Skip links
View
Drag

API คืออะไร Rate Limit ในการใช้ API มีเพื่ออะไร? 

UI และ API คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร? 

UI มาจากคำว่า User Interface คือ Interface ที่ใช้สื่อสารกับผู้ใช้งานหรือก็คือให้มนุษย์ใช้งานนั้นเอง เช่น หน้าเมนู การจัดวางภาพ หรือขนาดตัวอักษร แน่นอนว่าถ้าหาก UI สวยหรือดูเข้าใจได้ง่ายก็จะสามารถเพิ่มยอดผู้ใช้งานได้ เป็นการพัฒนาต่อไปยังส่วนของ UX ซึ่งก็คือ User Experienece เพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน 

ในส่วนของ API นั้นมาจาก Application Programing Interface ซึ่งในความหมายแล้วค่อนข้างคล้ายคลึงกับ UI คือการเป็น Interface ที่ใช้ในการสื่อสาร แต่จะแตกต่างกันตรงที่ API นั้นสื่อสารกับโปรแกรมอื่นหรือให้อีกโปรแกรมมาใช้งานแทนที่จะเป็นมนุษย์ กล่าวคือการเป็นตัวกลางที่เชื่อมต่อระบบนึงไปอีกระบบ ตัวอย่างการใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่น การชำระเงินออนไลน์ผ่าน PayPal การค้นหาเที่ยวบินหรือโรงแรมใน Google และอื่น ๆ อีกมากมาย 

กรณีเดียวกับ UI ที่เมื่อหน้า Interface มีความสวยงามดึงดูดให้ใช้งาน และใช้งานได้ง่าย ก็จะเขียนโปรแกรมง่ายยิ่งขึ้น จะเป็นตัวกลางได้ดีและเอื้อให้มีคนติดต่อเยอะมากขึ้น อย่างเช่น Slack เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการสื่อสารและจุดขายก็คือการใช้งานภายในองค์กร เพราะไม่เพียงแต่สามารถคุยแชท อัปโหลดไฟล์งาน หรือแชร์โค้ด ในห้องแชทของ Slack ยังมีบอทช่วยบอกการทำงานต่าง ๆ ในทีม เช่น ระบบกำลังทำงานปกติหรือไม่ มีออร์เดอร์ใหม่ หรือมีผู้สมัครสมาชิกใหม่ เป็นต้น  

การเปิด API ให้ Third parties 

หรือการเปิดให้คนภายนอกองค์กรได้ใช้งานนั้นสามารถก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ โดยตัวเว็บไซต์อาจจะได้ผลตอบรับที่ดีขึ้นหรืออาจจะสามารถสร้างเป็นฟีเจอร์ใหม่ ๆ ของตัวเองได้เลย อย่างเช่น การติดตามราคาของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซต่าง ๆ เช่น Amazon ซึ่งเว็บไซต์ไม่จำเป็นต้องทำฟีเจอร์เองเลยด้วยซ้ำ แต่สุดท้ายแล้วผู้ใช้ก็จะมาใช้บริการสั่งซื้อกับเว็บไซต์ต้นทางอยู่ดี ถือว่าทางเว็บไซต์ก็ได้ประโยชน์ไปเลย 

อย่าง Reddit ซึ่งตัวเว็บไซต์มีความคล้ายคลึงกับพันทิปของประเทศไทยที่จะมีผู้ใช้มาตั้งกระทู้และเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นกัน หรือโซเชียลมีเดีย X ที่หลาย ๆ คนยังคุ้นเคยและยังเรียกด้วยชื่อเดิมว่า Twitter ก็เช่นกัน เนื่องจากเป็นโซเชียลมีเดียที่แม้ผู้ใช้จะไม่ได้ทำการติดตามซึ่งกันและกันก็สามารถเห็นข้อความของอีกฝ่ายได้ จึงเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งข้อมูลที่ผู้ใช้คุยกันหรือแสดงความคิดเห็นนั้นคือสิ่งที่สามารถนำไปวิเคราะห์ต่อได้ บางองค์กรอาจจะติดตามเพื่อนำไปพัฒนาองค์กรของตนเอง อย่างไรก็ตามทั้งสองเว็บไซต์ก็มีประเด็นการจำกัดการเข้าถึงของ third party หรือเรียกอีกอย่างว่า Rate Limit ในการใช้ API 

