเปลี่ยนไปเป็นช่วง 3-5 ปี แม้หลายปีที่ผ่านมา React และเฟรมเวิร์กในกลุ่มเดียวกันจะได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง แต่ก็มีเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ตัวหนึ่งก็คือ Svelte ที่การใช้งานยังไม่เยอะมาก แต่ผลสำรวจของ Stack Overflow กลับแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้นั้นชื่นชอบเป็นอย่างมาก และอัตราการใช้งานก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมี เฟรมเวิร์กตัวหนึ่งที่เริ่มเด่นขึ้นมา คือ Phoenix ที่ใช้ภาษา Elixer แม้อัตราการใช้งานยังน้อยมากแต่ผู้ใช้งานแสดงความชื่นชอบเกิน 80% นับเป็นเฟรมเวิร์กที่ผู้ใช้รักที่สุดตัวหนึ่ง สำหรับภาษาโปรแกรมที่กำลังเป็นที่นิยมคือภาษา Rust ที่ก่อนหน้านี้ก็เคยติดอันดับภาษาโปรแกรมมิ่งที่ผู้ใช้ชื่นชอบอย่างมากเป็นเวลานาน ปีที่ผ่านมาบริษัทขนาดใหญ่อย่าง AWS, Microsoft รับวิศวกรในภาษา Rust เพิ่มมากขึ้น ทั้งการใช้ภาษา Rust ในบางโครงการของบริษัทเอง และการนำมาช่วยพัฒนาตัวภาษา เทรนด์ที่ 3 คือ AI จะยังไม่มาแย่งงานเราในเร็ว ๆ นี้ (แต่ในอนาคตก็ไม่แน่) ด้วยกระแสนิยมของ ChatGPT ในช่วงที่ผ่านมา หลายคนก็อาจมีคำถามว่า เทคโนโลยีนี้จะทำให้โปรแกรมเมอร์ตกงานไหม คำตอบคือ ปีนี้ยัง! กลับกันคือเราน่าจะเห็นการทำงานของโปรแกรมเมอร์ที่มี AI มาช่วยทำงานมากขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบัน AI สามารถช่วยงานได้มากขึ้น สามารถแปลงคอมเมนต์เป็นโค้ดได้อย่างชาญฉลาด หลายครั้งสามารถเขียนทั้งฟังก์ชัน หรือเขียนตัวทดสอบแอปพลิเคชันได้อย่างแม่นยำรวดเร็ว แต่ AI ก็ยังต่างจากคำตอบของมนุษย์ที่มีความรู้อย่างแท้จริง AI จะประมวลความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งอาจไม่ถูกต้องทั้งหมด และจุดอ่อนของ AI มันไม่ได้ทดสอบคำตอบของมันจริง ๆ ต่างจากโปรแกรมเมอร์ที่ก่อนเราจะนำงานไปส่ง เราก็ต้องทดลองคำตอบของเราก่อนว่าทำงานได้จริงอย่างที่ต้องการหรือไม่ อย่างไรก็ตาม AI ก็เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเขียนโปรแกรมได้ โดยมีเครื่องมือที่แนะนำให้ใช้ ได้แก่ GitHub Copilot และ Tabnine โดยควรใช้อย่างระมัดระวัง อย่าลืมว่าโค้ดเป็นความรับผิดของผู้เขียน แม้ AI จะมีข้อจำกัดแต่ก็มีแนวโน้มที่จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง เทรนด์ที่

MFEC

MFEC

Tags

Cyber Security Forecast 2023

Hacker ในปัจจุบันที่อยู่รอบตัวเรานั้นส่วนมากเป็นบุคคลธรรมดาทั่วไป และไม่ใช่พนักงานในภาครัฐ ทุกวันนี้ไม่ว่าเราหาข้อมูลความรู้อะไรก็ตาม เรามักจะชอบหาข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หรือเรียกว่า Social Media ซึ่งการให้ความสำคัญกับ Social Media ที่มากเกินไป ทำให้ Hacker มีแรงจูงใจที่จะเข้าไปโจมตีให้ระบบคนอื่นมีปัญหา เพราะเขาจะมีเวทีเพื่อแสดงให้คนอื่นได้เห็นว่า สิ่งที่เขาทำสำเร็จมันเกิดความสำเร็จ เห็นได้ชัดว่าคนหันมาให้ความสนใจในเรื่องนี้ มีการแข่งขันโจมตี แข่งขันหาช่องโหว่ในระบบความปลอดภัย ประเด็นที่ 1 สิ่งที่น่าจับตามอง คือ Ransomware ซึ่งเป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำการเรียกค่าไถ่ในการปลดล็อคไฟล์ โดยที่เป้าหมายของการทำไวรัสชนิดนี้ คือการเข้าถึงข้อมูลสำคัญภายในบริษัท ก่อนหน้านี้เป้าหมายอันดับ 1 ของการถูก Ransomware คือฝั่งอเมริกา แต่ปัจจุบันทิศทางของการถูก Ransomware กำลังเปลี่ยนไป คาดการณ์ว่าปีหน้า Ransomware จะทำการแพร่กระจายอย่างหนักไปยังฝั่งยุโรป แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่าการโจมตี Ransomware นั่นคือการถูกโจมตีที่อยู่ในรูปแบบขู่กรรโชกจะเพิ่มมากขึ้น ประเด็นที่ 2 เป็นเรื่องของเหตุการณ์ที่เราคุ้นเคยกันอยู่แล้ว คือ IO ย่อมาจาก Information Operation ยุทธการทางข้อมูลข่าวสาร เป็นการสู้ด้วยข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและสร้างกระแสความได้เปรียบมาอยู่ในฝ่ายตนเอง เป็นกระบวนการที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งส่งข้อมูลที่อยากส่งไปให้ถึงปลายทาง หาทางวางแผนให้คนเชื่อว่าข้อมูลที่ส่งนั้นเป็นความจริง หรือทำให้สิ่งที่มีอยู่จริงนัั้นไม่เป็นจริง โดยผ่านกระบวนการ IO ซึ่งในอนาคตจะมีการรับจ้างทำ แทนที่หน่วยงานหรือองค์กรนั้น ๆ จะทำเอง ประเด็นที่ 3 Password-less ที่คุ้นเคยกันดี หลักการนี้ไม่ต้องใช้ Password ในการ Log-in แต่ใช้การ Scan QR-Code แทน แนวโน้มทิศทางการใช้ชีวิตในอนาคตก็จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง มือถือจะกลายเป็นชีวิตของพวกเรา จากเดิมที่ Hacker มุ่งโจมตีไปที่ Device สิ่งที่จะได้ก็จะได้แค่ข้อมูลที่อยู่ใน Device นั้น แต่ปัจจุบันการโจมตีจะมุ่งไปที่ Identity ถ้าเราได้ Identity นั้นมา เราก็จะสามารถยึดครองข้อมูลได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นการที่จะเข้ามาอยู่ในโลก IT หรือโลกของ Cyber เราทุกคนต้องระวังตัวกันให้มากขึ้น เพราะขณะที่ Hacker ก็ยังมีการปรับตัว มีลูกเล่นที่แพรวพราวมากขึ้น รูปแบบการโจมตีที่เปลี่ยนแปลงไป จาก Call Center เป็นการโจมตีรูปแบบใหม่ที่เป็นพัสดุ ซึ่งจะไม่มีทางรู้ได้เลย จนกว่าเราจะเปิดดู นอกจากนี้เรายังต้องเฝ้าระวังการโจมตีในระดับประเทศ จากปัญหาสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย เนื่องจากรัสเซียได้เริ่มจู่โจมประเทศอื่น ๆ ผ่านการโจมตีทางไซเบอร์ สู่ประเทศในทวีปเอเชีย Cr. https://www.mandiant.com/…/mandiant-security-forecast…

MFEC

MFEC

Tags

MFEC accomplished Google Cloud Specialization Partner in Application Development

MFEC was certified by Google Cloud Partner Advantage program as Specialization Partner in Application Development which is the highest level of technical designation given to Google Cloud Partner. This success highlights MFEC’s expertise in Google Cloud solutions which boosts the capability of uplifting digital life and delivering high quality services to customers. Application Development Specialization reflects MFEC’s ability as a partner with high proficiency in implementation and services of Google Cloud’s cloud-native business applications, especially Apigee API management and Anthos Cluster Management. To be certified for Specialization, MFEC had proven its strong technical skills in Google Cloud application development through several accomplishments contributed by multiple staff with specialization and high experience in Google Cloud application development. The accomplishments include at least 3 customer success stories from the customers who have been implemented and delivered by services from Google cloud and professional services from MFEC and professional-level certificates, including Professional Cloud

MFEC

MFEC

Tags

MFEC ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้าน Software กับ Cisco Software Excellence