ชื่อและโลโก้เก่าของ Twitter ปัจจุบันใช้ชื่อว่า X

Rate Limit ในการใช้ API 

  • การหารายได้จาก API  

การตั้ง Rate Limit ในการใช้ API หรือการจำกัดการใช้ API ก็ถือว่าเป็นการหารายได้จาก API เช่นกัน โดยที่เว็บไซ์จะมีการจำกัดการเข้าถึง โดยการเรียกเก็บเงินเพื่อดูข้อมูล หรือบางเว็บไซต์อาจจะเปิดรับสมัครแบบหลายระดับคือยิ่งแพงยิ่งเข้าถึงได้มากขึ้น  

  • การจำกัดเพื่อความปลอดภัยของผู้ให้บริการ  

การจำกัดการเข้าถึงใช่ว่าจะเป็นการเพิ่มรายได้เพียงอย่างเดียวเพราะสามารถรักษาความปลอดภัยได้ด้วยเช่นเดียวกัน อย่างเช่น การลิมิต 5 requests per 1 second ซึ่งเมื่อเทียบกับการทำโดยระบบอัตโนมัติจะถือว่าทำได้น้อยมาก มันจึงเป็นการจำกัดโดยกลาย ๆ ว่าเป็นการใช้งานโดยมนุษย์เท่านั้นนั้นเอง  ตัวอย่างการโจมตีผ่านผู้ให้บริการ เช่น การสมัครสมาชิกผ่านเบอร์โทรศัพท์ของผู้อื่น การกรอกเบอร์โทรศัทพ์หลายๆครั้งนั้นเหมือนการยืมมือผู้ให้บริการโจมตีเหยื่อเพราะจะมี SMS คอยส่งไปที่เบอร์ของเหยื่ออยู่เรื่อยๆ โดยไม่ได้โจมตีเพื่อเจาะระบบโดยตรงแต่ในขณะเดียวกันในระบบก็จะปรากฏข้อมูลของบอทเต็มไปหมด   หากเป็นการสมัครผ่านอีเมลซึ่งมีความปลอดภัยแน่นหนากว่า แต่ใช่ว่าจะไม่สร้างผลกระทบให้ใครเลย เนื่องจากอีเมลนั้นจะมีการบล็อคต่อบริการที่มีการใช้งานสูงผิดปกติ ซึ่งผู้เสียหายก็เป็นได้ทั้งเว็บไซต์และผู้ใช้งานเพราะจะไม่สามารถสมัครเว็บไซต์นั้น ๆ ได้ ตัวเว็บไซต์ก็อาจจะเสีย potential customer ในอนาคตไปนั้นเอง 

ซึ่ง MFEC เองก็มีการทำงานกับ API โดยการพัฒนาระบบ LINE API ที่เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่าง LINE Platform กับ Legacy System ของธนาคาร ทำให้สามารถใช้บริการของธนาคารในการติดต่อและขอทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านไลน์ได้ และ MFEC ก็เคยเขียนบทความเกี่ยวกับ API management สามารถอ่านต่อได้ที่: https://www.mfec.co.th/en/tech-talk/

รับชมวิดีโอเพิ่มเติมได้ที่ : หาเงินจาก API ทำได้อย่างไร? แล้ว API คืออะไรกันแน่!!! 

แหล่งที่มาของข้อมูล :  

https://thehustle.co/apis-and-what-they-have-to-do-with-reddit-explained/

https://m-creation.co/digital-tips/what-is-slack/

https://www.dmit.co.th/th/

https://www.mulesoft.com/api-university/