เป็นอีกครั้งที่ MFEC ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้าน Software กับ Cisco Software Excellence ที่ปีนี้คว้ารางวัลต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ที่เป็น Partner ที่มียอดขายด้าน Cisco Software มากที่สุด มีผู้เชี่ยวชาญในการให้บริการ Cisco Software Solution ให้กับลูกค้าได้เป็นอันดับต้น ๆ ของตลาดในหลากหลายอุตสาหกรรม และควบอีกรางวัลกับ Architecture Excellence AppDynamics ในฐานะที่เป็น Partner ที่มีความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญทั้งด้านการให้คำปรึกษาและให้บริการทางด้าน AppDynamics ชั้นนำของประเทศ MFEC ในฐานะ Gold Partner เองได้ผลักดันผลิตภัณฑ์ Cisco อย่างเต็มที่ และยังคงส่งมอบงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะ Cisco CX ที่นับเป็นตัวช่วยสำคัญที่มีบทบาทอย่างมากในช่วงนี้ ติดต่อสอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์ Cisco ได้ที่ partner@mfec.co.th

MFEC

MFEC

MFEC x UiPath l ยกระดับองค์กรด้วย RPA

ในช่วงวิกฤต Covid-19 หลายธุรกิจต่างได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะกับอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ที่ไม่สามารถให้บริการเนื่องจากเหตุการณ์ล็อกดาวน์ แน่นอนว่าโรงภาพยนตร์ SF Cinema โรงภาพยนตร์ชั้นนำของเมืองไทยเอง ก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตนี้เช่นกัน คุณภานุวัจน์ ทองร่มโพธิ์ Chief Technology Officer บริษัท SF Corporation จำกัด (มหาชน) เห็นโอกาสในวิกฤตนี้ จึงได้เลือกเทคโนโลยี Automation มาเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานของส่วนงาน Back Office ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบัญชีการเงิน และฝ่ายไอที ที่นับเป็นหัวใจสำคัญในการให้บริการของธุรกิจนี้ Robotic Process Automation (RPA) จาก UiPath คือตัวเลือกที่ทาง SF เลือก ด้วยความต้องการตั้งต้นที่อยากให้มีการพัฒนาการะบวนการในการทำงานให้รวดเร็วขึ้น โดยที่ใช้คนให้น้อยลง สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ email : partner@mfec.co.th

MFEC

MFEC

MFEC ร่วมกับ Aquila Clouds

ผู้พัฒนา FinOps แพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีที่จะช่วยบริหารการเงินบน Clouds ให้ตอบโจทย์และคุ้มค่าต่อลูกค้า ที่จะช่วยการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นศูนย์กลางควบคุมรายจ่าย การจัดการสินทรัพย์ วิเคราะห์ประสิทธิภาพและแนวโน้มของราคา การใช้งานและปรับปรุง Cloud โดยอัตโนมัติ Aquila Clouds FinOps แพลตฟอร์มทำงานโดยอัตโนมัติที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการทำงานโดยเป็นศูนย์กลางการควบคุม ช่วยกำจัดข้อมูลที่ไม่จำเป็นบน Clouds และช่วยในการลดความยุ่งยากในการทำงานร่วมกันของฝ่ายการเงินและฝ่าย IT เพื่อยกระดับการให้คำแนะนำที่ตรงจุดต่อลูกค้า โดย Aquila Clouds FinOps เข้ามาช่วยให้กลุ่มลูกค้าเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกแบบ Real-time เพื่อให้ได้การวางแผนระบบทำงานบน Clouds มีประสิทธิภาพก่อเป็นประสิทธิผลสูงสุดแก่ธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม More about Aquila Clouds : https://aquilaclouds.com/

MFEC

MFEC

Tags

“Get Real With Braze Bangkok”

by Braze x MFEC ได้จบลงไปแล้วกับ event สุดคูล! ที่มีเหล่า CEO, CMO, Head of Marketing กว่า 150 ท่านเข้าร่วมงาน งานนี้ถือเป็นการแนะนำ BRAZE marketing automation cross channel ที่ Marketer ทั่วโลกเลือกใช้ ด้วยผลลัพธ์ที่ทำให้เกิด Real Time Automation, Right message, Personalization ด้วย UI ที่ดูง่ายที่สุด รวมถึงยังได้รวม AI ไว้มากมาย ทั้ง AI Content และ Content Pattern สวยๆ อีกเพียบ สนใจข้อมูล solution เพิ่มเติมสามารถ INBOX มาได้เลย MFEC MarTech Innovation Team รอให้บริการอยู่

MFEC

MFEC